การประเมินผลลัพธ์ของการดูแลต่อเนื่องแบบผสมผสานสำหรับผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในโรงพยาบาลชุมชน
คำสำคัญ:
โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง, การดูแลอย่างต่อเนื่อง, ประสิทธิผล, การดูแลผู้ป่วยแบบผสมผสานบทคัดย่อ
ความเป็นมา: การดูแลอย่างต่อเนื่องสำคัญต่อการดูแลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในระดับปฐมภูมิ
วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินผลลัพธ์ทางคลินิก คุณภาพชีวิต และมูลค่าการรักษารวม ก่อนและหลังจากผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังได้รับการดูแลแบบผสมผสานในโรงพยาบาลปากน้ำชุมพร
วิธีวิจัย: การศึกษาแบบกึ่งทดลองระหว่าง พฤษภาคม 2566 - กรกฎาคม 2566 ในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่เข้ารับการรักษา 6 เดือนขึ้นไป การพัฒนาระบบการดูแลต่อเนื่องแบบผสมผสานประกอบด้วย 1) การพัฒนาการรักษาผู้ป่วยตาม GOLD guideline ของทีมสหวิชาชีพ 2) เพิ่มศักยภาพในการดูแลตนเองของผู้ป่วย 3) การดูแลอย่างต่อเนื่อง 4) การส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคอย่างครอบคลุม ผู้ป่วยจะได้รับการประเมิน mMRC dyspnea scale การเกิดภาวะกำเริบ การมารักษาที่ห้องฉุกเฉิน การมานอนรักษาในโรงพยาบาล PEFR, FEV1 คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยจาก CAT score และมูลค่าการรักษาของผู้ป่วย ก่อนและ 6 เดือนหลังการปรับปรุงระบบ
ผลการวิจัย: ผู้ป่วยทั้งหมด 95 ราย ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย (ร้อยละ 81.1) อายุเฉลี่ย 66.9 ปี ร้อยละของผู้ป่วยที่มีระดับ mMRC dyspnea scale ที่ต้องการคือน้อยกว่า 2 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 64.2 เป็น 71.6 (p<0.05) ค่า PEFR และ FEV1 เพิ่มขึ้น การเกิดภาวะกำเริบเฉียบพลัน การนอนรักษาในโรงพยาบาล การมารับการรักษาที่ห้องฉุกเฉิน ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยจากค่า CAT score ที่ต้องการคือน้อยกว่า 10 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 41.1 เป็น 65.3 และมูลค่าการรักษาโดยรวมลดลงร้อยละ 35.9
สรุปผลการวิจัย: การพัฒนาการดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องแบบผสมผสาน ส่งผลให้เพิ่มประสิทธิผลในการรักษาผู้ป่วยทั้งผลทางคลินิก และผลทางเศรษฐศาสตร์
เอกสารอ้างอิง
World Health Organization. Chronic obstructive pulmonary disease (COPD) [Internet]. Geneva: WHO; 2023 [cited 2023 Feb 3]. Available from: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/chronic-obstructive-pulmonary-disease-(copd)
Global Initiative for Chronic Obstructive Lung Disease (GOLD). Pocket guide to COPD diagnosis, management, and prevention. A guide for health care professionals. 2023 edition [Internet]. n.p.: Global Initiative for Chronic Obstructive Lung Disease, Inc.; 2023 [cited 2023 Feb 3]. Available from: https://goldcopd.org/wp-content/uploads/2023/03/POCKET-GUIDE-GOLD-2023-ver-1.2-17Feb2023_WMV.pdf
OECD. Health at a glance 2021: OECD indicators [Internet]. Paris: OECD Publishing; 2021 [cited 2023 Feb 3]. Available from: https://www.oecd-ilibrary.org/social-issues-migration-health/health-at-a-glance-2021_ae3016b9-en
Guanais FC, Gómez-Suárez R, Pinzón L. Series of avoidable hospitalizations and strengthening primary health care: primary care effectiveness and the extent of avoidable hospitalizations in Latin America and the Caribbean [Internet]. n.p.: Inter-American Development Bank; 2012 [cited 2023 Feb 3]. Available from: https://www.researchgate.net/publication/324162719_SERIES_OF_AVOIDABLE_HOSPITALIZATIONS_AND_STRENGTHENING_PRIMARY_HEALTH_CARE_Primary_Care_Effectiveness_and_the_Extent_of_Avoidable_Hospitalizations_in_Latin_America_and_the_Caribbean
Dalal AA, Shah M, D'Souza AO, Rane P. Costs of COPD exacerbations in the emergency department and inpatient setting. Respir Med. 2011;105(3):454-60. doi: 10.1016/j.rmed.2010.09.003.
de Miguel Diez J, Carrasco Garrido P, García Carballo M, Gil de Miguel A, Rejas Gutierrez J, Bellón Cano JM, et al. Determinants and predictors of the cost of COPD in primary care: a Spanish perspective. Int J Chron Obstruct Pulmon Dis. 2008;3(4):701-12. doi: 10.2147/copd.s2427.
ภาสกร ศรีทิพย์สุโข, ประภาศรี กุลาเลิศ, อารยา ศรัทธาพุทธ, อรพรรณ โพชนุกูล, ฐิตินันท์ ไมตรี, เติมสุข รักษ์ศรีทอง, และคณะ. ต้นทุนความเจ็บป่วยการนอนโรงพยาบาลของผู้ป่วยเด็กเล็กที่มีภาวะหายใจหอบเฉียบพลันมีเสียงวี้ดโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ. ธรรมศาสตร์เวชสาร [อินเทอร์เน็ต]. 2559 [สืบค้นเมื่อ 3 ก.พ. 2566];16(4):553-60. สืบค้นจาก: https://asianmedjam.com/index.php/tmj/article/view/710
Rocha JVM, Marques AP, Moita B, Santana R. Direct and lost productivity costs associated with avoidable hospital admissions. BMC Health Serv Res. 2020;20(1):210. doi: 10.1186/s12913-020-5071-4.
Mulpuru S, McKay J, Ronksley PE, Thavorn K, Kobewka DM, Forster AJ. Factors contributing to high-cost hospital care for patients with COPD. Int J Chron Obstruct Pulmon Dis. 2017;12:989-995. doi: 10.2147/COPD.S126607.
Blanchette CM, Dalal AA, Mapel D. Changes in COPD demographics and costs over 20 years. J Med Econ. 2012;15(6):1176-82. doi: 10.3111/13696998.2012.713880.
Darnell K, Dwivedi AK, Weng Z, Panos RJ. Disproportionate utilization of healthcare resources among veterans with COPD: a retrospective analysis of factors associated with COPD healthcare cost. Cost Eff Resour Alloc. 2013;11:13. doi: 10.1186/1478-7547-11-13.
Kao YH, Lin WT, Chen WH, Wu SC, Tseng TS. Continuity of outpatient care and avoidable hospitalization: a systematic review. Am J Manag Care. 2019;25(4):e126-34. PMID: 30986022.
Brooke ME, Spiliopoulos N, Collins M. A review of the availability and cost effectiveness of chronic obstructive pulmonary disease (COPD) management interventions in rural Australia and New Zealand. Rural Remote Health. 2017;17(3):4017. doi: 10.22605/RRH4017.
Faul F, Erdfelder E, Lang AG, Buchner A. G*Power 3: a flexible statistical power analysis program for the social, behavioral, and biomedical sciences. Behav Res Methods. 2007;39(2):175-91. doi: 10.3758/bf03193146.
Blanchette CM, Gross NJ, Altman P. Rising costs of COPD and the potential for maintenance therapy to slow the trend. Am Health Drug Benefits. 2014;7(2):98-106. PMID: 24991394; PMCID: PMC4049119.
Punekar YS, Shukla A, Müllerova H. COPD management costs according to the frequency of COPD exacerbations in UK primary care. Int J Chron Obstruct Pulmon Dis. 2014;9:65-73. doi: 10.2147/COPD.S54417.
นิกร บุญแทน. ประสิทธิภาพของการจัดตั้งคลินิกโรคหืดและปอดอุดกั้นเรื้อรังในโรงพยาบาลจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารสาธารณสุขล้านนา [อินเทอร์เน็ต]. 2555 [สืบค้นเมื่อ 3 ก.พ. 2566];8(1):93-108. สืบค้นจาก: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/LPHJ/article/view/179851
สุนทรีย์ พรรษา, พนมสินธุ์ ศรีชาดา, อรุณี ศิวบวรวัฒนา, ศรายุทธ เทศรพีเมธาวีนําชัย. ผลการให้คำแนะนำเทคนิคการใช้ยาสูดพ่นโดยเภสัชกร ร่วมกับการใช้สื่อมัลติมีเดีย ในผู้ป่วยผู้ใหญ่โรคหืดและโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง. วารสารวิชาการสาธารณสุข [อินเทอร์เน็ต]. 2559 [สืบค้นเมื่อ 3 ก.พ. 2566];25(3):424-33. สืบค้นจาก: https://thaidj.org/index.php/JHS/article/view/273
ประภา โพธิหัง, วิสาร์กร มดทอง. ประสิทธิผลการควบคุมอาการหอบของผู้ป่วยโรคปอดอุดกันเรือรังหลังการพัฒนาระบบบริการของโรงพยาบาลในจังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิชาการสาธารณสุข [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [สืบค้นเมื่อ 3 ก.พ. 2566];27(5):866-76. สืบค้นจาก: https://thaidj.org/index.php/JHS/article/view/5084
Jakovljevic MB, Lazic Z, Verhaeghe N, Jankovic S, Verhaeghe N, Annemans L. Direct medical costs of COPD diagnosis and treatment, Eastern vs. Western European country - examples of Serbia and Belgium [Internet]. Conference paper of the 9th European Health Economics; 2012 July; Zurich, Switzerland. n.p.: ResearchGate GmbH; 2012 [cited 2023 Feb 3]. Available from: https://www.researchgate.net/publication/282673515_Direct_medical_costs_of_COPD_diagnosis_and_treatment_Eastern_vs_western_European_country_-_examples_of_Serbia_and_Belgium
Dalal AA, Christensen L, Liu F, Riedel AA. Direct costs of chronic obstructive pulmonary disease among managed care patients. Int J Chron Obstruct Pulmon Dis. 2010;5:341-9. doi: 10.2147/COPD.S13771.
Rhee CK, Yoon HK, Yoo KH, Kim YS, Lee SW, Park YB, et al. Medical utilization and cost in patients with overlap syndrome of chronic obstructive pulmonary disease and asthma. COPD. 2014;11(2):163-70. doi: 10.3109/15412555.2013.831061.
Bakerly ND, Roberts JA, Thomson AR, Dyer M. The effect of COPD health forecasting on hospitalisation and health care utilisation in patients with mild-to-moderate COPD. Chron Respir Dis. 2011;8(1):5-9. doi: 10.1177/1479972310388950.
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2024 กองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ ชมรมเภสัชกรโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความภายในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารเภสัชกรรมคลินิกทั้งหมด รวมถึงรูปภาพประกอบ ตาราง เป็นลิขสิทธิ์ของกองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ ชมรมเภสัชกรโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข การนำเนื้อหา ข้อความหรือข้อคิดเห็น รูปภาพ ตาราง ของบทความไปจัดพิมพ์เผยแพร่ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ต้องได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการวารสารเภสัชกรรมคลินิกอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร
กองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ ชมรมเภสัชกรโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข อนุญาตให้สามารถนำไฟล์บทความไปใช้ประโยชน์และเผยแพร่ต่อได้ โดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอน (Creative Commons License: CC) โดย ต้องแสดงที่มาจากวารสาร – ไม่ใช้เพื่อการค้า – ห้ามแก้ไขดัดแปลง, Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)
ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับกองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ ชมรมเภสัชกรโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข และบุคลากรในกองฯ หรือ ชมรมฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง ตลอดจนความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความเป็นของผู้เขียน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการ