การวิเคราะห์ระดับความสุข ความผูกพัน และปัจจัยสัมพันธ์กับความสุข ความผูกพันในองค์กร กระทรวงสาธารณสุข ปี 2560

ผู้แต่ง

  • มานิตา พรรณวดี โรงพยาบาลบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา
  • ธิติภัทร คูหา กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
  • ภาวิณี ธนกิจไพบูลย์ กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
  • จิราพร อิทธิชัยวัฒนา กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

ความสุข, ความผูกพัน, แพทย์, ทันตแพทย์, เภสัชกร, พยาบาล

บทคัดย่อ

ยุทธศาสตร์ที่ 3 ด้านบุคลากรเป็นเลิศของยุทธศาสตร์ 20 ปี ด้านสาธารณสุขมุ่งเน้นการธำรงรักษาบุคลากรข้าราชการพลเรือนมีแนวโน้มลาออกมากขึ้น ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการลาออกคือความพึงพอใจและความผูกพันของบุคลากร วิชาชีพที่สำคัญด้านสาธารณสุข ได้แก่ แพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร และพยาบาลมีอัตรากำลังไม่เพียงพอ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ระดับความสุขและความผูกพัน แพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร และพยาบาลตามปัจจัยบุคคลและสถานที่ และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ปัจจัยบุคคลและสถานที่กับความสุขและความผูกพัน แพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร และพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข เพื่อสามารถจัดกิจกรรมสร้างสุขให้บุคลากรและองค์กรได้ตรงประเด็นและตรงกับกลุ่มเป้ าหมายมากขึ้น และลดปัญหาการลาออก มีการวิเคราะห์ข้อมูลความสุขของบุคลากรทุกคนที่ทำแบบประเมินการวัดความสุขด้วยตนเองปี 2560 และหาความสัมพันธ์ด้วยสถิติการถดถอยพหุโลจิสติกส์ (multiple logistic regression) โดยใช้การทดสอบ adjusted odds ratio (aOR) ความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95.0 (95% confident interval) ผลการศึกษาพบว่า มีประชากรที่ให้ข้อมูลทั้งหมด 82,449 คน แพทย์ร้อยละ 5.1 ทันตแพทย์ร้อยละ 3.3 พยาบาลร้อยละ 84.9 และเภสัชกรร้อยละ 6.7 อายุเฉลี่ย 33.8-39.4 ปี ระดับคะแนนความสุขเฉลี่ย เท่ากับ 62.9 คะแนน มิติความสุขมากทีสุดคือจิตวิญญาณดี น้อยที ่ สุดคือ สมดุลกับการทำงาน ระดับคะแนนความผูกพันเท่ากับ 63.0 พยาบาลมีระดับคะแนนความสุขเฉลี่ยน้อยที่สุดแต่มีคะแนนความผูกพันมากที่สุด ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยบุคคลและระดับความสุขเฉลี่ยพบว่า สถานทีทำงาน เพศ กลุ่มอายุ วิชาชีพ ระดับตำแหน่ง และรายได้ต่อเดือนมีความสัมพันธ์กับระดับความสุขเฉลี่ยอย่างมีนัยสำคัญ ความสุขของพยาบาลเกิดจากใจรักในวิชาชีพและการช่วยผู้ป่ วยและประชาชนเสมือนว่าได้ทำบุญทุกวันจากการให้การพยาบาล จากข้อมูลอายุเฉลี่ยบุคลากร 4 วิชาชีพ พบว่าเจเนอเรชั่นที่อยู่ในองค์กรต่อไปคือเจเนอเรชั่นเอ็กซ์และวาย ซึ่งความรู้สึกเพียงพอต่อรายได้เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดความพึงพอใจในชีวิต ดังนั้นองค์กรควรสนับสนุนให้เกิดรายได้ทีเพียงพอ

Downloads

Download data is not yet available.

เอกสารอ้างอิง

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. แผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี ด้านสาธารณสุข (พ.ศ. 2560-2579) ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 1 (พ.ศ. 2561) [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 20 มี.ค. 2560]. แหล่งข้อมูล: http://bps.moph.go.th/new_bps/sites/default/files/ebook%20MOPH%2020%20yrs_090161.pdf

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. กำลังคนภาครัฐ 2560 ข้าราชการพลเรือนสามัญ. กรุงเทพมหานคร: 21 เซนจูรี่; 2561

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. กำลังคนภาครัฐ 2558 ข้าราชการพลเรือนสามัญ. กรุงเทพมหานคร: 21 เซนจูรี่; 2559.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. กำลังคนภาครัฐ 2559 ข้าราชการพลเรือนสามัญ. กรุงเทพมหานคร: 21 เซนจูรี่; 2560.

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. Health at a glance Thai-land 2017. นนทบุรี: ศรีเมืองการพิมพ์; 2560.

Wyld DC. Do happier employees really stay longer? Academy of Management Perspectives 2014;28(1):1-3.

ศิรินันท์ กิตติสุขสถิต, กาญจนา ตั้งชลทิพย์, สุภรต์ จรัสสิทธิ์, เฉลิมพล สายประเสริฐ, พอตา บุนยตีรณะ, วรรณภา อารีย์. คู่มือการวัดความสุขด้วยตนเอง happinometer. กรุงเทพ-มหานคร: ธรรมดาเพรส; 2555.

Meenakshi SP, Subrahmanyam CVV, Ravichandran K. The importance of work-life-balance. IOSR Journal of Business and Management 2013;14(3):31-5.

ศิริพร จิรวัฒน์กุล, ประณีต ส่งวัฒนา, สมพร รุ่งเรืองกลกิจ, วารุณี ฟองแก้ว, วรรณี เดียวอิศเรศ, ศิริอร สินธุ, และคณะ. ความสุขกับความคิดคงอยู่ในวิชาชีพของพยาบาลไทย. วารสารสภาการพยาบาล 2555;27(4):26-42.

ไพบูลย์ ชาวสวนศรีเจริญ, กรรณิกา เรืองเดช, สุชาติ สังแก้ว, ซูฮัยลา สะมะแอ. ปัจจัยที่มีผลต่อความสุขในการปฏิบัติงานของกำลังคนด้านสุขภาพในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้. การพยาบาลและการศึกษา 2555;5:14-29.

ไพรัช บำรุงสุนทร. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับความสุขของบุคลากรด้านสุขภาพเครือข่ายบริการปฐมภูมิอำเภอวังจันทร์ จังหวัดระยอง. วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา 2561;4:22-35.

รัชนก น้อยอาษา, ประเสริฐ ประสมรักษ์. ระดับความสุขและรูปแบบการเสริมสร้างความสุขในการทำงานของบุคลากรสุขภาพ สังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร. ศรีนครินทร์เวชสาร 2561;33:595-601.

Bem SL. Gender schema theory: a cognitive account of sex typing. Psychological Review 1981;88(4):354-64.

รศรินทร์ เกรย์, อุมาภรณ์ ภัทรวาณิชย์, อักษราภัค หลักทอง, เจตพล แสงกล้า. คุณภาพชีวิตต่างวัยของผู้มีงานทำ. พิมพ์ครั้งที่ 1. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล; 2559.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2020-08-28

วิธีการอ้างอิง