ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเข้าถึงและการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของเยาวชนในจังหวัดอุตรดิตถ์

ผู้แต่ง

  • พงษ์ศักดิ์ อ้นมอย คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
  • กิตติวรรณ จันทร์ฤทธ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์

คำสำคัญ:

เยาวชน, การเข้าถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล, การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงสำรวจภาคตัดขวางครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเข้าถึงและการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของเยาวชนในจังหวัดอุตรดิตถ์ กลุ่มตัวอย่างเป็นเยาวชนในสถานศึกษา จำนวน 400 คนทำการสุ่มอย่างเป็นระบบ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ระหว่างเดือนมกราคม – ธันวาคม 2560 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบสถิติ binary logistic regression analysis ผลการศึกษาพบว่าเยาวชนดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ร้อยละ 84.3 อายุเฉลี่ยที่เริ่มดื่มครั้งแรกคือ 16.37 ปี เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่เยาวชนนิยมดื่มมากที่สุด คือ เบียร์ ร้อยละ 51.3 เคยซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ร้อยละ 69.8 นิยมซื้อจากร้านขายเครื่องดื่ม ร้านสะดวกซื้อและร้านโชห่วย/ของชำ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเข้าถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของเยาวชนอย่างมีนัยสำคัญทางสถติที่ระดับ 0.05 คือ ทัศนคติที่ดีต่อการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (ORAdj=3.46, 95%CI:1.34-8.92) และการมีเพื่อนสนิทดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (ORAdt=2.46, 95%CI:1.22-4.95) ตัวแปรทั้งหมดนี้สามารถร่วมกันทำนายการเข้าถึงดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของเยาวชนได้ร้อยละ 25.1 (Pseudo R2=0.251) และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของเยาวชนคือ เพศ (ORAdj=2.01, 95% CI:1.15-3.52) ระดับการศึกษา (ORAdj=2.50, 95%CI: 1.12-3.51) คนในครอบครัวดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (ORAdj=1.88, 95%CI: 1.07-3.31) เพื่อนสนิทดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (ORAdj=4.20, 95%CI: 2.10-8.38) การพบเห็นสื่อโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (ORAdj=3.22, 95%CI: 1.85-5.60) การพบเห็นสื่อรณรงค์เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (ORAdj=3.56, 95%CI:1.85-6.83) และทัศนคติที่ดีต่อการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (ORAdj=3.46, 95%CI:1.34-8.92) ตัวแปรทั้งหมดนี้สามารถร่วมกันทำนายการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของเยาวชนได้ร้อยละ 32.7 จากการศึกษาชี้ให้เห็นว่าเยาวชนมีการดื่มที่ค่อนข้างสูงและเข้าถึงเครื่องแอลกอฮอล์ได้ง่าย ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรเร่งพัฒนามาตรการหรือโปรแกรมเสริมสร้างความรู้และทัศนคติที่ถูกต้องเกี่ยวกับการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของเยาวชน

Downloads

Download data is not yet available.

เอกสารอ้างอิง

ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา. รายงานสถานการณ์การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และผลกระทบในประเทศไทย ปี 2556. นนทบุรี: เดอะกราฟิ โกซิสเต็มส์; 2556

ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา. ร้านเหล้ารอบสถานศึกษา สถานการณ์ปัญหา สู่แนวทางแก้ไขที่เหมาะสม. นนทบุรี: ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา; 2558.

เพ็ญพักตร์ มุงคุณคำชาว. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในจังหวัดชัยภูมิ. [วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2552.

สำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และยาสูบ. พระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551. กรุงเทพมหานคร:องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2551.

ฑิฆัมพร หอสิริ, ชุรีกร วิทธิสันต์, กนกวรรณ ลิ้มศรีเจริญ. ความชุกของพฤติกรรมการดื่มสุราและปัจจัยที่สัมพันธ์กับการดื่มสุราในนักเรียนมัธยมศึกษา. วารสารสมาคมจิต-แพทย์แห่งประเทศไทย 2559,61(1):3-14.

บุณฑริกา บุญไชยแสน, ศิริพร หงษท์ะนี, ศิรินันท์ ปะนะภูเต, นันทนัช ตั้งจาตุรโสภณ. การเข้าถึงแอลกอฮอล์ การรับรู้ และการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 ของนิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคามและผู้จำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์รอบเขตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม. [ปริญญาเภสัชศาสตรบัณฑิต]. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2555.

รัตติยา บัวสอน, เชษฐ รัชดาพรรณาธิกุล. พฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยระดับปริญญาตรีในเขตกรุงเทพมหานคร. Rama Nurs J 2555;18(2):259-71.

ชัยยุทธ ดายา. ปัจจัยของการขัดเกลาสังคมของพ่อแม่ที่กระทบต่อพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์วัยรุ่น: กรณีศึกษาโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายของกรมสามัญ. [วิทยานิพนธ์สัมคมศาสตร์มหาบัณฑิต]. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2534.

Neighbors C, Lee CM, Lewis MA, Fossos N, Larimer ME. Are social norms the best predictor of outcomes among heavy drinking college students? Stud Alcohol and Drugs 2007;68(4):556-65.

วัฒนา เพ็ชร์สำราญ, วันทนา อองกุลนะ, สิริพร สังข์ทอง. ปัจจัยที่มีผลต่อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตอำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ [วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2552.

สุชา จันทร์เอม. จิตวิทยาเด็ก. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพาณิช; 2543.

จิราภรณ์ หนูเทพ. ปัจจัยที่มีผลต่อการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายสายสามัญศึกษาในจังหวัดพัทลุง [วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต]. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2540.

วชิระ พุกเจริญ. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการดื่มเบียร์ในกลุ่มนักศึกษา. วารสารกฎหมายสุขภาพและสาธารณสุข 2559;2(2):161-72.

สาวิตรี อัษณางค์กรชัย, อโนชา หมึกทอง, ถนอมศรี อินท-นนท์. รายงานผลการศึกษาเรื่องการเฝ้าระวังพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาในประเทศไทย. กรุงเทพ-มหานคร: พิมพ์ดีการพิมพ์; 2551.

มัณฑนา ขอนดอก.ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในระยะแรกของนักเรียนชายมัธยมศึกษาต้นต้น อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2544.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2020-08-28

วิธีการอ้างอิง

บทความที่มีผู้อ่านมากที่สุดจากผู้แต่งเรื่องนี้