ระบบบริการโรงพยาบาลอาหารปลอดภัยของโรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไปในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
คำสำคัญ:
การพัฒนาระบบบริการ, โรงพยาบาลอาหารปลอดภัยบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ระบบบริการโรงพยาบาลอาหารปลอดภัยในโรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไปในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ศึกษาการดำเนินนโยบายโรงพยาบาลอาหารปลอดภัย และศึกษาการบริหารจัดการโรงพยาบาลอาหารปลอดภัย รวมทั้งศึกษาปัญหาและข้อจำกัดในการดำเนินการ โดยมีรูปแบบการวิจัยใช้วิธีการศึกษาแบบผสานวิธี (mixed methods) ชนิดดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพไปพร้อมกับการวิจัยเชิงปริมาณ (simultaneous qualitative/quantitative design) กลุ่มเป้ าหมายคือโรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไป 116 แห่ง โดยการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรของการศึกษาประกอบด้วย 3 กลุ่มได้แก่ (1) ผู้บริหารโรงพยาบาล (2) หัวหน้ากลุ่มงาน และ (3) ผู้รับผิดชอบงานอาหารปลอดภัยในโรงพยาบาล ใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจง ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวนทั้งสิ้น 288 คน เครื่องมือทีใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยแบบสอบถามมีค่าดัชนีความตรงเชิง เนื้อหาเท่ากับ 0.90 และมีค่าความเทียงโดยหาค่าสัมประสิทธิ แอลฟาครอนบาคเท่ากับ 0.87 สถิติทีใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้ข้อมูลทุติยภูมิ รวบรวมงานวิจัย สิ่งพิมพ์ และตำรา สังเคราะห์ข้อมูลในประเด็นสำคัญ ข้อมูลปฐมภูมิจากการสนทนากลุ่มและการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้บริหาร และผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 10 คน นำข้อมูลมาวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่าโรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไปทั้ง 116 แห่งมีการแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อกำหนดกรอบแนวทางและมาตรการด้านอาหารปลอดภัยในโรงพยาบาล คณะทำงานร่วมกันระดับจังหวัดและหน่วยงานภาคีเครือข่ายมีการจัดเมนูสุขภาพร้อยละ 94.1 จัดทำรายการหมุนเวียนล่วงหน้าทุก 1 เดือนร้อยละ 88.2 และกำหนดเมนูอาหารล่วงหน้าอย่างน้อย 2 เดือนร้อยละ 73.6 การตรวจสถานที่ประกอบอาหารผู้ป่วยในโรงพยาบาลและผ่านเกณฑ์ที่กำหนดร้อยละ 95.1 ตรวจร้านอาหารในโรงพยาบาลและผ่านเกณฑ์ทีกำหนดร้อยละ 85.8 ผู้บริหารโรงพยาบาลให้ความสำคัญในการดำเนินงานโรงพยาบาลอาหารปลอดภัยมากขึ้น ด้านนโยบายโรงพยาบาลอาหารปลอดภัยมีการควบคุมมาตรฐานในการดำเนินการทุกกระบวนการให้มีประสิทธิภาพ กระบวนการตรวจรับวัตถุดิบ การตรวจสอบคุณภาพและความปลอดภัยอาหารของโรงพยาบาลด้วยชุดทดสอบและตรวจวิเคราะห์สารเคมีด้วยวิธีห้องปฏิบัติการ กำหนดมาตรการควบคุมกรณีไม่ได้มาตรฐาน ระดับนโยบายกระทรวงสาธารณสุข ถ่ายทอดนโยบายโรงพยาบาลอาหารปลอดภัยที่ชัดเจนให้กับโรงพยาบาลต่างๆ สนับสนุนให้ความช่วยเหลือในการดำเนินงาน ระดับหัวหน้ากลุ่มงานพัฒนาระบบบริการโรงพยาบาลอาหารปลอดภัยประสาน ผู้ผลิต ผู้ขายอาหารให้ผลิตหรือเลือกซื้ออาหารจากแหล่งทีน่าเชื่อถือหรือได้รับการรับรองจากกระทรวงเกษตรฯ มีการสุ่มตรวจเป็นระยะๆ ถ้าพบสารปนเปื้ อนจะดำเนินการปรับปรุงแก้ไขหรือเปลี่ยนแหล่งจัดหาใหม่ ระดับผู้รับผิดชอบงานอาหารปลอดภัยในโรงพยาบาลมีการปรับเมนูอาหารให้สอดคล้องกับ วัตถุดิบในท้องถิ่นและตามฤดูกาล การทำงานแบบบูรณาการทุกภาคส่วนเพื่อดำเนินนโยบายไปในทิศทางเดียวกันโดยมีลักษณะ รูปแบบบริการในเชิงระบบ การศึกษาครั้งนี้พบปัญหาและข้อจำกัดของการดำเนินการโรงพยาบาลอาหารปลอดภัย 3 เรื่องหลัก คือ (1)แหล่งที่มาของ อาหารปลอดภัยวัตถุดิบไม่เพียงพอ (2)ระบบและวิธีการจัดซื้อจัดจ้าง (3) งบประมาณ ข้อเสนอแนะ (1) กระตุ้นให้มีการขับเคลื่อนให้เกิดการทำงานแบบบูรณาการในระดับพื้นที่อย่างต่อเนื่อง (2) การขยายผลลงสู่ระดับพื้นที่อำเภอ (3) ควรศึกษาในระยะยาวถึงประสิทธิภาพ ประสิทธิผลการดำเนินการโรงพยาบาลอาหารปลอดภัย
Downloads
เอกสารอ้างอิง
Stewardson AJ, Renzi G, Maury N, Vaudaux C, Bros- sier C, Fritsch E, et al. Extended–spectrum β–lac- tamase-producing enterobacteriaceae in hospital food: a risk assessment. Infection Control and Hospital Epide-miology 2014;35(4):375-83.
Belluz J. Friuts and vegetables poison more American than beef and chicken [Internet]. 2015 [cited 2018 Sep 9]. Available form: https://www.vox.cox/2015/3/68158283/food-poisoning
Food and Agriculture Organization of the United Nations. Food chain crisis: early warning bulletin [Internet]. 2018 [cited 2018 Jul 8]. Available from: https://www.fao.org
กองบริหารการสาธารณสุข. มาตรฐานโรงพยาบาลอาหารปลอดภัย. นนทบุรี: บอร์นทูบี พับลิชชิ่ง; 2560.
มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค. สุ่มตรวจเนื้อไก่ตับไก่สดพบยาปฏิชีวนะตกค้างอื้อ! หวั่นเกิดเชื้อดื้อยาจากสัตว์สู่คน [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อวันที่ 19 ก.ค. 2561]. แหล่งข้อมูล: https://www.Consumerthai.org/news..../4218-610619 antibiotic.html_translate
Department of Health, Queensland. Management of food safety in hospital and health service facilities: summary[Internet]. 2010 [cited 2018 Sep 3]. Available from: https:www.health.qid.gov.au/-028-1-1.pdf
Panurach G, Inmoung Y, Suwannimitr A. Hospital food safety management model in Thailand. Journal of Applied Sciences 2011;6(1):61-5.
ศันสนีย์ เกิดบุญมี. การพัฒนาแนวทางในการดำเนินงานโรงพยาบาลอาหารปลอดภัย [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 9 ธ.ค. 2561]. แหล่งข้อมูล: https://www.mkno.Moph.go.th/...../report 1-1-2?
Van Horn CE. Policy implementation in federal system, national goals and local implementers. Lexington, Mass: DC Health and Company; 1979.
เฉลิมชาติ แจ่มจรรยา, อรพรรณ ศรีสุขวัฒนา, สุรีย์ วงศ์ปิยชน, นภพรรณ นันทพงษ์. การประยุกต์ใช้ระบบ HACCP ในการควบคุมความสะอาดปลอดภัยในกระบวนการผลิต อาหารของครัวโรงพยาบาล: กรณีศึกษาโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา. นนทบุรี: กองสุขาภิบาลอาหาร กรมอนามัย; 2541.
World Health Organization. International health regula-tions. 2nd ed [Internet]. 2008 [cited 2018 Nov 3]. Available from: https://whqlibdoc.who.int/publicca-tions/2008/9789241580410_eng.pdf
Basalamah MA, Elmadouly MAE, Azzeh FS. Traceabil-ity in the meal production chain of hospitalized patients: safety and hygienic quality. J Biological Sciences 2018;18(2);68-73.
Lahou E, Jacxsens L, Verbunt E, Uyttendaele M. Eval-uation of the food safety management system in a hos-pital food service operation toward Listeria monocyto-genes. Food Control 2015;49:75-84.
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
เวอร์ชัน
- 2021-02-08 (3)
- 2020-10-26 (1)
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.