การบูรณาการการดำเนินงานเพื่อพัฒนากลไกประสาน การทำงานป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น: กรณีศึกษาจังหวัดชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • เนตรชนก แก้วจันทา ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านเพศภาวะและสุขภาพสตรี คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • สมพร รุ่งเรืองกลกิจ ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านเพศภาวะและสุขภาพสตรี คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • อิงคฏา โคตนารา ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านเพศภาวะและสุขภาพสตรี คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

การทำงานเชิงบูรณาการ, การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพในครั้งนี้เพื่อถอดบทเรียนกระบวนการทำงานเชิงบูรณาการในการป้ องกันและแก้ไข ปัญหาตั้งครรภ์ในวัยรุ่นของจังหวัดชัยภูมิ ผู้ให้ข้อมูลมีจำนวน 66 คน คือ ผู้จัดการโครงการ ผู้ประสานงานโครงการ พยาบาล ทีมประเมินภายใน ครู ผู้ปกครอง และเยาวชน เก็บข้อมูลโดยการสนทนากลุ่มและสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ซึ่งบทความวิจัยนี้ขอนำเสนอข้อมูลเพื่ออธิบายกระบวนการทำงานเชิงบูรณาการเพื่อ การพัฒนากลไกประสานการทำงานเพื่อป้ องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พบกลยุทธ์ในการดำเนินงานที่ สำคัญ 3 กลยุทธ์ ได้แก่ (1) ค้นหาภาคีเครือข่ายในการทำงาน โดยใช้ต้นทุนภาคีเครือข่ายที่มีและมองหาภาคีที่ เกี่ยวข้อง และสร้างให้ภาคีเครือข่ายตระหนักในปัญหาด้วยการสะท้อนข้อมูลปัญหาในพื้นที่ (2) สร้างกลไกประสาน งานและการมีส่วนร่วมในระดับพื้นทีผ่านการบูรณาการกับงานประจำ เน้นการสื่อสารแนวราบ มีตัวต่อและหลากหลาย ช่องทาง ร่วมคิด ร่วมทำ และลงพื้นที่หนุนเสริมในลักษณะต่อยอดการทำงาน และ (3) สร้างกลไกเพื่อแลกเปลี่ยน เรียนรู้จากต้นแบบและกิจกรรมเรื่องเล่า โดยผลการศึกษาได้สะท้อนภาพกระบวนการดำเนินงานเชิงบูรณาการทั้งกลไก ประสานการทำงานและขับเคลื่อนภาคีเครือข่ายในการร่วมดำเนินโครงการฯ ให้ประสบความสำเร็จ ซึ่งพื้นที่อื่นๆ สามารถที่จะนำไปต่อยอดและขยายผลการดำเนินงานในการป้ องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นต่อไปได้

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2020-04-30

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ