การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของความฉลาดทางสุขภาพของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรี

ผู้แต่ง

  • พรปวีณ์ แก้วนพรัตน์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • อัจศรา ประเสริฐสิน สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • อมราพร สุรการ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน, ความฉลาดทางสุขภาพ, นิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรี

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของความฉลาดทางสุขภาพของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรี และทดสอบความสอดคล้องของโมเดลการวัดความฉลาดทางสุขภาพของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรีกับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่าง คือ นิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 - 4 ปีการศึกษา 2559 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา เขตกรุงเทพมหานคร เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มแบบ 3 ขั้นตอนครอบคลุม 9 มหาวิทยาลัย จำนวน 1,500 ฉบับ เก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามความฉลาดทางสุขภาพมีค่าความตรงเชิงเนื้อหาของข้อคำถาม มีค่า 10C-0.60-1.00 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.836 ตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลการวัดความฉลาดทางสุขภาพ และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory factor analysis)ได้รับแบบสอบถามที่ตอบกลับครบถ้วนสมบูรณ์ ได้กลับคืนมาจำนวน 1,290 ฉบับ ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของโมเดลการวัดความฉลาดทางสุขภาพของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรี พบว่ามีความสอดคล้องกับ ข้อมูลเชิงประจักษ์ (χ² = 7.3, df=4, p=0.11, GF=1.00, AGFI=0.99, CFI=1.00, RMSEA=0.01, SRMR=0.02) โดยมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบมาตรฐานอยู่ระหว่าง 0.31-0.87 ทุกองค์ประกอบมีนัยสำคัญทางสถิตที่ระดับ 0.01 และ มีค่าความเชื่อมั่นเชิงโครงสร้างอยู่ระหว่าง 0.10-0.75 แสดงว่าโมเดลการวัดความฉลาดทางสุขภาพของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่สร้างขึ้นสามารถนำมาอธิบายการมีความฉลาดทางสุขภาพได้ โดยเรียงลำดับค่าน้ำหนักองค์ประกอบได้ดังนี้ การรู้เท่าทันสื่อ การประเมินความรู้ การตัดสินใจ การนำไปใช้ การเข้าถึงข้อมูล การสื่อสารข้อมูล และความรู้ความเข้าใจ ตามลำดับ

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2017-10-30

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ