ผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลอง ต่อความรู้ ความมั่นใจ และความสามารถในการใช้ กระบวนการพยาบาลมารดาและทารกในระยะคลอด ของนักศึกษาพยาบาล

ผู้แต่ง

  • พรรณทิพย์ ชับขุนทด ภาควิชาการพยาบาลมารดา ทารก และการผดุงครรภ์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา
  • ปรางทิพย์ ทาเสนาะ เอลเทอร์ ภาควิชาการพยาบาลมารดา ทารก และการผดุงครรภ์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา
  • นุชมาศ แก้วกุลฑล ภาควิชาการพยาบาลมารดา ทารก และการผดุงครรภ์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา
  • รัชนี พจนา งานทะเบียน และประมวลผล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น

คำสำคัญ:

สถานการณ์จำลอง, การพยาบาลมารดาและทารกในระยะคลอด, นักศึกษาพยาบาล

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลองต่อความรู้ ความ มั่นใจ และความสามารถในการใช้กระบวนการพยาบาลมารดาและทารกในระยะคลอด กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษา พยาบาลศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา คำนวณกลุ่มตัวอย่างโดยใช้โปรแกรม G*Power ได้ จำนวน 60 ราย แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย (1) โปรแกรมการจัดการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลองการพยาบาลมารดาและทารกในระยะคลอด (2) แบบบันทึก ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม (3) แบบทดสอบความรู้การพยาบาลมารดาและทารกในระยะคลอด (4) แบบ ประเมินความมั่นใจในความสามารถของตนเองในการพยาบาลมารดาและทารกในระยะคลอด และ (5) แบบ ประเมินความสามารถการใช้กระบวนการพยาบาลมารดาและทารกในระยะคลอด วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา การทดสอบ Chi–square test, independent t-test, paired t-test, Mann-Whitney U test และ Wilcoxon signedranks test ผลการวิจัยพบว่า หลังจัดการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลอง ความรู้การพยาบาลมารดาและทารกของ กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมเพิ่มขึ้นไม่แตกต่างกัน (p>0.05) แต่ความมั่นใจในความสามารถของตนเองในการ พยาบาลมารดาและทารกของกลุ่มทดลอง สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และความ สามารถในการใช้กระบวนการพยาบาลมารดาและทารกของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าการจัดการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลอง ช่วยเพิ่มความมั่นใจและความ สามารถในการใช้กระบวนการพยาบาลแก่นักศึกษาพยาบาล จึงมีความเหมาะสมในการนำมาจัดการศึกษาต่อไป

Downloads

Download data is not yet available.

เอกสารอ้างอิง

วิภาดา คุณาวิกติกุล. การเรียนการสอนสาขาพยาบาลศาสตร์ ในยุคศตวรรษที่ 21. พยาบาลสาร 2558;2:152-6.

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา. หลักสูตร พยาบาลศาสตรบัณฑิต ฉบับปรับปรุง 2555. นครราชสีมา: วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา; 2555.

ภาควิชาการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์. มคอ. 5 รายละเอียดผลการดำเนินการของรายวิชาการพยาบาล มารดา ทารก และผดุงครรภ์ 2. นครราชสีมา: วิทยาลัย พยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา; 2560.

ภาควิชาการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์. มคอ. 6 รายงานของประสบการณ์ภาคสนามวิชาปฏิบัติการพยาบาล มารดา ทารก และผดุงครรภ์ 1, 2. นครราชสีมา: วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา; 2560.

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา. รายงานการ ติดตามคุณภาพบัณฑิตใหม่ที่จบปี การศึกษา 2558. นครราชสีมา: วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา; 2559.

สภาการพยาบาล. สรุปผลการสอบความรู้ผู้ขอขึ้นทะเบียนฯ ชั้น 1 จำแนกตามรายวิชา ครั้งที่ 2/2558 วิทยาลัยพยาบาล บรมราชชนนี นครราชสีมา [อินเทอร์เน็ต]. นครราชสีมา: วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา ; 2558 [สืบค้น เมื่อ 20 พ.ย. 2561]. แหล่งข้อมูล: http://110.164.66.202/ mistk/eoffice/documents/20150908_160154- 801-f2cbd1c687ad82d060f4691af70bff90.pdf

สมจิตต์ สินธุชัย, กันยารัตน์ อุบลวรรณ. การเรียนรู้โดยใช้ สถานการณ์จำลองเสมือนจริง: การนำไปใช้ในการจัดการ เรียนการสอน. วารสารพยาบาลทหารบก 2560;1:29-38.

Kolb DA. Experience learning: Experience as the source of learning and development. New Jersey: Upper Saddle River; 1984.

Kolb AY, Kolb DA. Learning styles and learning spaces: Enhancing experience learning in higher education. Academy of Management Learning & Education 2005;2: 193-213.

Cant RP, Cooper SJ. Simulation-based learning in nurse education: systematic review. Journal of Advanced Nursing 2010;1:3–15.

สมจิตต์ สินธุชัย, กันยารัตน์ อุบลวรรณ, สุนีย์รัตน์ บุญศิลป์ . ผลของการจัดการเรียนรู้โดยสถานการณ์จำลองเสมือนจริง ต่อความรู้ ความพึงพอใจและความมั่นใจในตนเองของ นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 4 ในการฝึกปฏิบัติรายวิชาฝึกทักษะ ทางวิชาชีพก่อนสำเร็จการศึกษา. รามาธิบดีพยาบาลสาร 2560;1:113-27.

Briscoe J, Mackay B, Harding T. Does simulation add value to clinical practice?: Undergraduate student nurses’ perspective. Kai Tiaki Nursing Research 2017;1:10-5.

Kapucu S. The effects of using simulation in nursing education: a thorax trauma case scenario. International Journal of Caring Sciences 2017;2:1069-74.

มยุรี ยีปาโล๊ะ, พิชญ์ชญานิษฐ์ เรืองเริงกุลฤทธิ์ , จงกรม ทองจันทร์, กมลวรรณ สุวรรณ, กฤษณา เฉลียวศักดิ์ . ผลของการ สอนโดยใช้สถานการณ์จำลองต่อความสามารถในการคิด อย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาล บรมราชชนนี ยะลา. วารสารการพยาบาล การสาธารณสุขและ การศึกษา 2560;3:128-34.

มารศรี จันทร์ดี, พนิดา พาลี, พิมลวรรณ เนียมหอม, ภัทรานิษฐ์ จองแก, ทิพย์สุดา เส็งพานิชย์. ผลของการจัดการ เรียนการสอนโดยใช้กรณีศึกษาต่อความสามารถในการใช้ กระบวนการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาลรายวิชาปฏิบัติ การพยาบาลบุคคลทีมีปัญหาสุขภาพ 1. วารสารการพยาบาล- ่ และการศึกษา 2557;4:132-55.

ธวัชชัย วรพงศธร, สุรีย์พันธุ์ วรพงศธร. การคำนวณขนาด ตัวอย่างสำหรับงานวิจัย โดยใช้ โปรแกรมสำเร็จรูป G*Power. วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม 2561;2:11-21.

นงลักษณ์ วิรัชชัย. การกำหนดขนาดตัวอย่างในการทดสอบ สมมุติฐานวิจัย [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพมหานคร : สำนักงาน คณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ; 2555 [สืบค้นเมื่อ 18 ธ.ค. 2561]. แหล่งข้อมูล: https://rdo.psu.ac.th/ResearchStandards/animal/assets/document/GPower3-3.pdf

มาลี คำคง, ผาณิต หลีเจริญ, ยุวนิดา อารามรมย์, อริสา จิตต์วิบูลย์. ผลของการใช้สถานการณ์จำลองต่อความมั่นใจ ในความสามารถของตนเองในการดูแลและการช่วยฟื้ นคืนชีพขั้นสูงสำหรับผู้ป่ วยวิกฤติฉุกเฉินของนักศึกษาพยาบาล. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2559;3:52-64.

ดวงกมล หน่อแก้ว, มนชยา ก้างยาง, พรรณวดี บูรณารมย์, จงลักษณ์ ทวีแก้ว, นวพล แก่นบุปผา, ไวยพร พรมวงค์. ผล ของโปรแกรมสอนโดยสถานการณ์จำลองเสมือนจริงระดับสูง ในการพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะแทรกซ้อนต่อความรู้ ทักษะปฏิบัติ และการรับรู้สมรรถนะแห่งตนของนักศึกษา พยาบาล (รายงานวิจัย). อุบลราชธานี: วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์; 2562.

Jefferies PR. A framework for designing, implementing, and evaluating simulations used as teaching strategies in nursing. nursing education perspectives 2005;2:96-103.

สืบตระกูล ตันตลานุกุล, สุวัฒน์ รัตนศักดิ์ , ชมพูนุช แสงพานิช, วิภาวรรณ สีสังข์, ฐิติอาภา ตั้งค้าวานิช. ผลของการ จัดการเรียนการสอนโดยใช้สถานการณ์จำลองต่อการพัฒนา ความสามารถในการปฏิบัติการรักษาพยาบาลเบื้องต้นของ นักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ 2559;1: 49-58.

ดวงกมล หน่อแก้ว, ปาจรีย์ ตรีนนท์, ณัฐธยาน์ ชาบัวคำ, นวพล แก่นบุปผา, สำเร็จ เทียนทอง, ชนุกร แก้วมณี. ผล ของโปรแกรมการเรียนการสอนโดยใช้สถานการณ์จำลองเพื่อ พัฒนาความรู้ และทักษะการช่วยฟื้ นคืนชีพขั้นพื้ นฐาน สำหรับนักศึกษาพยาบาล. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาล และการสาธารณสุขภาคใต้ 2561;3:84-95.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2020-12-30

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ

บทความที่มีผู้อ่านมากที่สุดจากผู้แต่งเรื่องนี้