การพัฒนาระบบและกลไกการเฝ้าระวังและตอบโต้ความเสี่ยงฉุกเฉินเพื่อสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ ในสถานการณ์ระบาดของไวรัสโคโรน่า 2019

ผู้แต่ง

  • อัมพร จันทวิบูลย์ สำนักคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ กรมอนามัย
  • สายชล คล้อยเอี่ยม สำนักคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ กรมอนามัย
  • วิมล โรมา สำนักคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ กรมอนามัย
  • กิ่งพิกุล ชำนาญคง ศูนย์อนามัยที่ 1 เชียงใหม่ กรมอนามัย

คำสำคัญ:

: โรคโควิด–19, การเฝ้ าระวังความเสี่ยง, การตอบโต้ความเสี่ยง, ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, ูนย์ปฏิบัติการตอบโต้ ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข, ระบบบัญชาการเหตุการณ์ฉุกเฉินทางสาธารณสุข, ศูนย์บริหารสถานการณ์การ แพร่ระบาดของโรคติดเชื้ อไวรัสโคโรนา 2019

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบและกลไกการเฝ้าระวังและตอบโต้ความเสี่ยงฉุกเฉินเพื่อสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพที่มีประสิทธิภาพ ในการป้องกันการระบาดของโรคไวรัสโคโรน่า 2019 (โควิด-19) โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการ ดำเนินการระหว่างเดือนมกราคม - สิงหาคม 2563 ทำให้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาร่วมกันของบุคลากรผู้ปฏิบัติงานในระบบการเฝ้ าระวัง ระบบตอบโต้ความเสี่ยง และการสื่อสารเพื่อสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพจาก 9 ส่วนราชการระดับกรมในกระทรวงสาธารณสุข มีการคัดกรองและประเมินความเสี่ยงของข่าวจากผู้เชี่ยวชาญทุกวัน ได้นำข้อมูลการดำเนินการและผลการดำเนินงานในช่วงเดือนมกราคมถึงกรกฎาคม 2563 มารวบรวม วิเคราะห์ พบว่า ได้ทำการคัดกรองและประเมินความเสี่ยงของข่าวทั้งหมด 1,650 ข่าว เป็นข่าวเกี่ยวกับโควิด-19 จำนวน 971 ข่าว (ร้อยละ 58.85) เป็นข่าวที่มีความเสี่ยงระดับสูง 731 ข่าว (ร้อยละ 75.28) มีการตอบโต้ข่าวที่มีความ สำคัญและมีความเสี่ยงสูงสุดได้ครบถ้วนทุกกระบวนการ 166 ข่าว (ร้อยละ 17.10) การนำเสนอข้อมูลจะเผยแพร่ด้วยสื่อใหม่ทางเว็บไซด์ “สา’สุขชัวร์” มียอดจำนวนคนอ่านข่าว 4.56 ล้านครั้ง นอกจากนี้ ผลการดำเนินงานและข้อมูลที่ได้รับการตรวจสอบยืนยันจากผู้เชี่ยวชาญแล้ว จะถูกส่งเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจในระบบบัญชาการเหตุการณ์ฉุกเฉินทางสาธารณสุขที่ศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข เพื่อกำหนดยุทธการในการตอบโต้ การแถลงข่าว และการสื่อสารสาธารณะ ข้อมูลข่าวที่เกี่ยวข้องกับโควิด-19 และถูกส่งไปยังศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เพื่อประกอบการกำหนดยุทธศาสตร์ มาตรการ และแนวปฏิบัติเพื่อสื่อสารแก่ประชาชน ระบบและกลไกที่พัฒนาขึ้นนี้ สามารถเป็นต้นแบบแนวคิดและวิธีการทำงานของระบบราชการ 4.0 สามารถพัฒนาต่อยอดให้เกิดระบบและกลไกการเฝ้ าระวังและตอบโต้ความเสี่ยงฉุกเฉิน เพื่อสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพลดการระบาดของโรคโควิด-19 ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ส่งเสริมให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารทีถูกต้อง นำไปสู่การปรับพฤติกรรมในการป้ องกันและลดความเสี่ยงของตนเองและคนรอบข้างจากการติดเชื้อโรคโควิด-19

Downloads

Download data is not yet available.

เอกสารอ้างอิง

World Health Organization. Novel coronavirus (2019- nCoV): situation report - 22 [Internet]. 2020 [cited 2020 Feb 15]. Available from: https://www.who.int/docs/default-source/coronaviruse/situation-re-ports/20200202-sitrep-13-ncov-v3.pdf

Ahmad AR, Murad HR. The impact of social media on panic during the COVID-19 pandemic in Iraqi Kurdistan: online questionnaire study. Journal of Medical Internet Research 2020;22(5):e19556.

World Health Organization. Novel coronavirus (2019- nCoV): situation report - 13 [Internet]. 2020 [cited 2020 Feb 10]. Available from: https://www.who.int/docs/default-source/coronaviruse/situation-re-ports/20200202-sitrep-13-ncov-v3.pdf?s-fvrsn=195f4010_6

Burton J. 9 arrested for sharing “fake news” about Covid-19, government handouts [Internet]. 2020 [cited 2020 Feb 15]. Available from: https://thethaiger.com/hot-news/crime/9-arrested-for-sharing-fake-news-about-covid-19-government-handouts

Islam MS, Sarkar T, Khan SH, Kamal AH, Hasan SMM, Kabir A, et al. COVID-19–related infodemic and its impact on public health: a global social media analy-sis. Am J Trop Med Hyg 2020;0(0):1-9.

ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย. #COVID-19 [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [สืบค้นเมื่อ 15 ก.พ. 2563]. แหล่งข้อมูล: https://www.antifakenewscenter.com/tag/covid-19/

World Health Organization. WHO warns of coronavirus “infodemic” - an epidemic of too much information [Internet]. 2020 [cited 2020 Feb 15]. Available from: https://thehill.com/changing-america/well-being/pre-vention-cures/481387-were-in-an-infodemic-with-too-much-information

Abrusci E, Dubberley S, McGregor L. An ‘infodemic’ in the pandemic: human rights and Covid-19 Misinforma-tion [Internet]. 2020 [cited 2020 Feb 15]. Available from: http://repository.essex.ac.uk/28053/1/036.pdf

สำนักกรรมาธิการ 3 สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร์. รายงาน คณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ เรื่อง การปฏิรูปความรอบรู้และการสื่อสารสุขภาพ [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [สืบค้นเมื่อ 1 มี.ค. 2563]. แหล่งข้อมูล: https://library2.parliament.go.th/giventake/con-tent_nrsa2558/d111459-03.pdf

Paolo C. Pandemic vs panic: fighting against disinfor-mation | CONNECT University [Internet]. European Commission [cited 2020 Feb 15]. Available from: https://ec.europa.eu/digital-single-market/en/news/pandemic-vs-panic-fighting-against-disinforma-tion-connect-university

กระทรวงสาธารณสุข. คำสั่งกระทรวงสาธารณสุขที่ 432/ 2563 เรื่อง จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรณีโรคติดเชื้อโควิด–19, ลงวันที่ 1 เมษายน 2563 [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [สืบค้นเมื่อ 10 เม.ย. 2563]. แหล่งข้อมูล: https://www.legal.moph.go.th/index.php?option=com_remository&Itemid=814&func=start-down&id=1351

วีระยุทธ ชาตะกาญจน์. การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (action research). วารสารราชภัฏสุราษฎร์ธานี 2558;2(1):29-49.

เสริมศิริ นิลดำ. คุณค่าข่าวในภาวะวิกฤตทางสังคม. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2555.

สำนักงาน กพร. ระบบราชการ 4.0 [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [สืบค้นเมื่อ 14 ส.ค. 2563]. แหล่งข้อมูล: https://www.opdc.go.th/content/Mzk

Sohel A, Thormas O, Reva M, Santonu S. Enterprise architecture: a governance framework. Part I: embedding architecture into the qrganization [Internet]. InfoSyS Technologies; 2005 [cited 2020 Feb 15]. Available from: https://cioindex.com/wp-content/up-loads/nm/articlefiles/3998-EA-Governance-1.pdf

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2020-10-26 — อัปเดตเมื่อ 2021-02-08

เวอร์ชัน

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ

บทความที่มีผู้อ่านมากที่สุดจากผู้แต่งเรื่องนี้