รูปแบบการป้องกันและลดความรุนแรงจากอุบัติเหตุในผู้สูงอายุของเทศบาลตำบลแม่สะเรียง อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน

ผู้แต่ง

  • รัตน์ดาวรรณ คลังกลาง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น
  • ขนิษฐา นันทบุตร คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

การป้องกันอุบัติเหตุ, การลดความรุนแรงจากอุบัติเหตุ, ผู้สูงอายุ, ชุมชน, การศึกษาเชิงคุณภาพ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการป้ องกันและลดความรุนแรง จากอุบัติเหตุในผู้สูงอายุโดยชุมชนและปัจจัยเงื่อนไขที่ส่งผลให้ชุมชนสามารถจัดการป้ องกันและลดความรุนแรงจากอุบัติเหตุในผู้สูงอายุ พื้นที่ศึกษาคือเทศบาลตำบลแม่สะเรียง อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยศึกษาในกลุ่มผู้สูงอายุและครอบครัว 48 คน และกลุ่มผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง 56 คน รวบรวมข้อมูลด้วยการสังเกตแบบมีส่วนร่วม สนทนากลุ่ม และสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา พบว่า ชุมชนมีการจัดการ 2 ลักษณะ คือ (1) การป้ องกันและลดความรุนแรงจากอุบัติเหตุในผู้สูงอายุโดยผู้สูงอายุ และครอบครัว และ (2) การป้ องกันและลดความรุนแรงจากอุบัติเหตุในผู้สูงอายุโดยชุมชน ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ การป้ องกันและลดความรุนแรงโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กลุ่มองค์กรชุมชน และหน่วยบริการสุขภาพ รวมทั้งการจัดการปัจจัยเงื่อนไขที่เป็นกลไกการขับเคลื่อนสำคัญที่ส่งผลให้ชุมชนสามารถจัดการป้องกันและลดความรุนแรงจากอุบัติเหตุในผู้สูงอายุ ได้แก่ (1) การสร้างการมีส่วนร่วมและสร้างทีมในพื้นที่ (2) การจัดการข้อมูลและการนำใช้ข้อมูล (3) การหนุนเสริมกลุ่ม องค์กรชุมชนร่วมจัดการ (4) สร้างวัฒนธรรมการอาสาดูแลช่วยเหลือผู้สูงอายุในชุมชน (5) การสร้างการเข้าถึงบริการอย่างรวดเร็วและปลอดภัย และ (6) การบูรณาการงานการดูแลผู้สูงอายุเข้าสู่งานประจำ ซึ่งเป็นแนวทางให้แก่พยาบาลชุมชนดาเนินการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชนให้ปลอดภัยและลดปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุที่นำไปสู่ความพิการ ทุพพลภาพ และเสียชีวิตได้สอดคล้องกับบริบททางสังคมวัฒนธรรม

Downloads

Download data is not yet available.

เอกสารอ้างอิง

ทีปภา แจ่มกระจ่าง, พัสมณฑ์ คุ้มทวีพร. การพยาบาลผู้สูง-อายุ 1. กรุงเทพมหานคร: คณะพยาบาลศาสตร์ มหา-วิทยาลัยมหิดล; 2558.

เพลินพิศ ฐานิวัฒนานนท์. การดูแลสู่ความเป็นเลิศทางการพยาบาลตามกลุ่มอาการที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ. สงขลา: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2559.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2559. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง; 2560.

สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. สังคมผู้สูงอายุกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย [อินเตอร์เน็ต].กรุงเทพมหานคร: สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภา- ผู้แทนราษฎร; 2561 [สืบค้นเมื่อ 3 มิ.ย. 2561]. แหล่งข้อมูล: https://library2.parliament.go.th/ejournal/con-tent_af/2561/jul2561-1.pdf

ไตรรัตน์ จารุทัศน์. การออกแบบเพื่อทุกคน: Universal design. กรุงเทพมหานคร: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2561.

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. สถิติสาธารณสุข พ.ศ. 2557. กรุงเทพมหานคร: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2558.

WHO. WHO Global Report on Falls Prevention in Older Age 2007. Switzerland: Langfeldesigns.com; 2007.

ฐิติมา คุ้มสืบสาย. พฤติกรรมการป้องกันอุบัติเหตุของผู้- สูงอายุในตำบลห้วยพลู อำเภอนครชัย จังหวัดนครปฐม [วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต]. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2550.

เบญจพร สว่างศรี, เสริมศิริ แต่งงาม. การดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุอำ เภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสาร-วิชาการ มทร. สุวรรณภูมิ 2556;1(2):128-37.

กุนนที พุ่มสงวน. สุขภาพ และการสร้างเสริมสุขภาพ: บทบาทที่สำคัญของพยาบาล. วารสารพยาบาลทหารบก 2557; 15(2):10-14.

กระทรวงสาธารณสุข. แผนยุทธศาสตร์กระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562. นนทบุรี: กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข; 2562.

ขนิษฐา นันทบุตร. การพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุโดยชุมชนท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.); 2559.

จุฑารัตน์ ชมพันธุ์. การวิเคราะห์หลักการมีส่วนร่วมของประชาชนในบริบทประเทศไทย. วารสารการจัดการสิ่ง-แวดล้อม 2555;38(2):103-14.

ขวัญเมือง แก้วดำเกิง, ดวงเนตร ธรรมกุล. การเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพในประชากรผู้สูงวัย. วารสารวิจัย-ทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2558;9(2):1-8.

ขนิษฐา นันทบุตร, กล้าเผชิญ โชคบำรุง, ปราณี ธีรโสภณ. ระดับสมรรถภาพและการปฏิบัติบทบาทพยาบาลวิชาชีพในการสร้างเสริมสุขภาพ. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2558;38(2):103-14.

Vipavanich S. The model development of health promo-tion based on the philosophy of sufficiency economy for community well-being. Doctor of Philosophy Program in Development Education. Bangkok: Department of Education Foundations Graduate School, Silpakorn Uni-versity; 2015.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2020-08-28

วิธีการอ้างอิง