การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของการรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรมการบริโภคอาหารบรรจุโฟม

ผู้แต่ง

  • อิสริยา อักษรชื่น คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
  • กรฎา มาตยากร คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
  • จิระวัฒน์ ตันสกุล คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

คำสำคัญ:

การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน, การรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรมการบริโภคอาหารบรรจุโฟม, ผู้บริโภค

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของการรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรมการบริโภคอาหารบรรจุโฟมและตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างของโมเดลกับข้อมูลเชิงประจักษ์ เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากผู้บริโภคที่มีประสบการณ์การบริโภคอาหารบรรจุโฟมในพื้นที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา จำนวน 280 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบอาศัยความน่าจะเป็น ด้วยเทคนิคการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม ดำเนินวิธีวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (confirmatory factor analysis) โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ผลการวิเคราะห์และตรวจสอบองค์ประกอบเชิงยืนยันของการรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรมการบริโภคอาหารบรรจุโฟม พบว่า การรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรมการบริโภคอาหารบรรจุโฟม ประกอบด้วย 1 องค์ประกอบ 3 ตัวชี้วัด คือ การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรค การรับรู้ความรุนแรงของการเกิดโรค และการรับรู้ประโยชน์ของการป้ องกันโรค เมื่อพิจารณาค่าดัชนีความสอดคล้องกลมกลืนประกอบด้วย c2 = 0.24, df = 1, p-value = 0.62, RMSEA = 0.00, RMR = 0.00, CFI = 1.00, GFI = 1.00 แต่ละตัวชี้วัดขององค์ประกอบหลัก มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบมาตรฐานอยู่ระหว่าง 0.66 - 0.95 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์ความเที่ยงของตัวแปรสังเกตได้(R2) อยู่ระหว่าง 0.50 – 0.84 ซึ่งตัวชี้วัดที่มีค่าน้ำหนักสูงสุด ได้แก่ ด้านการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรค รองลงมา คือ ด้านการรับรู้ความรุนแรงของการเกิดโรค และค่าน้ำหนักองค์ประกอบที่มีค่าน้อยที่สุด คือ ด้านการรับรู้ประโยชน์ของการป้องกันโรค ดังนั้นหน่วยงานทีเกี่ยวข้องควรสื่อสารความเสี่ยงจากการบริโภคอาหารบรรจุโฟม ประชาสัมพันธ์ให้ผู้บริโภคเห็นความสำคัญของการมีสุขภาพดี ซึ่งจะก่อให้เกิดความร่วมมือในการปฏิบัติตนเพื่อป้องกันโรคและส่งเสริมสุขภาพของผู้บริโภค

Downloads

Download data is not yet available.

เอกสารอ้างอิง

พรรณพิสุทธิ์ สันติภราดร. กล่องโฟมบรรจุอาหาร อันตรายอย่ามองข้าม [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพมหานคร: คณะ-เภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล; 2559 [สืบค้นเมื่อ 28 ก.ย. 2560]. แหล่งข้อมูล: http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/317/กล่องโฟมบรรจุอาหาร อันตรายอย่ามองข้าม

ผู้จัดการออนไลน์. กรมควบคุมมลพิษ เอาจริง “ลด-งดใช้โฟม” [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพมหานคร: ผู้จัดการออนไลน์; 2558 [สืบค้นเมื่อ 28 ก.ย. 2560] แหล่งข้อมูล: http://www.manager.co.th/Weekly54/ViewNews.aspx?News-ID=9580000009823

ชุมาพร รถสีดา, กรรนิการ์ ฉัตรสินติประภา. ความเสี่ยงจากการบริโภคอาหารบรรจุกล่องโฟมโฟลีสไตรีน. ใน: การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาครั้งที่ 11;วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2553; มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2553. หน้า 39-48.

สุชาติ สุขเจริญ. โฟมบรรจุอาหาร ความเสี่ยงที่ผู้บริโภคควรลด ละ เลิก. วารสารสุขาภิบาลอาหารและน้ำ 2559;7(3):34-3.

World Health Organization. World health statistics 2017: monitoring health for the SDGs, Sustainable Development Goals [Internet]: [cited 2018 Sep 28]. Available from: https://apps.who.int/iris/bitstream/handle/10665/255336/9789241565486-eng.pdf;jsessionid=917C6E-99C36512B4AD2A6DF9D810A8D7?sequence=1

กระทรวงสาธารณสุข. อัตราการตายต่อประชากร (100,000 คน) จำแนกตามสาเหตุการตาย และเพศ จังหวัดสงขลา พ.ศ. 2550–2557 [อินเทอร์เน็ต]. 2557 [สืบค้นเมื่อ 18 ก.ย. 2560], แหล่งข้อมูล: http://service.nso.go.th/nso/web/statseries/statseries09.html

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา. ข้อมูลสาเหตุการตาย [อินเทอร์เน็ต]. สงขลา: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา; 2560 [สืบค้นเมื่อ 6 ก.พ. 2561], แหล่งข้อมูล: http://www.skho.moph.go.th/dataservice/

สุชาติ สุขเจริญ. 130 องค์กรต้นแบบ สร้างพื้นที่ปลอดโฟม 100%. วารสารสุขาภิบาลอาหารและน้ำ 2558;6(3):2-4.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา. รายงานผลการดำเนินงานองค์กรปลอดภาชนะโฟมบรรจุอาหาร 100% ประจำปี 2560. สงขลา: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา; 2560.

Schiffman LG, Kanuk LL. Consumer behavior. 9th ed. New Jersey: Pearson Prentice Hall; 2007.

Bandura A. Self-efficacy: toward a unifying theory of behavioral change. Psychological Review 1977;84(2): 191–215.

Ajzen I. The theory of planned behavior. Organ Behav Hum Decis Process [Internet]. 1991 [cited 2017 Dec 17];50(2):179-211. Available form: https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/074959789 190020T

อุทุมพร จามรมาน. การวัดและประเมินการเรียนการสอนระดับอุดมศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: ฟันนี่-พลับลิชชิ่ง; 2544.

Hair JF, Black WC, Babin BJ, Anderson RE. Multivar-iate data analysis. 7th ed. New York: Pearson New International Edition; 2010.

สำนักบริหารการทะเบียน. รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน ประจำปี พ.ศ. 2560 [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพมหานคร: สำนักบริหารการทะเบียน; 2560 [สืบค้นเมื่อ 6 ก.พ. 2561]. แหล่งข้อมูล: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statTDD/views/showDistrictData.php?rcode=90&stat-Type=1&year=60

ธานินทร์ ศิลป์ จารุ. การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร: วี. อินเตอร์ พริ้นท์; 2550.

อุมาพร ปุญญโสพรรณ, ผจงศิลป์ เพิงมาก, จุฑามาศ ทองตำลึง. การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคและพฤติกรรมการป้ องกันโรคความดันโลหิตสูงของสตรีวัยทองในตำบลท่าฉาง อำเภอท่าฉาง จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารมหาวิทยาลัย-นราธิวาสราชนครินทร์ 2554;3(1):47-60.

สมลักษณ์ เทพสุริยานนท์. แบบจำลองเชิงสาเหตุของพฤติกรรมการควบคุมอาหารของผู้ป่ วยโรคเบาหวาน. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ 2558;9(2):10-22.

Menozzi D, Sogari G, Veneziani M, Simoni E, Mora C. Eating novel foods: an application of the Theory of Planned Behaviour to predict the consumption of an insect-based product. Food Quality and Preference 2017;59(1):27-34.

Hasan S, Harun R, Hock L. Application of theory of planned behavior in measuring the behavior to reduce plastic comsumption among students at Universiti Putra Malaysia, Malaysia. Procedia Environmental Sciences. 2015;30(1):195-200.

อนิศรา พลยูง. ประสิทธิผลของโปรแกรมทันตสุขศึกษาโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีพฤติกรรมตามแผนร่วมกับการสนับสนุนทางสังคมต่อพฤติกรรมการป้ องกันโรคปริทันต์ในผู้ป่ วย- เบาหวานที่มารับบริการโรงพยาบาลน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น [วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขศึกษาและการส่งเสริมสุขภาพ]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2552.

วรรษชล พิเชียรวิไล. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ตามทฤษฎีพฤติกรรมตามแผนต่อพฤติกรรมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวในมารดาทำงานนอกบ้าน[วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2557.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2020-10-26

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ