ปริมาณการสั่งใช้ยาต้านแบคทีเรียชนิดฉีดในหน่วย defined daily dose (DDD) ในผู้ป่วยใน โรงพยาบาลชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • สามารถ อยู่ยง กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลชัยภูมิ
  • สิริรัตน์ ภูมิรัตนประพิณ กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลชัยภูมิ

คำสำคัญ:

ยาต้านแบคทีเรียชนิดฉีด, defined daily dose, เชื้อดื้อยา

บทคัดย่อ

ความเป็นมา ปัญหาเชื้อดื้อยาเป็นปัญหาที่สำคัญทางการแพทย์ของประเทศไทย เพราะก่อให้เกิดผลเสียหลายด้าน ทั้งด้านผลการรักษาและค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น ซึ่งปัจจุบันมีหลักฐานจากการศึกษาแสดงให้เห็นว่า การใช้ยาปฏิชีวนะเกินความจำเป็น เป็นปัจจัยส่งเสริมให้เกิดปัญหาเชื้อดื้อยาของเชื้อแบคทีเรียหลายชนิด

วัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์หามูลค่าและปริมาณการใช้ยาต้านแบคทีเรียชนิดฉีดในรูปแบบ Defined Daily Dose แยกตามรายการและกลุ่มยาต้านแบคทีเรียที่มีในโรงพยาบาลชัยภูมิระหว่างปีงบประมาณ 2563-2565

วิธีวิจัย วิจัยเชิงพรรณนาโดยการสืบค้นข้อมูลการสั่งใช้ยาต้านแบคทีเรียชนิดฉีดในผู้ป่วยในของโรงพยาบาลชัยภูมิจากฐานข้อมูล HOSXP และใช้โปรแกรม RDUR9 version 62.10.01 เขตสุขภาพที่ 9 เพื่อวิเคราะห์หาค่า DDD และคำนวณมูลค่าการสั่งใช้จากราคาที่จัดซื้อในแต่ละปี วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ความถี่ และร้อยละ

ผลการศึกษา พบว่ามูลค่าการสั่งใช้ยาต้านแบคทีเรียชนิดฉีดโดยรวมในปีงบประมาณ 2563-2565 เท่ากับ 89,915,896 บาท จำแนกรายปีงบประมาณ เท่ากับ 23,852,171 บาท 31,288,166 บาท และ 34,775,559 บาท ตามลำดับ กลุ่มยาที่มีมูลค่าการสั่งใช้รวมสูงสุด 3 กลุ่มแรก คือ carbapenems 28,509,463 บาท (ร้อยละ 31.71) beta-lactam/betalactamase inhibitors (BLBI) 18,336,532 บาท (ร้อยละ 20.39) และ phosphonic acids 9,822,641 บาท (ร้อยละ 10.92) รายการยาที่มีมูลค่าการสั่งใช้รวมสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ meropenem 23,470,713 บาท (ร้อยละ 26.10) fosfomycin 9,822,641 บาท (ร้อยละ10.92) และ piperacillin-tazobactam 7,926,480 บาท (ร้อยละ 8.82) ซึ่งมูลค่ารวมการสั่งใช้สูงขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 18.22 ต่อปี ส่วนค่า DDD รวมในช่วง 3 ปีงบประมาณเท่ากับ 333.08 จำแนกรายปีเท่ากับ 117.84, 111.66 และ 103.58 ตามลำดับ ซึ่งมีแนวโน้มการใช้ยาที่ลดลงเฉลี่ยร้อยละ 6.42 ต่อปี กลุ่มยาที่มีค่า DDD สูงสุด 3 กลุ่มแรก ได้แก่ 3rd generation cephalosporins (100.11) carbapenems (48.81) และ BLBI (35.78) รายการยาที่มีค่า DDD สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ceftriaxone (65.32) meropenem (46.70) และ ceftazidime (30.84 )

สรุป มูลค่าการใช้ยาต้านแบคทีเรียชนิดฉีดในผู้ป่วยในมีแนวโน้มสูงขึ้นโดยเฉพาะยากลุ่ม carbapenems ส่วนค่า DDD รวมมีแนวโน้มลดลง

ประวัติผู้แต่ง

สามารถ อยู่ยง, กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลชัยภูมิ

ภ.บ.

สิริรัตน์ ภูมิรัตนประพิณ , กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลชัยภูมิ

ภ.บ.

เอกสารอ้างอิง

Singh P, Gupta DK, Bindra A, Trikha A, Lathwal A, Malhotra R, et al. Antimicrobial consumption in intensive care unit patients at level 1 trauma centre in India. Indian J Med Microbiol. 2022;40(1):86-90.

กระทรวงสาธารณสุข. แผนยุทธศาสตร์การจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพประเทศไทย พ.ศ. 2560–2564. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงสาธารณสุข; 2559.

Junkunapas P, Bunyarit P, Prapasoe N, Sreesupan W, Leungreungrong P. AMR hospital management guideline. Nonthaburi: Health Administration Division; 2016.

อนุวัฒน์ สุรินราช, อนุศักดิ์ เกิดสิน, ประภัสสร สมศรี. ปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อแบคทีเรียดื้อยาคาร์บาพีเนมในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลสกลนคร. วารสารโรงพยาบาลสกลนคร. 2562;22(1):40-51.

อารยา ข้อค้า. ยาปฏิชีวนะและการดื้อยาปฏิชีวนะของแบคทีเรีย. วารสารการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ. 2563;27(2):125-139.

Bansal D, Mangla S, Undela K, Gudala K, D'Cruz S, Sachdev A, et al. Measurement of adult antimicrobial drug use in tertiary care hospital using defined daily dose and days of therapy. Indian J Pharm Sci. 2014;76(3):211-7.

Sözen H, Gönen I, Sözen A, Kutlucan A, Kalemci S, Sahan M. Application of ATC/DDD methodology to evaluate of antibiotic use in a general hospital in Turkey. Ann Clin Microbiol Antimicrob. 2013;12:23. doi: 10.1186/1476-0711-12-23.

Muller A, Monnet DL, Talon D, Hénon T, Bertrand X. Discrepancies between prescribed daily doses and WHO defined daily doses of antibacterials at a university hospital. Br J Clin Pharmacol. 2006;61(5):585-91. doi: 10.1111/j.1365-2125.2006.02605.x.

กระทรวงสาธารณสุข. กรมการแพทย์. คู่มือการประเมินการจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพอย่างบูรณาการในโรงพยาบาล. กรุงเทพมหานคร: งานพิมพ์; 2565.

WHO Collaborating Centre for Drug Statistics Methodology. ATC/DDD index [Internet]. Oslo, Norway: World Health Organization; [cited 2022 Dec 1]. Available from: https://www.whocc.no/atc_ddd_index/

WHO Collaborating Centre for Drug Statistics Methodology. Guidelines for ATC classification and DDD assignment 2022 [Internet]. Oslo, Norway: World Health Organization; 2022 [cited 2022 Nov.10]. Available from: https://www.whocc.no/atc_ddd_index_and_guidelines/guidelines/

ไพบูลย์ พิทยาเธียรอนันต์, สุทธิพงษ์ เดชก้อง และ จีริสุดา ฉวีรักษ์. ปริมาณและมูลค่าการสั่งใช้ยาต้านแบคทีเรียชนิดฉีดในแผนกผู้ป่วยในโรงพยาบาลราชวิถี. วารสารกรมการแพทย์. 2564;46(1):117-26

Tarun S, Kapil S, Amit N, Gaurav J, Munawwar H, Gurvinder S, et al. Assessment of antimicrobial drugs utilization in tertiary care hospital - an antimicrobial stewardship implication. IJHS. 2022;6(S7):5474–83. Available from: https://sciencescholar.us/journal/index.php/ijhs/article/view/13258 https://doi.org/10.53730/ijhs.v6nS7.13258

ชุติมาภรณ์ ไชยสงค์, สมพิศ ปินะเก, สุรศักดิ์ ไชยสงค์, พิริยา ติยาภักดิ์. ความสัมพันธ์ของปริมาณการใช้ยาและการดื้อยาปฏิชีวนะในโรงพยาบาลมหาสารคาม. วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน. 2562;15(2):98-105

โรงพยาบาลชัยภูมิ. กลุ่มงานเทคนิคการแพทย์. ข้อมูลเชื้อดื้อยาในกระแสเลือดโรงพยาบาลชัยภูมิ ปีงบประมาณ 2563-2565. ชัยภูมิ: โรงพยาบาลชัยภูมิ; 2565.

สำนักข่าว Hfocus เจาะลึกระบบสุขภาพ. ใช้ยาปฏิชีวนะสมเหตุสมผลลดปัญหาเชื้อดื้อยา [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพมหานคร: 2560 [สืบค้นเมื่อ 15 พ.ย.2565 ]. สืบค้นจาก: https://www.hfocus.org/content/2017/11/14839

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-04-26