ผลการใช้การบันทึกทางการพยาบาลแบบ Focus Charting งานผู้ป่วยในโรงพยาบาลลำปาง
คำสำคัญ:
การบันทึกแบบ focus charting, การบันทึกทางการพยาบาล, แบบบันทึกผู้ป่วยในบทคัดย่อ
การบันทึกทางการพยาบาลระบบชี้เฉพาะ (focus charting record) เป็นการบันทึกประวัติ สภาพอาการ และผลการรักษาพยาบาลของผู้ป่วยตั้งแต่แรกรับถึงจำหน่าย ที่รวบรัด กระชับ ชัดเจน นำมาใช้แทนการบันทึกแบบบอกเล่าเรื่องราว (narrative record) เดิมเพื่อพัฒนาการบันทึกทางการพยาบาลผู้ป่วยในของโรงพยาบาลลำปาง การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบ (1) คะแนนการบันทึกทางการพยาบาล (2) จำนวนหอผู้ป่วยที่คะแนนการบันทึก ผ่านเกณฑ์การประเมิน (3) ความพึงพอใจของพยาบาลผู้บันทึก ก่อนและหลังการใช้การบันทึกทางการพยาบาลแบบ focus charting เป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบ interrupted time series ของงานผู้ป่วยใน กลุ่มภารกิจด้านการพยาบาลโรงพยาบาลลำปาง จำนวน 39 หน่วยงาน และแบบบันทึกทางการพยาบาลของผู้ป่วยที่พักรักษาตัวในหอผู้ป่วยในโรงพยาบาลลำปาง ตั้งแต่แรกรับถึงจำหน่าย ในปี พ.ศ. 2556 ถึงปี พ.ศ. 2558 จำนวน 693 ฉบับต่อปี พยาบาลผู้บันทึกจำนวน 147 คน ประเมินคะแนนการบันทึกทางการพยาบาลด้วยการใช้เกณฑ์ของสำนักการพยาบาล และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เปรียบเทียบคะแนนกลุ่มที่ศึกษาด้วยสถิติ t-test และความพึงพอใจของพยาบาลผู้บันทึก ด้วยสถิติบรรยาย ผลการศึกษาพบว่าคะแนนการบันทึกทางการพยาบาลแบบ focus charting ปี พ.ศ. 2558 สูงกว่า คะแนนการบันทึกแบบ narrative ปี พ.ศ. 2556 ในด้านการบันทึก assessment, planning implementation, evaluation และ medication อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01) จำนวนหอผู้ป่วยที่คะแนนการบันทึกผ่านเกณฑ์การประเมินเพิ่มขึ้น และพยาบาลผู้บันทึกมีความพึงพอใจ ผลการศึกษาสรุปว่า การพัฒนาการบันทึกทางการพยาบาลควรใช้การ บันทึกแบบ focus charting เนื่องจากการศึกษานี้พบว่า การบันทึกแบบ focus charting ทำให้คะแนนการบันทึกสูงกว่าการบันทึก narrative เดิม จำนวนหอผู้ป่วยที่คะแนนการบันทึกผ่านเกณฑ์การประเมินเพิ่มขึ้น และพยาบาลผู้บันทึก มีความพึงพอใจ ดังนั้น สถานพยาบาลจึงควรมีการใช้ระบบบันทึกแบบ focus carting เพื่อการพัฒนางานและเพิ่มคุณภาพบริการแก่ผู้ป่วย
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2017 Journal of Health Science- วารสารวิชาการสาธารณสุข
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.