ผลของกิจกรรมส่งเสริมโภชนาการสมวัยในโรงเรียนต่อพฤติกรรมการจัดอาหารให้เด็กวัยเรียนของผู้ปกครอง ตำบลควนรู อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา

ผู้แต่ง

  • พิจาริน สมบูรณกุล สาขาวิชาการจัดการระบบสุขภาพ สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • เพ็ญ สุขมาก สาขาวิชาการจัดการระบบสุขภาพ สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

คำสำคัญ:

ส่งเสริมโภชนาการ, เด็กวัยเรียน, พฤติกรรมการจัดอาหาร, ผู้ปกครอง

บทคัดย่อ

การร่วมมือของผู้ปกครองในกิจกรรมส่งเสริมโภชนาการสามารถช่วยให้เด็กมีภาวะโภชนาการที่ดีขึ้น การวิจัยแบบผสมผสานครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการจัดอาหารให้แก่เด็กวัยเรียนของผู้ปกครองหลังเข้าร่วมกิจกรรมการส่งเสริมโภชนาการสมวัยในโรงเรียนภายใต้โครงการ“การสร้างเสริมสุขภาพในยุทธศาสตร์อาหารจังหวัด สงขลา” เก็บข้อมูลในเดือนธันวาคม 2561 ถึง มกราคม 2562 สุ่มกลุ่มตัวอย่างผู้ปกครองแบบชั้นภูมิจากโรงเรียน 2 แห่งในตำบลควนรู จังหวัดสงขลาได้จำนวน 186 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามพฤติกรรมการจัดอาหารให้เด็ก ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้น (IOC= 0.98, ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่า ครอนบาร์ค= 0.76) และคัดเลือกผู้ปกครองแบบเฉพาะเจาะจงจำนวน 20 คน เพื่อสัมภาษณ์เชิงลึกถึงอุปสรรคการปรับอาหารให้เด็ก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณาและการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่าผู้ปกครองส่วนใหญ่ปรับการจัดอาหารให้ใกล้เคียงคำแนะนำของกรมอนามัยมากขึ้น โดยเด็กได้รับประทานอาหารครบ 3 มื้อ เพิ่มปริมาณผักผลไม้มากขึ้น ลดปริมาณเครื่องปรุง ขนมกรุบกรอบและน้ำอัดลมลง แต่ให้ขนมหวานและน้ำผลไม้และนมรสหวานทดแทนและยังจัดเมนูอาหารที่มีธาตุเหล็กสูงและความถี่ของเมนูผักน้อยกว่าคำแนะนำ เนื่องจากเด็กมีพฤติกรรมการเขี่ยอาหารที่ผู้ปกครองจัดให้ออก ผลการ ศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่ากิจกรรมส่งเสริมโภชนาการสมวัยในโรงเรียนสามารถเชื่อมโยงถึงการปฏิบัติของผู้ปกครองแต่ยังขาดการให้ความรู้ในเรื่องการเลือกอาหารว่างที่เหมาะสม และการส่งเสริมให้เด็กทานอาหารสุขภาพ ดังนั้น กิจกรรมส่งเสริมโภชนาการครั้งต่อไปควรเพิ่มการให้ความรู้กับผู้ปกครองเรื่องการเตรียมอาหารว่างที่เหมาะสมและ แนวทางการปรุงอาหารให้เด็กสามารถรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ

Downloads

Download data is not yet available.

เอกสารอ้างอิง

ณัฐวรรณ เชาวน์ลิลิตกุล. อาหารและโภชนาการสำหรับเด็กระดับประถมศึกษา (6-12 ปี). ใน: วสิฐ จะวะสิต, สมศรี เจริญเกียรติกุล, ศิริพร โกสุม, ทิพย์วรรณ ปริญญาศิริ, มยุรี ดิษย์เมธาโรจน์, มนสุวีร์ ไพชำนาญ, และคณะ, บรรณาธิการ. องค์ความรู้ด้านอาหารและโภชนาการสำหรับทุกช่วงวัย. พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี: สำนักอาหาร สำนักงานคณะ-กรรมการอาหารและยา; 2559. หน้า 37-45.

World Health Organization. Malnutrition [Internet]. 2018 [cited 2018 Aug 16]. Available from: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/malnutrition

อัศรีย์ พิชัยรัตน์, วรารัตน์ ทิพย์รัตน์. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคและการออกกำลังกายตามแนวคิดพันธมิตรสุขภาพต่อน้ำหนักตัวของเด็กวัยเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกินในเขตชนบท จังหวัดตรัง. วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ [อินเทอร์เน็ต]. 2557 [สืบค้น เมื่อ 28 ก.ค. 2562]; 30: 64-76. แหล่งข้อมูล: https://www.tci-thaijo.org/index.php/Bcnbangkok/article/view/30257

อมรศรี ฉายศรี, สุปาณี เสนาดิสัย, วันทนา มณีศรีวงศ์กูล. การมีส่วนร่วมของโรงเรียน ผู้ปกครอง ศูนย์สุขภาพชุมชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการดำเนินงานอนามัยโรงเรียน: กรณีศึกษา. รามาธิบดีพยาบาลสาร [อินเทอร์เน็ต]. 2554 [สืบค้นเมื่อ 28 ก.ค. 2562];17(3):506-19. แหล่งข้อมูล: https://www.tci-thaijo.org/index.php/RNJ/article/view/9059

สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยสงขลา-นครินทร์. รายงานผลการสำรวจฤติกรรมการบริโภค ภาวะโภชนาการและพฤติกรรมสุขภาพของเด็กอายุ 6 เดือน – 14ปี จังหวัดสงขลา ปี 2556 [อินเทอร์เน็ต]. 2556 [สืบค้นเมื่อ 30 ต.ค 2561]. แหล่งข้อมูล: http://webcache.googleusercontent.vom

สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยสงขลา-นครินทร์. รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ระบบอาหารเพื่อสุขภาพประชาชน จังหวัดสงขลา [อินเทอร์เน็ต]. 2560 [สืบค้นเมื่อ 30 ต.ค. 2561]. แหล่งข้อมูล: https://consumersouth.org/paper/1587

Krejcie RV, Morgan DW. Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Mea-surement 1970;30(3):607-10.

ชุติมา แซ่ย่าง, รัตนชฎาวรรณ อยู่นาค, นงนุช โอบะ. ผลของโปรแกรมการประยุกต์ใช้แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยด้านโภชนาการของผู้ดูแลเด็กและน้ำหนักตัวเด็กปฐมวัยที่มีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ ชนเผ่าม้ง. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ [อินเทอร์เน็ต]. 2557 [สืบค้นเมื่อ 28 ก.ค. 2562];8(1):120-7. แหล่ง-ข้อมูล: http://www.nurse.nu.ac.th/Journal/data/Vol.8%20No.1/012.pdf

Bailey-Davis L, Peyer KL, Fang Y, Kim JK, Welk GJ. Effects of enhancing school-based body mass index screening reports with parent education on report utility and parental intent to modify obesity risk factors. Child-hood Obesity [Internet]. 2017 [cited 2018 Aug 27];13(2):164-71. Available from: http://www.lieb-ertpub.com/doi/full/10.1089/chi.2016.0177

จันทนา อึ้งชูศักดิ์. น้ำตาล สุขภาพ และการจัดการด้านการบริโภคที่เหมาะสม. กรุงเทพมหานคร: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2555.

ปัทมพร เอี่ยมมิ่ง, วรวรรณ์ ทิพย์วารีรมย์, อัญชลี ทองเสน. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมภาวะโภชนาการต่อความรู้และพฤติกรรมป้ องกันภาวะโภนาการเกินของผู้ปกครองนักเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกิน. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [สืบค้นเมื่อ 18 ส.ค. 2562];13(3): 23-36. แหล่งข้อมูล: https://he01.tci-thaijo.org/ index.php/NurseNu/article/download/184573/144353/

ขวัญจิต เพ็งแป้ น, ศันสนีย์ บุญเฉลียว, นนทชนนปภพ ปาลินทร, สุเมธ สุภัทรจำเนียร. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของเด็กวัยก่อนเรียนตามการรับรู้ของผู้ปกครอง. ใน: มหาวิทยาลัยราชธานี. การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ราชธานีวิชาการ ครั้งที่ 3 “นวัตกรรมที่พลิกโฉมสังคมโลก”; 25 พฤษภาคม 2561; มหาวิทยาลัยราชธานี, อุบลราชธานี. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชธานี; 2561. หน้า 341-51.

ดุษณีย์ สุวรรณคง, ชำนาญ ชินสีห์, พิริยะลักษณ์ เพชรห้วย-ลึก, ปัทมา รักเกื้อ, เสาวนีย์ โปษกะบุตร, อรพิน ทิพยเดช. การรับรู้เกี่ยวกับภาวะน้ำหนักตัวเกินและอ้วนในนักเรียนของผู้ปกครอง ผู้นำชุมชนและสมาชิกชุมชน ชุมชนชนบทภาคใต้ ประเทศไทย. สาธารณสุขศาสตร์ [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [สืบค้นเมื่อ 25 ส.ค. 2562];49(1):7-18. แหล่งข้อมูล: https://www.ph.mahidol.ac.th/ph-journal/jour-nal/49_1/

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2020-10-26 — อัปเดตเมื่อ 2021-02-08

เวอร์ชัน

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ