การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของแกนนำนักเรียน ในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในบริบท ชุมชนเมือง: กรณีศึกษา อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

ผู้แต่ง

  • ณรงค์ ด้วงปาน สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา
  • สุวรรณา ปัตตะพัฒน์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคอหงส์
  • นภชา สิงห์วีรธรรม วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจณาภิเษก สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วม, แกนนำนักเรียน, ไข้เลือดออก, การป้องกันและควบคุมโรค

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการมีส่วนร่วมของแกนนำนักเรียนในการ ป้ องกันและควบคุมโรคในบริบทชุมชนเมืองแบ่งการศึกษาเป็น 2 ขั้นตอนคือ ขั้นตอนที่ 1 การวิเคราะห์และ สังเคราะห์รูปแบบ แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ระยะที่ 1 กลุ่มตัวอย่าง คือ แกนนำนักเรียนหรือผู้แทนนักเรียนของโรงเรียน 95 แห่ง ในเขตอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา จำนวน 427 คน สุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบอย่างง่ายโดยวิธีจับฉลากแบบ ใส่คืน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามความรู้และเจตคติ วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิตความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระยะที่ 2 สังเคราะห์รูปแบบ ผู้ให้ข้อมูลหลักคือ แกนนำนักเรียนหรือตัวแทนนักเรียน ผู้บริหารหรือผู้แทนครูโรงเรียนหรือครูอนามัยโรงเรียน เจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และ นักวิชาการสาธารณสุขหรือผู้รับผิดชอบงานระบาดวิทยา จำนวน 25 คน เครื่องมือที่ใช้คือ ประเด็นการสนทนากลุ่ม ระยะที่ 3 การพัฒนารูปแบบ โดยการนำข้อมูลที่ได้ในระยะที่ 1 และ 2 มายกร่างและพัฒนารูปแบบ ขั้นตอนที่ 2 ขั้น การประเมินประสิทธิผลรูปแบบ กลุ่มตัวอย่างคือ แกนนำนักเรียน จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้คือ รูปแบบที่ได้จาก ขั้นตอนที่ 1 และแบบประเมินการมีส่วนร่วม วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน paired t-test ผลการวิจัยพบว่า ความรู้เกี่ยวกับการควบคุมและป้ องกันโรคไข้เลือดออกอยู่ในระดับมาก (mean=18.42, SD=0.42) ส่วนเจตคติของแกนนำนักเรียนต่อการป้ องกันโรคไข้เลือดออก อยู่ในระดับปานกลาง (mean=23.76, SD=1.67) รูปแบบการมีส่วนร่วมของแกนนำนักเรียนในการป้ องกันและควบคุมไข้เลือดออกในบริบทชุมชนเมืองประกอบ ด้วย 4 กิจกรรมหลัก 16 กิจกรรมย่อย และค่าคะแนนเฉลี่ยการมีส่วนร่วมของแกนนำนักเรียนหลังเข้าร่วมการใช้ รูปแบบ (mean=3.19, SD=0.30) สูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบ (mean=2.92, SD=0.23) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 รูปแบบที่ได้สามารถนำไปใช้ประโยชน์เพื่อสร้างความตระหนักในการปฏิบัติตนในการป้ องกันและ ควบคุมโรคไข้เลือดออกของแกนนำซึ่งเป็นกำลังสำคัญในการถ่ายทอดรูปแบบที่ได้ลงสู่การปฏิบัติต่อไป

Downloads

Download data is not yet available.

เอกสารอ้างอิง

World Health Organization. WHO/TDR Dengue: guidelines for diagnosis, treatment, prevention and control. Geneva: World Health Organization; 2009.

สุธีรา พูลถิน, ปิ ยะพร หวังรุ่งทรัพย์, สุภาวดี พวงสมบัติ, ประยุทธ สุดาทิพย์, ศันสนีย์ โรจนพนัส, นิธินันท์ วิชัยถาวร วัฒน์. . รายงานการประเมินผลการเฝ้าระวัง ป้ องกัน ควบคุม โรคไข้เลือดออกระดับประเทศ ปี 2559 – 2560. กรุงเทพมหานคร: อักษรกราฟฟิ คแอนด์ดีไซน์; 2560.

ดารินทร์ อารีย์โชคชัย, สุภาวดี พวงสมบัติ, วิโรจน์ เล้งรักษา, รัตนาพร บุญมีป้ อม, ชุติสุดา เนติกุล, ธีราวดี กอพยัคฆินทร์. รายงานพยากรณ์โรคไข้เลือดออก ปี 2562 กรมควบคุมโรค. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค; 2562.

รุ่งเรือง กิจผาติ, วงวัฒน์ ลิ่วลักษณ์, เมธิพจน์ ชาตะเมธีกุล, หทัยกาญจน์ บุญยะรัตเวช, โชคชัย งามทรายทอง, สุธี สฤษฏิ์ ศิริ, และคณะ. แนวทางการเฝ้าระวังป้ องกันควบคุม โรคไข้เลือดออกในเขตเมือง Urban Dengue Unit Guideline. กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2561.

กลุ่มระบาดวิทยา สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุม โรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานพยากรณ์โรคไข้เลือดออก ปี 2562. [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 31 ธ.ค 2562]. แหล่ง ข้อมูล: http://dhf.ddc.moph.go.th

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการเฝ้าระวัง ป้ องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออกในสถานศึกษา [อินเทอร์- เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 31 ต.ค 2562]. แหล่งข้อมูล: https:// ddc.moph.go.th/disease_detail.php?d=44

สำนักงานสาธารณสุขอำเภอหาดใหญ่. เอกสารสรุปผลการ ดำเนินงานควบคุมและป้ องกันโรคไข้เลือดออกรายงาน 506 ข้อมูล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562. สงขลา; 2562.

ฤทัย สมบัติสวัสดิ์ . ภูมิปัญญาพื้นบ้านในการป้องกันโรค ไข้เลือดออกโดยเครือข่ายชุมชนภาคอีสาน. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ 2560;6(2):117–31.

สำนักงานป้ องกันควบคุมโรคที่ 12. รายงานพยากรณ์โรค ไข้เลือดออก ปี 2562. สงขลา: สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง สำนักระบาดวิทยา; 2562.

พัทธนัย จอเอียด, เจนจิรา คังฆะสุวรรณ, กิตติพร เนาว์สุวรรณ, กัญญารัตน์ พรหมแก้ว, นภชา สิงห์วีรธรรม. รายงาน วิจัยเรื่องการพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมในการป้ องกันโรคไข้เลือดออกของแกนนำชุมชนในอำเภอสิงหนคร จังหวัด สงขลา; สงขลา; สำนักงานสาธารณสุขอำเภอสิงหนคร 2562.

สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง. รายงานการประเมินผลการ เฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ภาพรวมระดับ ประเทศ. กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่ง ประเทศไทย; 2554.

Yamane T. Statistics, an introductory analysis. 2nd Ed. New York: Harper and Row; 1967.

Crabtree BF, Miller WL. Doing qualitative research. London: SAGE; 1992.

ฐิติชญา ฉลาดล้น, พิมพ์ลดา อนันต์สิริเกษม. การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อป้ องกันและควบคุม โรคไข้เลือดออก: กรณีศึกษาตำบลต้นแบบ หมู่ 3 บ้านทุ่งทอง ตำบลลาดบัวขาว อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี. วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางสุขภาพ 2562;2(1):153–62.

คนึงนิจ เสาวกุล, จริยา ศรีประเสริฐ, จันธิมา ประสาทเขตรการ, พิมลพรรณ ดีเมฆ. ความรู้ เจตคติ และพฤติกรรม ในการป้ องกันโรคไข้เลือดออกของนักศึกษา มหาวิทยาลัย ราชภัฏกำแพงเพชร. กำแพงเพชร: มหาวิทยาลัยราชภัฏ กำแพงเพชร 2561.

ศิรินันท์ คำสี, ญาดา เรียมริมมะดัน. ความรู้และพฤติกรรม การป้องกันโรคไข้เลือดออกของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนวัดโสธรวรารามวรวิหาร ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมือง ฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสาร มฉก. วิชาการ 2561;22(43-44):43-54.

เตือนใจ ลับโกษา, วิรัติปานศิลา, สมศักดิ์ ศรี ภักดี. รูปแบบ การป้ องกันโรคไข้เลือดออกโดยการมีส่วนร่วมของแกนนำสุขภาพชุมชน ตำบลเมืองบัว อำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์. วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ 2559;19(1):44-54.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2020-12-30

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ

บทความที่มีผู้อ่านมากที่สุดจากผู้แต่งเรื่องนี้