การวิเคราะห์ความไม่เสมอภาคทางสุขภาพและปัจจัยกำหนดทางสังคมในพื้นที่เขตเมือง

ผู้แต่ง

  • ชัยณรงค์ สังข์จ่าง สำนักสนับสนุนระบบสุขภาพปฐมภูมิ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

ความไม่เสมอภาคทางสุขภาพ, การวิเคราะห์เชิงประจักษ, ปัจจัยกำหนดทางสังคม, พื้นที่เขตเมือง

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความไม่เสมอภาคทางสุขภาพของประชากรที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เขตเมือง และปัจจัยกำหนดทางสังคมระดับบริบทและโครงสร้างทางสังคม วิธีการศึกษาเป็นการวิเคราะห์เปรียบโอกาสเสี่ยง ทางสุขภาพ และแบบแผนความแตกต่างของโอกาสทางสุขภาพตามลักษณ์การจัดช่วงชั้นฐานะทางสังคมเศรษฐกิจ โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิจากการสำรวจอนามัยและสวัสดิการสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2554 ตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา เป็นประชากรในเขตเทศบาลครอบคลุมทุกจังหวัด รวมกรุงเทพมหานคร จำนวน 36,564 ตัวอย่าง วิเคราะห์สถิติ ด้วยสมการโลจิสติก ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป Stata® 11.02 for Mac ผลการศึกษา พบว่า มีความไม่เสมอภาคทาง สุขภาพจากความแตกต่างกันของโอกาสเสี่ยงทางสุขภาพทั้งด้านขนาดและแบบแผนการกระจาย โดยมีปัจจัยกำหนด ทางสังคมด้านบริบท ได้แก่ ด้านพื้นที่ภูมิภาค และปัจจัยเชิงโครงสร้าง ได้แก่ การแบ่งช่วงชั้นทางสังคมเศรษฐกิจ ประกอบด้วย สถานภาพทางเพศ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา สถานภาพการประกอบอาชีพ ชั้นทางเศรษฐกิจ และชั้นรายได้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และเสนอแนะให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานภาค ตระหนักรู้ แสดงเจตจำนง ะบทบาทในการกหนดเป้ าหมายและนโยบายแก้ปัญหาการขจัดความไม่เสมอภาคทาง สุขภาพพื้นที่เขตเมืองอย่างเป็นระบบ และควรพัฒนาระบบสารสนเทศให้มีประสิทธิภาพเพื่อสนับสนุนการสร้างองค์ ความรู้ในการกำหนดและการประเมินติดตามนโยบาย

Downloads

Download data is not yet available.

เอกสารอ้างอิง

United Nations. World urbanization prospect: the 2014 revision, highlights. New York: Department of Economic and Social Affairs, Population Division; 2014.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. การคาดประมาณประชากรของประเทศไทย พ.ศ. 2553–2583. กรุงเทพมหานคร: เดือนตุลา; 2556.

พันธ์ทิพย์ จงโกรย, ชนมณี ทองใบ. รูปแบบการกระจายเชิง พื้นที่ของพื้นที่เมืองในประเทศไทย. วารสารเกษตรศาสตร์ (สังคม) 2557;35(1):30–44.

Aungkulanon S, Tangcharoensathien V, Shibuya K, Bundhamcharoen K, Chongsuvivatwong V. Post Universal health coverage trend and geographical inequalities of mortality in Thailand. International Journal of Equity Health 2016;15(1):190-202.

สำำนักงานสถิติแห่งชาติ. การสำรวจสุขภาพจิต (ความสุข) คนไทย พ.ศ. 2558. กรุงเทพมหานคร: สำนักสถิติพยากรณ์; 2559.

Braveman P, Gruskin S. Poverty, equity, human right and health. Bull World Health Organ 2003;81(7):539- 45.

Asada Y. A framework for measuring health inequality. J Epidemiol Community Health 2005;59(8):700-5.

Whitehead M, Dahlgren G. Concepts and principles for tackling social inequities in health: levelling UP Part 1. Copenhegen: World Health Organization Regional Office for Europe; 2007.

Rugger JP. Health and social justice. Lancet 2004; 364(9439):1075-80.

Baum C. Stata tip 38: testing for groupwise heteroskedasticity. Stata Journal 2006;6(4):590–2.

Krieger N. Theories for social epidemiology in the 21st century: an ecosocial perspective. International Journal of Epidemiology 2001;30(4):668-77.

Commission on Social Determinants of Health. A conceptual framework for action on the social determinants of health. Geneva: World Health Organization; 2010.

O’Donnell O, van Doorsler E, Wagstaff A, Lindelow M. Analyzing health equity using household survey data: aguide to techniques and their implementation. Washington: The World Bank; 2008.

Yang W, Kanavos P. The less healthy urban population: income-relate health inequality in China. BMC Public Health 2012;12(804):1-15.

Dominguez-Berjon MF, Gandarillas A, Soto MJ. Lung cancer and urbanization level in a region of South Europe: influence of socio-economic and environmental factors. Journal of Public Health 2015;38(2):229-36.

Corburn J, Cohen AK. Why we need urban health equity indicators: integrating science, policy, and community. Plos Med 2012;9(8):e1001285.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2020-10-26

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ