ผลการบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยโรคหืดที่มีปัญหาการใช้ยาร่วมกับการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการบันทึกและส่งต่อข้อมูลผู้ป่วย
คำสำคัญ:
การบริบาลทางเภสัชกรรม, โรคหืด, ปัญหาจากการใช้ยา, โปรแกรมคอมพิวเตอรบทคัดย่อ
ในอดีต การบันทึกข้อมูลการบริบาลทางเภสัชกรรมใช้กระดาษ A4 พบผู้ป่ วยพ่นยาไม่ถูกต้องจำนวนมาก ต่อมาจึงพัฒนาบัตรติดตามการใช้ยา แทนรูปแบบเดิม ผู้ป่ วยใช้ยาถูกต้องมากขึ้น แต่พบปัญหาเอกสารสูญหายและไม่เชื่อมโยงกับเวชระเบียนผู้ป่วย การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาจากการใช้ยาของผู้ป่วยโรคหืดผู้ใหญ่ระหว่างที่ได้รับการบริบาลทางเภสัชกรรม ร่วมกับการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ และศึกษาผลการมารักษาตัวในโรงพยาบาลจากโรคหืดกำเริบ เปรียบเทียบในรอบ 4 สัปดาห์ที่ผ่านมา ก่อนและหลังผู้ป่วยได้รับการแก้ไขปัญหาจากการใช้ยา โดยศึกษาย้อนหลัง วิเคราะห์ฐานข้อมูลเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ ตั้งแต่ 1 กันยายน 2559 ถึง 31 มกราคม 2561 ในผู้ป่วยโรคหืดที่มารับบริการ ณ คลินิกโรคหืดผู้ใหญ่ และห้องยาคลินิกพิเศษ ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2559 ถึง 31 ธันวาคม 2560 เปรียบเทียบอุบัติการณ์เข้ารับการรักษาที่ห้องฉุกเฉินและนอนโรงพยาบาล ด้วยสถิติ McNemar’s test พบปัญหาจากการใช้ยาในผู้ป่ วย 152 ราย คิดเป็น 201 เหตุการณ์ อายุเฉลี่ย 56.46 ± 15.07 ปี ปัญหาความร่วมมือในการใช้ยาพบมากที่สุดร้อยละ 69.7 ในจำนวนนี้ส่วนใหญ่มีปัญหาใช้ยาพ่นสูดไม่ถูกต้องและไม่มีผู้ดูแล รองลงมาคือการปรึกษาแพทย์เพื่อเพิ่มขนาดยาในการรักษาและลดขนาดยาในการรักษา ร้อยละ 9.5 และ 2.5 ตามลำดับ ผลการเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาจากการใช้ยาได้รับการยอมรับจากแพทย์ร้อยละ 91.3 หลังการแก้ไขปัญหาจากการใช้ยา ผู้ป่ วยมารักษาที่ห้องฉุกเฉินและนอนโรงพยาบาล ลดลงจากร้อยละ 31.3 เป็น 9.8 และร้อยละ 12.5 เป็น 5.4 ตามลำดับ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001, p=0.021 ตามลำดับ) การบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่ วยโรคหืดที่ มีปัญหาการใช้ยาร่วมกับการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เภสัชกรสามารถติดตามแก้ไขปัญหาจากการใช้ยาของผู้ป่วยได้อย่างต่อเนื่อง รวมถึงช่วยลดการรักษาที่โรงพยาบาลเนื่องจากอาการหอบกำเริบ หากเป็นไปได้ควรพัฒนาการบริการเป็น One stop service อีกทั้งขยายผลการใช้งานไปสู่โรงพยาบาลอื่นที่ใช้โปรแกรมเวชระเบียน HI
Downloads
เอกสารอ้างอิง
อนัญญา สองเมือง, ธนัฎชา สองเมือง. ผลลัพธ์ของการใช้บัตรติดตามเทคนิคการใช้ยาพ่นสูดในการบริบาลทางเภสัชกรรมแก่ผู้ป่วยนอกที่ใช้ยาพ่นสูดรูปแบบ metered dose inhaler. วารสารเภสัชกรรมโรงพยาบาล 2559;26(2):71–80.
อนัญญา สองเมือง, ธนัฎชา สองเมือง. ผลการใช้งานโปรแกรม SMART AsthCOPD ในการบริบาลทางเภสัชกรรมผู้ป่ วยโรคหืด. โปสเตอร์ที่นำเสนอในการประชุม: The 14th EACC Annual Meeting: การประชุมใหญ่ประจำปี เครือข่ายคลินิกโรคหืด และโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังแบบง่ายครั้งที่ 14; 4 มิ.ย. 2561; กรุงเทพมหานคร. อุบลราชธานี: วิทยาการ-พิมพ์; 2561.
Songmuang T, Songmuang A. Pharmaceutical care mon-itoring in outpatients with drug related problems, before and after developing a computerized program. Proceed-ing of the 16th Asian Conference on Clinical Pharmacy; 2016 July 14–18; Seoul, Republic of Korea.
FitzGerald JM, Bateman ED, Boulet LP, Cruz AA, Inoue H, Haahtela T, et al. Global strategy for asthma man-agement and prevention (update). Global Initiative for Asthma (GINA) [Internet]. 2014 [cited 2018 Feb 14].Available from: http//www.ginasthma.org.
สุณี เลิศสินอุดม, วัชรา บุญสวัสดิ์, ฌานี สโมสร, สุธาร จัน-ทะวงศ์. การจัดการปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยาโดยเภสัชกรในคลินิกโรคหืดอย่างง่าย โรงพยาบาลศรีนครินทร์ จังหวัดขอนแก่น. วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน 2551;4(2):13-23.
Ammari WG, Chrystyn H. Optimizing the inhalation flow and technique through metered dose inhalers of asthmat-ic adults and children attending a community pharmacy. J Asthma 2013;50(5):505–13.
Tilly-Gratton A, Lamontagne A, Blais L, Bacon SL, Ernst P, Grad R, et al. Physician agreement regarding the expansion of pharmacist professional activities in themanagement of patients with asthma. Int J Pharm Pract 2017;25(5):335-42.
Mann A, Esse T, Abughosh SM, Serna O. Evaluating Pharmacist-Written Recommendations to Providers in a Medicare Advantage Plan: Factors Associated with Pro-vider Acceptance. J Manag Care Spec Pharm 2016; 22(1):49-55.
Rea HH, Scragg R, Jackson R. A case-control study of deaths from asthma. Thorax 1986;41(11):833-9.
Khon Kaen University. Easy Asthma/COPD Clinic [In-ternet]. [cited 2017 Mar 20]. Available from: http://www.easyasthma.com.
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
เวอร์ชัน
- 2021-02-08 (2)
- 2020-10-26 (1)
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.