การวิจัยเชิงปฏิบัติการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพผู้สูงอายุ ตำบลหนองตรุด อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
คำสำคัญ:
วิจัยเชิงปฏิบัติการ, ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, พฤติกรรมสุขภาพ, 3อ.2ส., ผู้สูงอายบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพแก่ผู้สูงอายุ ตำบลหนองตรุด อำเภอเมือง จังหวัดตรัง ตามภาวะสุขภาพ ระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพตาม 3อ.2ส. (อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์ งดสูบบุหรี่ และงดสุรา ) เลือกกลุ่มเป้ าหมายแบบแบบเจาะจง มีอายุระหว่าง 60-69 ปี จาก หมู่ 1 หมู่ 2 หมู่ 3 และหมู่ 7 จำนวน 195 คน ผู้ให้ข้อมูลในขั้นประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพ จำนวน 147 คน คิดเป็นร้อยละ 75.38 ของกลุ่มเป้ าหมาย ผู้สมัครใจเข้าร่วมกิจกรรมการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ จำนวน 42 คน ดำเนินการระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงพฤศจิกายน พ.ศ.2561 รวบรวมข้อมูลจากการสังเกต และสัมภาษณ์ตาม แบบประเมินภาวะสุขภาพ และแบบประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพตาม 3อ.2ส. ฉบับปรับปรุง ปี พ.ศ.2561 ของกองสุขศึกษา กระทรวงสาธารณสุข มีค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ภายหลังการใช้ เท่ากับ 0.721 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติวิลคอกซัน ผลการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพในระยะเวลา 3 เดือน พบว่า (1) ด้านการเข้าถึง ผู้สูงอายุสามารถเข้าถึงข้อมูล 3 อ. จากการเข้าร่วมกิจกรรม แต่ยังเข้าถึงข้อมูลสุขภาพด้วยตนเองได้น้อย (2) ด้านความรู้ความเข้าใจ ผู้สูงอายุมีความรู้ 3 อ. เพิ่มขึ้นหลังร่วมกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ <0.001 และ (3) ด้านการนำไปใช้ ผู้สูงอายุ สามารถนำความรู้ไปปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และบอกต่อความรู้แก่บุคคลอื่น การวิจัยครั้งนี้สามารถสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพให้ผู้สูงอายุได้บางส่วน ควรใช้กลวิธีเชิงรุกรายบุคคลกับผู้ที่มีผลการประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพไม่ถูกต้อง/ไม่ดี เพื่อให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
Downloads
เอกสารอ้างอิง
สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ. การปฏิรูปความรอบรู้และการสื่อสารสุขภาพ [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพมหานคร: คณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข และสิ่งแวดล้อม; 2559 [สืบค้นเมื่อ 5 มิ.ย. 2561] แหล่งข้อมูล: https://library2.parliament.go.th/giventake/con-tent_nrsa2558/d111459-03.pdf
คณะกรรมการอำนวยการจัดทำแผนสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่12. แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564) นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2559.
นิทรา กิจธีระวุฒิวงษ์. การนำความฉลาดทางสุขภาพไปปฏิบัติงานสาธารณสุข. วารสารวิจัยคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2558;8(2):68-75.
อรวรรณ นามมนตรี. ความรอบรู้ด้านสุขภาพ (health liter-acy). วารสารทันตาภิบาล 2561;29(1):122-8.
ขวัญเมือง แก้วดำเกิง, นฤมล ตรีเพชรศรีอุไร. ความฉลาดทางสุขภาพ. กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. กรุงเทพมหานคร: สามเจริญพาณิชย์; 2554.
Kobayashi LC, Smith SG, O’Conor R, Curtis LM, Park D, von Wagner C, et al. The role of cognitive function in the relationship between age and health literacy: a cross- sectional analysis of older adults in Chicago, USA. BMJ Open 2015;5(4):e007222.
วรารัตน์ ทิพย์รัตน์, โสภิต สุวรรณเวลา. ความฉลาดทางด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ อำเภอเมือง จังหวัดตรัง. รายงานการวิจัย. ตรัง: วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีตรัง; 2560.
อาเนช โออิน. ความฉลาดทางสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของคนไทยที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง. วารสารการวิจัยการพัฒนาการบริหาร 2559;9(1):113- 32.
Stringer ET. Action research. 4nded. Los Angeles: Sage; 2013.
กองสุขศึกษา. แบบประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ ตาม 3อ.2ส. ของประชาชนที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป ฉบับปรับปรุงปี 2561 [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพ-มหานคร: กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข; 2561 [สืบค้นเมื่อ 5 มิ.ย. 2561]. แหล่งข้อมูล: http://www.hed.go.th/linkhed/file/558
ธัญญรัตน์ อโนทัยสินทวี, แสงศุลี ธรรมไกรสร, พัฒน์ศรี ศรีสุวรรณ. การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบเรื่องมาตรการป้ องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ. กรุงเทพมหานคร: โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ; 2557.
Nutbeam D. The evolving concept of health literacy. Soc Sci Med 2008;67(12):2072-8.
กิจปพน ศรีธานี. ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางสุขภาพกับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียง-เหนือตอนกลาง. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 2560; 11(1):26-36.
ขวัญเมือง แก้วดำเกิง. ความรอบรู้ด้านสุขภาพขั้นพื้นฐาน ปฏิสัมพันธ์ วิจารณญาณ. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์- พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิซซิ่ง; 2562.
นิตยา เพ็ญศิรินภา. การเสริมพลังเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด: แนวคิดและการปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร: จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์; 2554.
Havighurst R. Successful aging. Gerontologist 1961; 1(1):8-13.
Centers for Disease Control and Prevention. Improving health literacy for older adults: a provider perspective in improving health literacy for older adults: expert panel report. Atlanta: US Department of Health and Human Services; 2009
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.