การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงด้วยกระบวนการจัดการความรู้
คำสำคัญ:
รูปแบบการเสริมสร้างพฤติกรรมสุขภาพ, กระบวนการจัดการความรู้, กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการเสริมสร้างพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่ม เสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงด้วยกระบวนการจัดการความรู้ เป็นการวิจัยและพัฒนา และเป็นรูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติ- การ แบ่งเป็น 3 ระยะคือ ระยะที่ 1 พัฒนารูปแบบ ใช้วิธีการสนทนากลุ่มกับผู้เชี่ยวชาญและสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้มี ประสบการณ์ ระยะที่ 2 ทดลองใช้ร่างรูปแบบ กลุ่มตัวอย่างคือกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 132 คน ใน 2 จังหวัด 5 พื้นที่ จำแนกตามประเภทอาชีพคือ กลุ่มเกษตรกรรม 82 คน ใน 3 พื้นที่ และกลุ่มอุตสาหกรรม 50 คนใน 2 พื้นที่ ระยะเวลาทดลอง 12 เดือน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบบันทึกการดำเนินงานและประเด็นการสนทนากลุ่มกับ ทีมวิจัยในพื้นที่จำนวน 10 คน ใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหาเพื่อปรับปรุง ระยะที่ 3 ประเมินและรับรองรูปแบบ ประเมิน ประสิทธิผลของรูปแบบ 3 ด้านคือ ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมสุขภาพ พฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3อ.2ส. และภาวะ สุขภาพ ใช้วิธีการสำรวจภาวะสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพด้วยแบบประเมินภาวะสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ และ การตรวจสุขภาพกลุ่มตัวอย่าง นำไปเปรียบเทียบผลก่อน-หลัง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าความถี ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test และการรับรองรูปแบบโดยผู้เชี่ยวชาญด้วยวิธีการสนทนากลุ่ม และทำการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า (1) รูปแบบการเสริมสร้างพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงด้วยกระบวนการ จัดการความรู้ ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ 7 กิจกรรมหลัก 18 กิจกรรมย่อยในกลุ่มเกษตรกรรม และ 17 กิจกรรม ย่อยในกลุ่มอุตสาหกรรม (2) ประสิทธิผลของรูปแบบ ในระยะก่อนและหลังดำเนินการโดยภาพรวมมีความแตกต่าง อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 โดยด้านระดับปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมสุขภาพ และด้านพฤติกรรมสุขภาพ ในระยะ หลังดำเนินงานมีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้น ส่วนด้านภาวะสุขภาพพบว่าในระยะหลังดำเนินการกลุ่มตัวอย่างมีค่าความดันโลหิต อยู่ในเกณฑ์ปกติเพิ่มขึ้น แต่ค่าขนาดรอบเอวและน้ำหนักตัวตามเกณฑ์มาตรฐานลดลงเล็กน้อย จากผลการศึกษาแสดง ให้เห็นว่ารูปแบบนี้มีประสิทธิผล ส่งผลให้กลุ่มตัวอย่างสามารถจัดการความรู้และเกิดการเรียนรู้เพื่อปรับเปลี่ยนปัจจัย ที่มีผลต่อพฤติกรรมสุขภาพ และพฤติกรรมสุขภาพได้อย่างเหมาะสมกับวิถีชีวิตของตนเอง ส่งผลให้ระดับความดันโลหิตเข้าสู่ระดับปกติได้ ดังนั้น จึงควรนำรูปแบบนี้ไปขยายผลในการเสริมสร้างพฤติกรรมสุขภาพเพื่อการป้ องกัน โรคความดันโลหิตสูงในพื้นที่อื่นต่อไป และควรทำการศึกษาในกลุ่มเป้ าหมายอื่น เช่น กลุ่มพนักงานบริษัท ข้าราชการ เป็นต้น เพื่อให้ได้รูปแบบการแก้ไขปัญหาโรคความดันโลหิตสูงมีความครอบคลุมประชาชนวัยทำงานทั้งหมด
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.