ประสิทธิผลทางชีววิเคราะห์ของผลิตภัณฑ์กำจัดยุงชนิดฉีดพ่นอัดแก๊สเพื่อใช้ในการกำจัดยุงลายบ้านพาหะนำโรคไข้เลือดออก
คำสำคัญ:
ผลิตภัณฑ์ฉีดพ่นอัดแก๊ส, ประสิทธิภาพทางชีววิเคราะห์, glass chamber method, ยุงลายบ้านบทคัดย่อ
สถานการณ์ผู้ป่วยไข้เลือดออกในประเทศไทย ณ วันที่ 16 ตุลาคม 2562 พบผู้ป่ วยสะสมรวม 102,553 ราย ซึ่งมากกว่าในช่วงเวลาเดียวกันของปี 2561 ถึง 1.5 เท่า มาตรการสำคัญในการควบคุมการระบาดของโรคไข้เลือดออก คือการใช้สารเคมีในการควบคุมยุงพาหะ สำหรับการใช้ผลิตภัณฑ์กำจัดแมลงในบ้านเรือนเพื่อกำจัดยุงลาย พาหะนำโรคไข้เลือดออกเป็นอีกมาตรการหนึ่งในการป้ องกันตนเองจากไข้เลือดออก ซึ่งจะทำให้ได้ประสิทธิภาพมาก ขึ้นหากได้ทราบประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ดังกล่าว คณะผู้วิจัยจึงได้ทำการรวบรวมข้อมูลผลการทดสอบประสิทธิ- ภาพทางชีววิเคราะห์ของผลิตภัณฑ์กำจัดยุงชนิดกระป๋ องอัดแก๊สในประเทศไทย ดำเนินการทดสอบโดยวิธี glass chamber method ซึ่งเป็นวิธีมาตรฐานที่ได้รับการรับรอง ISO/IEC 17025 โดยข้อมูลผลการทดสอบประสิทธิภาพทางชีววิเคราะห์ของผลิตภัณฑ์อัดแก๊สกำจัดยุงที่ส่งมาทดสอบในช่วงระยะเวลา 6 ปี ตั้งแต่ปี 2556-2561 มีผลิตภัณฑ์ทั้ง สิ้น 183 ตัวอย่าง ผ่านเกณฑ์ทดสอบจำนวน 119 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 65.02 ทุกผลิตภัณฑ์มีผลทำให้ยุงลายบ้าน ทดสอบตายร้อยละ 100 ผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 71.50) มีค่า KT50 อยู่ระหว่าง 2-4 นาที สารออกฤทธิ์ ที่ใช้ใน ผลิตภัณฑ์มากที่สุด คือ imiprothrin ซึ่งจัดเป็นสารเคมีกำจัดแมลงในกลุ่มไพรีทรอยด์สังเคราะห์ รองลงมา คือ permethrin, prallethrin, cypermethrin และ d-tetramethrin ตามลำดับ ข้อมูลผลิตภัณฑ์ที่รวบรวมได้มีสูตรแตกต่างกัน ทั้งหมด 38 สูตร พบว่าสูตรผสมระหว่าง esbiothrin และ permethrin มีประสิทธิภาพดีที่สุดในการทำให้ยุงลายบ้าน หงายท้องได้ไว (KT50 = 1 นาที 29 วินาที) อย่างไรก็ตาม permethrin ได้มีการใช้ในการกำจัดยุงลายมาเป็นระยะ เวลานานและมีรายงานการดื้อของยุงลายในหลายพื้นที่ของประเทศไทย ดังนั้น ข้อมูลนี้จึงมีความสำคัญต่อการศึกษา พัฒนาสูตรผลิตภัณฑ์เคมีสำหรับควบคุมกำจัดยุงลายในบ้านเรือนที่ดื้อต่อสารเคมีกำจัดแมลง
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.