ความคลาดเคลื่อนทางยา และการเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาในผู้ป่วยที่ใช้ยาที่มีความเสี่ยงสูง โรงพยาบาลลำพูน

ผู้แต่ง

  • พิมพ์ชนก ขันแก้วหล้า กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลลำพูน

คำสำคัญ:

ยาที่มีความเสี่ยงสูง, ความคลาดเคลื่อนทางยา, การเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา

บทคัดย่อ

ความเป็นมา: ความคลาดเคลื่อนทางยา และเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา เป็นปัญหาสำคัญที่พบได้ในกระบวนการใช้ยาและมีผลกระทบทำให้ผู้ป่วยเกิดปัญหาสุขภาพ สูญเสียค่าใช้จ่ายมากขึ้น รักษาตัวในโรงพยาบาลนานขึ้น และอาจรุนแรงจนทำให้เสียชีวิต

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอุบัติการณ์ความคลาดเคลื่อนทางยา และการเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาในผู้ป่วยที่ใช้ยาที่มีความเสี่ยงสูง และวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดอุบัติการณ์ความคลาดเคลื่อนทางยาและการเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาในผู้ป่วยที่ใช้ยาที่มีความเสี่ยงสูง

วิธีการวิจัย: เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบเก็บข้อมูลย้อนหลัง กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยใน โรงพยาบาลลำพูน ที่ได้รับยาความเสี่ยงสูง 14 รายการ ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2565 ถึง 31 ธันวาคม 2565 จำนวนทั้งสิ้น 6,917 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียน และระบบสารสนเทศการบริหารความเสี่ยงของโรงพยาบาลลำพูน

ผลการวิจัย: ผู้ป่วยที่ใช้ยาที่มีความเสี่ยงสูง ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 55.1 มีอายุมากกว่า 60 ปี ร้อยละ 64.5ไม่เคยมีประวัติการแพ้ยา ร้อยละ 84.5 ไม่มีโรคประจำตัว ร้อยละ 74.5 มีการใช้ยาที่มีความเสี่ยงสูง จำนวน 6,917 ครั้ง รายการยาที่มีความเสี่ยงสูงที่ใช้มากที่สุด ได้แก่ magnesium sulphate ร้อยละ 17.6 รองลงมาคือ norepinephrine ร้อยละ 17.0 และ potassium chloride ร้อยละ 14.7 มีการใช้ยา ในแผนกผู้ป่วยหนักมากที่สุด ร้อยละ 47.7 พบความคลาดเคลื่อนทางยาจากการจ่ายยา ร้อยละ 0.4 การเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา พบภาวะหลอดเลือดดำอักเสบ ร้อยละ 0.2 ภาวะเลือดออกร้อยละ 0.2 ปัจจัยพื้นฐานของผู้ป่วย ได้แก่ อายุที่มากกว่า 60 ปี และการมีโรคประจำตัว มีความสัมพันธ์กับการเกิดความคลาดเคลื่อนทางยาและการเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

สรุปผล: อุบัติการณ์ความคลาดเคลื่อนทางยาและการเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาในผู้ป่วยที่ใช้ยาที่มีความเสี่ยงสูงส่งผลต่อความปลอดภัยของผู้ป่วย และจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีติดตามและเฝาระวังการใชยาที่มีความเสี่ยงสูงในผู้ป่วยสูงอายุ และมีโรคประจำตัว

ประวัติผู้แต่ง

พิมพ์ชนก ขันแก้วหล้า, กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลลำพูน

ภ.ม.

เอกสารอ้างอิง

Institute for Safe Medication Practices (ISMP). ISMP’s list of high-alert medications [Internet]. Plymouth Meeting (PA): Institute for Safe Medication Practices; 2007 [cited 2023 Jul 4]. Available from: https://www.nursingworld.org/~4afce7/globalassets/practiceandpolicy/innovation--evidence/high-alert-medications-list.pdf

World Health Organization (WHO). Medication without harm [Internet]. Geneva: World Health Organization; 2020 [cited 2023 Jul 4]. Available from: https://www.who.int/initiatives/medication-without-harm

National Coordinating Council for Medication Error Reporting and Prevention. Types of medication errors [Internet]. n.p.: National Coordinating Council for Medication Error Reporting and Prevention; 2022 [cited 2023 Jul 4]. Available from: https://www.nccmerp.org/types-medication-errors

Younis I, Shaheen N, Bano S. Knowledge & practice about administration of high alert medication in the tertiary care hospital in Lahore. IJHMNP. 2021;3(4):1-16. doi: 10.47941/ijhmnp.644.

กิตติพนธ์ เครือวังค์. ความคลาดเคลื่อนทางยา. วารสารกฎหมายสุขภาพและสาธารณสุข [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [สืบค้นเมื่อ 5 เม.ย. 2566];4(2):251-265. สืบค้นจาก: https://so05.tci-thaijo.org/index.php/journal_law/article/view/161437

ปัญญฉัตร ซอสุขไพบูลย์. ระบบรายงานความคลาดเคลื่อนทางยาจากโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่พัฒนาขึ้นในโรงพยาบาลขนาดใหญ่แห่งหนึ่ง. วารสารเภสัชกรรมไทย [อินเทอร์เน็ต]. 2555 [สืบค้นเมื่อ 5 เม.ย. 2566];4(1):3-16. สืบค้นจาก: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJPP/article/view/169294

สำนักคณะกรรมการอาหารและยา. สรุปรายงานเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา ประจำปี พ.ศ. 2564. นนทบุรี: ศูนย์เฝ้าระวังความปลอดภัยด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักคณะกรรมการอาหารและยา; 2564.

สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน). เป้าหมายความปลอดภัยของผู้ป่วยของประเทศไทย พ.ศ. 2561. กรุงเทพฯ: เฟมัส แอนด์ ซัคเซสฟูล; 2561.

โรงพยาบาลลำพูน. รายงานอุบัติการณ์ความคลาดเคลื่อนทางยาที่มีความเสี่ยงสูง. ลำพูน: โรงพยาบาลลำพูน; 2565.

เพียงเพ็ญ ชนาเทพาพร. การพัฒนาระบบการติดตามและเฝ้าระวังการใช้ยาที่มีความเสี่ยงสูงในโรงพยาบาลศรีนครินทร์. ศรีนครินทร์เวชสาร [อินเทอร์เน็ต]. 2558 [สืบค้นเมื่อ 4 เม.ย. 2566];30(1):46-56. สืบค้นจาก: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/SRIMEDJ/article/view/33581

รพีพรรณ เกิดหนู. การประเมินการดำเนินงานตามแนวทางการใช้ยาที่มีความเสี่ยงสูงของโรงพยาบาลปราณบุรี [อินเทอร์เน็ต]. ประจวบคีรีขันธ์: โรงพยาบาลปราณบุรี ประจวบคีรีขันธ์; 2564 [สืบค้นเมื่อ 5 เม.ย. 2566]. สืบค้นจาก: https://โรงพยาบาลปราณบุรี.com/th/pages/41556-ผลงานวิชาการ

Laatikainen O, Sneck S, Turpeinen M. The risks and outcomes resulting from medication errors reported in the Finnish tertiary care units: a cross-sectional retrospective register study. Front Pharmacol. 2020;10:1571. doi: 10.3389/fphar.2019.01571.

เจตนิพัทธ์ มิดขุนทด. การพัฒนาระบบการจัดการด้านยาที่มีความเสี่ยงสูงโรงพยาบาลตาคลี ภายใต้ความร่วมมือของทีมสหวิชาชีพ. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพแห่งประเทศไทย [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [สืบค้นเมื่อ 4 เม.ย. 2566];3(3):39-51. สืบค้นจาก: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/HSJT/article/view/249506

วิวัฒน์ ถาวรวัฒนยงค์, จตุพร อโณทยานนท์, นิรมล เรืองสกุล, พัลลภ ศรีภิรมย์รักษ์,รินพัท ชมจันทร์. การใช้ยาที่มีความเสี่ยงสูงในผู้สูงอายุ : กรณีศึกษาตำบลวังตะกู จังหวัดนครปฐม. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข [อินเทอร์เน็ต]. 2554 [สืบค้นเมื่อ 5 เม.ย. 2566];5(2):187-194. สืบค้นจาก: https://kb.hsri.or.th/dspace/bitstream/handle/11228/3248/hsri-journal-v5n2-p187-194.pdf?sequence=3&isAllowed=y

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2024-03-13