Author Guideline - คำแนะนำผู้เขียน
Abstract
การเตรียมต้นฉบับ
- พิมพ์ขนาดกระดาษ A4 ด้วย Microsoft Word ใช้ font “TH Sarabun New” ขนาด 16 pt และพิมพ์เป็นคอลัมน์เดียว
- ต้นฉบับต้องไม่เคยตีพิมพ์หรือเผยแพร่ที่ใดมาก่อนและไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น จัดพิมพ์ในรูปแบบตามที่กำหนด หากไม่ถูกต้องต้นฉบับจะถูกส่งคืนผู้แต่งหลักเพื่อแก้ไข หลังจากแก้ไขแล้วบทความนั้นจึงจะเข้าสู่กระบวนการทบทวนและประเมินคุณภาพ (peer review) โดยผู้ทรงคุณวุฒิ
- ชื่อผู้แต่ง ให้ใส่ชื่อและนามสกุล อักษรย่อคุณวุฒิ (ปริญญาตรี และสูงกว่า) สังกัด และ e-mail ของผู้แต่งทุกคนเป็นภาษไทยและภาษาอังกฤษ พร้อมทั้งระบุชื่อผู้เขียนหลัก (corresponding author)
- ชื่อเรื่อง ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ มีความยาวไม่เกิน 150 ตัวอักษร
- บทความ ต้องมีบทคัดย่อ และ abstract ไม่เกิน 300 คำ พร้อมคำสำคัญ และ keywords ไม่เกิน 5 คำ
- ภาษาที่ใช้ในบทความ ใช้ภาษาไทย
- กรณีนิพนธ์ต้นฉบับ ต้องระบุในต้นฉบับด้วยว่าได้ผ่านการพิจารณาและได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการพิจารณาจริยธรรมการวิจัย (Ethic Committee) ให้ดำเนินการวิจัยได้ พร้อมระบุเลขที่ของหนังสือรับรองที่ได้รับอนุญาตนั้น
- คำย่อและคำศัพท์ทางวิทยาศาสตร์ที่ใช้ในบทความ ให้ใช้คำย่อที่เป็นสากล และต้องใส่คำเต็มไว้ครั้งแรกก่อน ส่วนคำศัพท์ทางวิทยาศาสตร์ให้ใช้ตามที่บัญญัติโดยสำนักงานราชบัณฑิตยสภา ชื่อวิทยาศาสตร์ของเชื้อจุลินทรีย์และพืช ให้ใช้ตัวเอน
- บทความทุกประเภทรวมทั้งนิพนธ์ต้นฉบับที่ได้รับทุนสนับสนุน ให้ระบุแหล่งเงินทุนไว้ด้วย และผู้นิพนธ์ต้องเปิดเผยว่ามีผลประโยชน์ทับซ้อนหรือไม่
- รูปภาพ ตาราง ไดอะแกรม ให้เขียนขึ้นเอง หากไม่ได้เขียนขึ้นเอง ให้อ้างอิง
- เอกสารอ้างอิง ให้เขียนเรียงลำดับด้วยเลขอารบิกตามที่อ้างอิงในเนื้อเรื่อง และการอ้างอิงในเนื้อเรื่องให้ใช้เลขอารบิกรูปแบบอักษรตัวยก (superscript)
การเขียนเอกสารอ้างอิง
แนวทางการเขียนเอกสารอ้างอิงใช้ระบบ Vancouver Style โดยเรียงลำดับเอกสารตามลำดับเลขที่มีการอ้างถึงตามเนื้อหาในบทความ ซึ่งหมายเลขที่อ้างถึงในเนื้อหาเรื่องนั้นต้องตรงกับหมายเลขที่มีการกำกับไว้ในส่วนเอกสารอ้างอิงด้วย โดยเรียงลำดับจากหมายเลข 1 ไปถึงเลขสุดท้ายโดยพิมพ์เป็นเลขอารบิกรูปแบบตัวยก (superscript) กรณีอ้างอิงเอกสารหลายรายการในเนื้อหาเดียวกันและรายการอ้างอิงต่อเนื่องกันให้ใช้ hyphen (-) ระหว่างตัวเลข เช่น 1-3 แต่หากรายการอ้างอิงไม่ต่อเนื่องให้ใช้ comma (,) ระหว่างตัวเลข เช่น 1-3,5 รายละเอียดการเขียนเอกสารอ้างอิงแบบ Vancouver Style สามารถอ่านดูได้ที่ https://thaidj.org/index.php/TJCP/issue/view/878
ขอบเขตสาขาวิชา (Scope)
วารสารเภสัชกรรมคลินิกยินดีรับลงพิมพ์บทความวิชาการด้านเภสัชกรรมคลินิก การบริบาลทางเภสัชกรรม เภสัชกรรมเทคโนโลยี่ การบริหารเภสัชกิจ เภสัชสาธารณสุข การคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพ นโยบายด้านยาและสุขภาพ การประยุกต์ใช้ศาสตร์ทางสังคมและการบริหารในการปฏิบัติงานเภสัชกรรม และสาขาที่เกี่ยวข้องที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนางานด้านเภสัชกรรมคลินิก ประเภทบทความได้แก่ บทความวิจัย รายงานผู้ป่วย บทความปริทัศน์ บทความพิเศษ เภสัชสนเทศ บทความที่ส่งมาตีพิมพ์ต้องไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารฉบับอื่น ๆ มาก่อน ยกเว้นทางกองบรรณาธิการเห็นว่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่าน และสนับสนุนให้บทความเป็นภาษาไทย
บทความวิจัย (Research Article)
เป็นบทความผลงานวิจัย หรือ นวัตกรรม ที่ดำเนินการอย่างมีแบบแผน และได้รับการรับรองจริยธรรมการวิจัยแล้วโดยระบุเลขที่ของหนังสือรับรองที่ได้รับอนุญาตนั้น ความยาวทั้งบทความประมาณ 12 หน้ากระดาษ A4
รูปแบบของบทความประกอบด้วย:-
ชื่อเรื่อง: (ภาษาไทย และ ภาษาอังกฤษ) ชื่อเรื่องควรมีความยาวไม่เกิน 150 ตัวอักษร
ชื่อผู้เขียน: (ภาษาไทย และ ภาษาอังกฤษ) ใส่ชื่อและนามสกุล อักษรย่อคุณวุฒิ (ปริญญาตรี และสูงกว่า) สังกัด และ e-mail ของผู้เขียนทุกคน พร้อมทั้งระบุชื่อผู้เขียนหลัก (corresponding author)
บทคัดย่อ: (ภาษาไทย และ ภาษาอังกฤษ) ความยาวไม่เกิน 300 คำ พร้อมคำสำคัญ (keywords) ไม่เกิน 5 คำ ในบทคัดย่อแสดงหัวข้อย่อย ได้แก่
ความเป็นมา (Background)
วัตถุประสงค์ (Objectives)
วิธีวิจัย (Method)
ผลการวิจัย (Results)
สรุปผล (Conclusion)
เนื้อเรื่อง: ประกอบด้วยหัวข้อย่อย ได้แก่
บทนำ (Introduction) เหตุผลที่ทำการศึกษา
วัตถุประสงค์ (Objectives)
วัสดุ (หรือผู้ป่วย) และวิธีการศึกษา/วิจัย (Materials and Methods) พร้อมทั้งระบุว่าได้ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัย (Ethic Committee)
ผลการศึกษา/วิจัย (Results)
วิจารณ์ผล/อภิปรายผล (Discussion)
สรุปผลการวิจัย (Conclusion)
ข้อเสนอแนะ (ถ้ามี) (Suggestion)
กิตติกรรมประกาศ (Acknowledgement): หากได้รับทุนสนับสนุนให้เปิดเผยชื่อทุน พร้อมทั้งเปิดเผยว่าผู้นิพนธ์มีผลประโยชน์ทับซ้อนหรือไม่
เอกสารอ้างอิง (References):
--------------------
รายงานผู้ป่วย (Case Report)
เป็นบทความที่เขียนในรูปแบบรายงานผู้ป่วยที่เภสัชกรพบการเกิดปัญหาที่เกี่ยวกับยา เขียนเป็นภาษาไทย ยกเว้นชื่อยาและศัพท์เทคนิค ใช้ภาษาอังกฤษได้
รูปแบบของบทความประกอบด้วย:-
ชื่อเรื่อง: (ภาษาไทย และ ภาษาอังกฤษ) ชื่อเรื่องควรมีความยาวไม่เกิน 150 ตัวอักษร
ชื่อผู้เขียน: (ภาษาไทย และ ภาษาอังกฤษ) ใส่ชื่อและนามสกุล อักษรย่อคุณวุฒิ (ปริญญาตรี และสูงกว่า) สังกัด และ e-mail ของผู้เขียนทุกคน พร้อมทั้งระบุชื่อผู้เขียนหลัก (corresponding author)
บทคัดย่อ: : (ภาษาไทย และ ภาษาอังกฤษ) ความยาวไม่เกิน 300 คำ พร้อมคำสำคัญ (keywords) ไม่เกิน 5 คำ
บทนำ: ความยาวไม่เกิน 1 หน้ากระดาษ A4 แสดงเนื้อหาอย่างย่อของยา ประกอบด้วย เภสัชวิทยาของยา กลไกการออกฤทธิ์ การใช้ยา และอาการข้างเคียง
เนื้อเรื่อง: ประกอบด้วย
ประวัติทั่วไปของผู้ป่วย ประวัติความเจ็บป่วย และประวัติการใช้ยา
อาการสำคัญ
ผลการตรวจร่างกาย
ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ยาที่ได้รับก่อนเข้าโรงพยาบาล
การรักษาที่ได้รับในโรงพยาบาล
อภิปราย: แสดงการวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดกับผู้ป่วย สาเหตุหรือกลไกการเกิดปัญหานั้น การคัดเลือกการรักษา
ข้อคิดเห็น: การวิเคราะห์และสังเคราะห์โดยผู้เขียน พร้อมเหตุผลประกอบ
บทสรุป: ผู้เขียนสรุปและให้ข้อเสนอแนะเพื่อผู้อ่านนำไปใช้ประโยชน์
เอกสารอ้างอิง:
--------------------
บทความปริทัศน์ (Review Article)
เป็นบทความที่ให้ความรู้ใหม่หรือเรื่องที่น่าสนใจ ที่ผู้อ่านนำไปประยุกต์ได้ประกอบด้วย
ชื่อเรื่อง: (ภาษาไทย และ ภาษาอังกฤษ) ชื่อเรื่องควรมีความยาวไม่เกิน 150 ตัวอักษร
ชื่อผู้เขียน: (ภาษาไทย และ ภาษาอังกฤษ) ใส่ชื่อและนามสกุล อักษรย่อคุณวุฒิ (ปริญญาตรี และสูงกว่า) สังกัด และ e-mail ของผู้เขียนทุกคน พร้อมทั้งระบุชื่อผู้เขียนหลัก (corresponding author)
บทคัดย่อ: (ภาษาไทย และ ภาษาอังกฤษ) ความยาวไม่เกิน 300 คำ พร้อมคำสำคัญ (keywords) ไม่เกิน 5 คำ
บทนำ: ความยาวไม่เกิน 1 หน้ากระดาษ A4
เนื้อเรื่อง: ความรู้เกี่ยวเรื่องที่นำมาเขียน
อภิปราย:
เอกสารอ้างอิง:
--------------------
บทความพิเศษ (Special Article)
เป็นบทความนำหรือบทวิจารณ์ ประกอบด้วย
ชื่อเรื่อง: (ภาษาไทย และ ภาษาอังกฤษ) ชื่อเรื่องควรมีความยาวไม่เกิน 150 ตัวอักษร
ชื่อผู้เขียน: (ภาษาไทย และ ภาษาอังกฤษ) ใส่ชื่อและนามสกุล อักษรย่อคุณวุฒิ (ปริญญาตรี และสูงกว่า) สังกัด และ e-mail ของผู้เขียนทุกคน พร้อมทั้งระบุชื่อผู้เขียนหลัก (corresponding author)
บทคัดย่อ: (ภาษาไทย และ ภาษาอังกฤษ)ความยาวไม่เกิน 300 คำ พร้อมคำสำคัญ (keywords) ไม่เกิน 5 คำ
บทนำ: ความยาวไม่เกิน 1 หน้ากระดาษ A4
เนื้อเรื่อง: ความรู้เกี่ยวเรื่องที่นำมาเขียน
บทสรุป:
เอกสารอ้างอิง:
--------------------
เภสัชสนเทศ (Drug Information)
เป็นบทความข้อมูลด้านยา คำถาม-คำตอบ ของการสอบถามปัญหาด้านยาที่น่าสนใจพร้อมการสรุปเนื้อหา ประกอบด้วย
ชื่อเรื่อง: (ภาษาไทย และ ภาษาอังกฤษ) ชื่อเรื่องควรมีความยาวไม่เกิน 150 ตัวอักษร
ชื่อผู้เขียน: (ภาษาไทย และ ภาษาอังกฤษ) ใส่ชื่อและนามสกุล อักษรย่อคุณวุฒิ (ปริญญาตรี และสูงกว่า) สังกัด และ e-mail ของผู้เขียนทุกคน พร้อมทั้งระบุชื่อผู้เขียนหลัก (corresponding author)
คำถาม:
คำตอบ:
บทสรุป:
เอกสารอ้างอิง:
--------------------
ประกาศเกี่ยวกับลิขสิทธิ์
ข้อความภายในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารเภสัชกรรมคลินิกทั้งหมด รวมถึงรูปภาพประกอบ ตาราง เป็นลิขสิทธิ์ของกองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ ชมรมเภสัชกรโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข
ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับกองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และบุคลากรในกองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง ตลอดจนความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความเป็นของผู้เขียน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการ
การประเมินบทความ (Peer Review Process)
เมื่อบทความได้ยื่นส่งให้วารสารฯ หากกองบรรณาธิการพิจารณาเห็นควรรับไว้พิจารณาตีพิมพ์ กองบรรณาธิการจะดำเนินการจัดส่งบทความเพื่อทำการประเมินให้ผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้อง เพื่อตรวจสอบคุณภาพของบทความว่าอยู่ในระดับที่เหมาะสมที่จะลงตีพิมพ์หรือไม่ และตรวจสอบ วิพากษ์ วิจารณ์ ความถูกต้อง เหมาะสมทางวิชาการ โดยผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับบทความจำนวนอย่างน้อย 2 ท่านต่อบทความก่อนลงตีพิมพ์ และเป็นการประเมินแบบปกปิดสองทาง (Double blinded review) คือ การปกปิดชื่อเจ้าของบทความแก่ผู้ทรงคุณวุฒิ และเจ้าของบทความไม่ทราบชื่อของผู้ทรงคุณวุฒิ
เมื่อบทความได้รับการทบทวน ประเมิน วิจารณ์ จากผู้ทรงคุณวุฒิ และมีความเห็นอย่างไร กองบรรณาธิการจะ ดำเนินการดังต่อไปนี้
- กรณีมีความเห็นให้ผู้เขียนแก้ไขบทความ (Revision Require) กองบรรณาธิการจะจัดส่งผลการประเมินรวมถึงคำแนะนำจากบรรณาธิการให้ผู้เขียนแก้ไขบทความ และเมื่อแก้ไขเสร็จแล้วให้ส่งกลับคืนมายังบรรณาธิการ และพิจารณาประเมินใหม่อีกครั้งโดยอาจส่งให้ผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบผลการแก้ไข หรือ บรรณาธิการตรวจสอบด้วยตนเอง ซึ่งหากต้องมีการแก้ไขในรอบที่สอง (round 2) ก็จะดำเนินการส่งกลับไปยังผู้เขียนให้แก้ไขและตรวจสอบผลการแก้ไข จนกว่าจะมีเนื้อหาบทความสมบูรณ์
- กรณีมีความเห็นให้ ปฏิเสธการรับตีพิมพ์ (Decline Submission) กองบรรณาธิการจะแจ้งผลดังกล่าวให้ผู้เขียนรับทราบ พร้อมทั้งเหตุผลของการปฏิเสธการรับตีพิมพ์
- กรณีมีความเห็นให้ ตอบรับการตีพิมพ์ (Accept Submission) กองบรรณาธิการจะแจ้งผู้เขียนให้ทราบ และดำเนินการส่งไฟล์บทความเข้าสู่ขั้นตอนการพิสูจน์อักษร และการจัดเอกสารตามรูปแบบบทความของวารสารก่อนนำไปเผยแพร่โดยฝ่ายจัดการวารสาร
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
Copyright (c) 2021 Health Administration Division, Office of the Permanent Secretary, Ministry of Public Health and The Society of Hospital Pharmacist, Ministry of Public Health
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความภายในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารเภสัชกรรมคลินิกทั้งหมด รวมถึงรูปภาพประกอบ ตาราง เป็นลิขสิทธิ์ของกองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ ชมรมเภสัชกรโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข การนำเนื้อหา ข้อความหรือข้อคิดเห็น รูปภาพ ตาราง ของบทความไปจัดพิมพ์เผยแพร่ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ต้องได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการวารสารเภสัชกรรมคลินิกอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร
กองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ ชมรมเภสัชกรโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข อนุญาตให้สามารถนำไฟล์บทความไปใช้ประโยชน์และเผยแพร่ต่อได้ โดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอน (Creative Commons License: CC) โดย ต้องแสดงที่มาจากวารสาร – ไม่ใช้เพื่อการค้า – ห้ามแก้ไขดัดแปลง, Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)
ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับกองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ ชมรมเภสัชกรโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข และบุคลากรในกองฯ หรือ ชมรมฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง ตลอดจนความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความเป็นของผู้เขียน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการ