การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังโดย การมีส่วนร่วมของชุมชนในอำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน
คำสำคัญ:
โรคเรื้อรัง, การมีส่วนร่วมของชุมชน, รูปแบบการดูแลบทคัดย่อ
การดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังในชุมชนต้องอาศัยการส่วนร่วมของเครือข่ายในชุมชนเพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยอันจะนำไปสู่สุขภาวะของผู้ป่ วย ครอบครัวและชุมชน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่ วยโรคเรื้อรังโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนในอำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน กลุ่มผู้มีส่วนร่วมในการวิจัยประกอบด้วยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล ผู้นำชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จิตอาสา พระ ผู้ป่วย ผู้ดูแล จำนวน 539 คน การศึกษามี 3 ระยะ ได้แก่ (1) วิเคราะห์สถานการณ์ (2)วางแผนและพัฒนารูปแบบ และ (3) ประเมินผล เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม แบบบันทึกการสังเกต ที่ผ่านการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษา ได้รูปแบบการดูแลผู้ป่ วยโรคเรื้อรัง คือ (1) การบริหารจัดการโดยคณะกรรมการจิตอาสา (2) การพัฒนาศักยภาพจิตอาสา (3) การดูแลผู้ป่ วยโดยจิตอาสา (4) การติดตามและเสริมพลังจิตอาสา (5) การสื่อสาร ส่งต่อ ประสานงานและ (6) การจัดตั้งกองทุนเพื่อสนับสนุนการทำงานของจิตอาสา ผลการนำรูปแบบไปใช้พบว่า เกิดเครือข่ายจิตอาสาที่สามารถบริหารจัดการพึ่งตนเองได้ เกิดทีมจิตอาสาดูแลผู้ป่ วยที่มีความรู้ ทักษะ สามารถดูแลผู้ป่วยได้ ผู้ป่วยได้รับการดูแลครอบคลุมทั้งด้านร่างกาย จิตใจ เศรษฐกิจและสังคม จากผลการศึกษาพบจุดแข็งของรูปแบบด้านกลไกการขับ-เคลื่อนและการบริหารจัดการ และการจัดตั้งกองทุนเพื่อสนับสนุนการทำงานของจิตอาสา ผลการวิจัย แสดงให้เห็นว่า การมีส่วนร่วมของชุมชนทำให้เกิดรูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่เหมาะสมกับบริบทชุมชนจึงควรนำไปประยุกต์ใช้กับชุมชนอื่น
Downloads
เอกสารอ้างอิง
อมรา ทองหงส์, กมลชนก เทพสิทธา, ภาคภูมิ จงพิริยอนันต์. รายงานการเฝ้าระวังโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ปี พ.ศ. 2555. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์ 2556; 44(51):801-8.
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. กลุ่มโรค NCDs [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 21 ต.ค. 2562]. แหล่งข้อมูล: https://www.thaihealth.or.th/microsite/catego-ries/5/ncds/2/173/176-กลุ่มโรค+NCDs.html
Siantz E, Aranda MP. Chronic disease self management interventions for adults with serious mental illness: a systematic review of the literature. Gen Hosp Psychiatry 2014;36(3):233–44.
Naruse T, Sakai M, Matsumoto H, Nagata S. Diseases that precede disability among latterstage elderly individ-uals in Japan. Biosci Trends 2015;9(4):270–4.
ณิสาชล นาคกุล. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยเรื้อรังกลุ่มติดบ้าน ติดเตียงในเขตเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น 2559; 23(2):79-87.
Tas Ü, Verhagen AP, Bierma-Zeinstra SM, Odding E, Koes BW. Prognostic factors of disability in older people: a systematic review. Br J Gen Pract 2007;57(537):319–23.
สายพิณ เกษมกิจวัฒนา, ปิยะภรณ์ ไพรสนธิ์. ญาติ ผู้ดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง: กลุ่มเสี่ยงที่ไม่ควรมองข้าม. วารสารสภาการ-พยาบาล 2557;29(4):22-31.
กลุ่มงานยุทธศาสตร์และสารสนเทศ โรงพยาบาลบ้านธิ. รายงานสรุปผลการดำเนินงานประจำปี 2560. ลำพูน: โรงพยาบาลบ้านธิ; 2560.
ฉลาด จันทรสมบัติ, รัฐศาสตร์ พาณิชย์พงศภัค. การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น. วารสารการบริหารและพัฒนา 2554;3(2):165-82.
Vincent II JWJ. Community development practice. In: Phillips R, Pittman RH, editors. An introduction to community development. New York: Routeledge Publisher; 2009. p 58-74.
Gibson CH. A concept analysis of empowerment. J Adv Nur 1991;16(3):354-61.
พิสมัย บุญเลิศ, เทิดศักดิ์ พรหมอารักษ์, ศุภวดี แถวเพีย. การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่อง สำหรับผู้-สูงอายุกลุ่มติดบ้าน ติดเตียงในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดงมัน ตำบลสิงห์โคก อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารสำนักงานป้องกันและควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น 2559;23(2):79-87.
สวาท ฉิมพลี. การพัฒนาระบบการส่งต่อผู้ป่วยแบบมีส่วนร่วมอำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี. วารสารสาธารณสุข-ศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2553;3(3):83-92.14.
โรชินี อุปรา, ชลธิชา เรือนคำ, เจนนารา วงศ์ปาลี, เอกชัย กันธะวงศ์. ประสบการณ์ของผู้ให้การดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่บ้าน. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎ 2554; 12(2):50-9. 15.
หทัยชนก บัวเจริญ. การสร้างเสริมสุขภาพเพื่อดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยังยืน. วารสารเกื้อการุณย์ 2561;25(2):185-94.
Berkman LF, Glass T. Social integration social network and health. In: Berkmand LF and Kawachi I editors. Social epidemiology. New York: Oxford University 2000: p. 137-73.
สุภารัตน์ สำอางค์ศรี. การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่องสำหรับผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านติดเตียง ในชุมชนเขตศูนย์เวชปฏิบัติครอบครัว โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย 2558; 5(1):42-54.
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.