Author Guideline - คำแนะนำผู้เขียน

บทคัดย่อ

การเตรียมต้นฉบับ

  1. พิมพ์ขนาดกระดาษ A4 ด้วย Microsoft Word ใช้ font “TH Sarabun New” ขนาด 16 pt และพิมพ์เป็นคอลัมน์เดียว
  2. ต้นฉบับต้องไม่เคยตีพิมพ์หรือเผยแพร่ที่ใดมาก่อนและไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น จัดพิมพ์ในรูปแบบตามที่กำหนด หากไม่ถูกต้องต้นฉบับจะถูกส่งคืนผู้แต่งหลักเพื่อแก้ไข หลังจากแก้ไขแล้วบทความนั้นจึงจะเข้าสู่กระบวนการทบทวนและประเมินคุณภาพ (peer review) โดยผู้ทรงคุณวุฒิ
  3. ชื่อผู้แต่ง ให้ใส่ชื่อและนามสกุล อักษรย่อคุณวุฒิ (ปริญญาตรี และสูงกว่า) สังกัด และ e-mail ของผู้แต่งทุกคนเป็นภาษไทยและภาษาอังกฤษ พร้อมทั้งระบุชื่อผู้เขียนหลัก (corresponding author)
  4. ชื่อเรื่อง ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ มีความยาวไม่เกิน 150 ตัวอักษร
  5. บทความ ต้องมีบทคัดย่อ และ abstract ไม่เกิน 300 คำ พร้อมคำสำคัญ และ keywords ไม่เกิน 5 คำ
  6. ภาษาที่ใช้ในบทความ ใช้ภาษาไทย
  7. กรณีนิพนธ์ต้นฉบับ ต้องระบุในต้นฉบับด้วยว่าได้ผ่านการพิจารณาและได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการพิจารณาจริยธรรมการวิจัย (Ethic Committee) ให้ดำเนินการวิจัยได้ พร้อมระบุเลขที่ของหนังสือรับรองที่ได้รับอนุญาตนั้น
  8. คำย่อและคำศัพท์ทางวิทยาศาสตร์ที่ใช้ในบทความ ให้ใช้คำย่อที่เป็นสากล และต้องใส่คำเต็มไว้ครั้งแรกก่อน ส่วนคำศัพท์ทางวิทยาศาสตร์ให้ใช้ตามที่บัญญัติโดยสำนักงานราชบัณฑิตยสภา ชื่อวิทยาศาสตร์ของเชื้อจุลินทรีย์และพืช ให้ใช้ตัวเอน
  9. บทความทุกประเภทรวมทั้งนิพนธ์ต้นฉบับที่ได้รับทุนสนับสนุน ให้ระบุแหล่งเงินทุนไว้ด้วย และผู้นิพนธ์ต้องเปิดเผยว่ามีผลประโยชน์ทับซ้อนหรือไม่
  10. รูปภาพ ตาราง ไดอะแกรม ให้เขียนขึ้นเอง หากไม่ได้เขียนขึ้นเอง ให้อ้างอิง
  11. เอกสารอ้างอิง ให้เขียนเรียงลำดับด้วยเลขอารบิกตามที่อ้างอิงในเนื้อเรื่อง และการอ้างอิงในเนื้อเรื่องให้ใช้เลขอารบิกรูปแบบอักษรตัวยก (superscript)

การเขียนเอกสารอ้างอิง
แนวทางการเขียนเอกสารอ้างอิงใช้ระบบ Vancouver Style โดยเรียงลำดับเอกสารตามลำดับเลขที่มีการอ้างถึงตามเนื้อหาในบทความ ซึ่งหมายเลขที่อ้างถึงในเนื้อหาเรื่องนั้นต้องตรงกับหมายเลขที่มีการกำกับไว้ในส่วนเอกสารอ้างอิงด้วย โดยเรียงลำดับจากหมายเลข 1 ไปถึงเลขสุดท้ายโดยพิมพ์เป็นเลขอารบิกรูปแบบตัวยก (superscript) กรณีอ้างอิงเอกสารหลายรายการในเนื้อหาเดียวกันและรายการอ้างอิงต่อเนื่องกันให้ใช้ hyphen (-) ระหว่างตัวเลข เช่น 1-3 แต่หากรายการอ้างอิงไม่ต่อเนื่องให้ใช้ comma (,) ระหว่างตัวเลข เช่น 1-3,5 รายละเอียดการเขียนเอกสารอ้างอิงแบบ Vancouver Style สามารถอ่านดูได้ที่ https://thaidj.org/index.php/TJCP/issue/view/878

ขอบเขตสาขาวิชา (Scope)
วารสารเภสัชกรรมคลินิกยินดีรับลงพิมพ์บทความวิชาการด้านเภสัชกรรมคลินิก การบริบาลทางเภสัชกรรม เภสัชกรรมเทคโนโลยี่ การบริหารเภสัชกิจ เภสัชสาธารณสุข การคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพ นโยบายด้านยาและสุขภาพ การประยุกต์ใช้ศาสตร์ทางสังคมและการบริหารในการปฏิบัติงานเภสัชกรรม และสาขาที่เกี่ยวข้องที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนางานด้านเภสัชกรรมคลินิก ประเภทบทความได้แก่ บทความวิจัย รายงานผู้ป่วย บทความปริทัศน์ บทความพิเศษ เภสัชสนเทศ บทความที่ส่งมาตีพิมพ์ต้องไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารฉบับอื่น ๆ มาก่อน ยกเว้นทางกองบรรณาธิการเห็นว่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่าน และสนับสนุนให้บทความเป็นภาษาไทย

บทความวิจัย (Research Article)
เป็นบทความผลงานวิจัย หรือ นวัตกรรม ที่ดำเนินการอย่างมีแบบแผน และได้รับการรับรองจริยธรรมการวิจัยแล้วโดยระบุเลขที่ของหนังสือรับรองที่ได้รับอนุญาตนั้น ความยาวทั้งบทความประมาณ 12 หน้ากระดาษ A4

รูปแบบของบทความประกอบด้วย:-

ชื่อเรื่อง: (ภาษาไทย และ ภาษาอังกฤษ) ชื่อเรื่องควรมีความยาวไม่เกิน 150 ตัวอักษร

ชื่อผู้เขียน: (ภาษาไทย และ ภาษาอังกฤษ) ใส่ชื่อและนามสกุล อักษรย่อคุณวุฒิ (ปริญญาตรี และสูงกว่า) สังกัด และ e-mail ของผู้เขียนทุกคน พร้อมทั้งระบุชื่อผู้เขียนหลัก (corresponding author)

บทคัดย่อ: (ภาษาไทย และ ภาษาอังกฤษ) ความยาวไม่เกิน 300 คำ พร้อมคำสำคัญ (keywords) ไม่เกิน 5 คำ ในบทคัดย่อแสดงหัวข้อย่อย ได้แก่

ความเป็นมา (Background)

วัตถุประสงค์ (Objectives)

วิธีวิจัย (Method)

ผลการวิจัย (Results)

สรุปผล (Conclusion)

เนื้อเรื่อง: ประกอบด้วยหัวข้อย่อย ได้แก่

บทนำ (Introduction) เหตุผลที่ทำการศึกษา

วัตถุประสงค์ (Objectives)

วัสดุ (หรือผู้ป่วย) และวิธีการศึกษา/วิจัย (Materials and Methods) พร้อมทั้งระบุว่าได้ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัย (Ethic Committee)

ผลการศึกษา/วิจัย (Results)

วิจารณ์ผล/อภิปรายผล (Discussion)

สรุปผลการวิจัย (Conclusion)

ข้อเสนอแนะ (ถ้ามี) (Suggestion)

กิตติกรรมประกาศ (Acknowledgement): หากได้รับทุนสนับสนุนให้เปิดเผยชื่อทุน พร้อมทั้งเปิดเผยว่าผู้นิพนธ์มีผลประโยชน์ทับซ้อนหรือไม่

เอกสารอ้างอิง (References):

--------------------

รายงานผู้ป่วย (Case Report)
เป็นบทความที่เขียนในรูปแบบรายงานผู้ป่วยที่เภสัชกรพบการเกิดปัญหาที่เกี่ยวกับยา เขียนเป็นภาษาไทย ยกเว้นชื่อยาและศัพท์เทคนิค ใช้ภาษาอังกฤษได้

รูปแบบของบทความประกอบด้วย:-

ชื่อเรื่อง: (ภาษาไทย และ ภาษาอังกฤษ) ชื่อเรื่องควรมีความยาวไม่เกิน 150 ตัวอักษร

ชื่อผู้เขียน: (ภาษาไทย และ ภาษาอังกฤษ) ใส่ชื่อและนามสกุล อักษรย่อคุณวุฒิ (ปริญญาตรี และสูงกว่า) สังกัด และ e-mail ของผู้เขียนทุกคน พร้อมทั้งระบุชื่อผู้เขียนหลัก (corresponding author)

บทคัดย่อ: : (ภาษาไทย และ ภาษาอังกฤษ) ความยาวไม่เกิน 300 คำ พร้อมคำสำคัญ (keywords) ไม่เกิน 5 คำ

บทนำ: ความยาวไม่เกิน 1 หน้ากระดาษ A4 แสดงเนื้อหาอย่างย่อของยา ประกอบด้วย เภสัชวิทยาของยา กลไกการออกฤทธิ์ การใช้ยา และอาการข้างเคียง

เนื้อเรื่อง: ประกอบด้วย

ประวัติทั่วไปของผู้ป่วย ประวัติความเจ็บป่วย และประวัติการใช้ยา

อาการสำคัญ

ผลการตรวจร่างกาย

ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ

ยาที่ได้รับก่อนเข้าโรงพยาบาล

การรักษาที่ได้รับในโรงพยาบาล

อภิปราย: แสดงการวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดกับผู้ป่วย สาเหตุหรือกลไกการเกิดปัญหานั้น การคัดเลือกการรักษา

ข้อคิดเห็น: การวิเคราะห์และสังเคราะห์โดยผู้เขียน พร้อมเหตุผลประกอบ

บทสรุป: ผู้เขียนสรุปและให้ข้อเสนอแนะเพื่อผู้อ่านนำไปใช้ประโยชน์

เอกสารอ้างอิง:

--------------------

บทความปริทัศน์ (Review Article)

เป็นบทความที่ให้ความรู้ใหม่หรือเรื่องที่น่าสนใจ ที่ผู้อ่านนำไปประยุกต์ได้ประกอบด้วย

ชื่อเรื่อง: (ภาษาไทย และ ภาษาอังกฤษ) ชื่อเรื่องควรมีความยาวไม่เกิน 150 ตัวอักษร

ชื่อผู้เขียน: (ภาษาไทย และ ภาษาอังกฤษ) ใส่ชื่อและนามสกุล อักษรย่อคุณวุฒิ (ปริญญาตรี และสูงกว่า) สังกัด และ e-mail ของผู้เขียนทุกคน พร้อมทั้งระบุชื่อผู้เขียนหลัก (corresponding author)

บทคัดย่อ: (ภาษาไทย และ ภาษาอังกฤษ) ความยาวไม่เกิน 300 คำ พร้อมคำสำคัญ (keywords) ไม่เกิน 5 คำ

บทนำ: ความยาวไม่เกิน 1 หน้ากระดาษ A4

เนื้อเรื่อง: ความรู้เกี่ยวเรื่องที่นำมาเขียน

อภิปราย:

เอกสารอ้างอิง:

--------------------

บทความพิเศษ (Special Article)

เป็นบทความนำหรือบทวิจารณ์ ประกอบด้วย

ชื่อเรื่อง: (ภาษาไทย และ ภาษาอังกฤษ) ชื่อเรื่องควรมีความยาวไม่เกิน 150 ตัวอักษร

ชื่อผู้เขียน: (ภาษาไทย และ ภาษาอังกฤษ) ใส่ชื่อและนามสกุล อักษรย่อคุณวุฒิ (ปริญญาตรี และสูงกว่า) สังกัด และ e-mail ของผู้เขียนทุกคน พร้อมทั้งระบุชื่อผู้เขียนหลัก (corresponding author)

บทคัดย่อ: (ภาษาไทย และ ภาษาอังกฤษ)ความยาวไม่เกิน 300 คำ พร้อมคำสำคัญ (keywords) ไม่เกิน 5 คำ

บทนำ: ความยาวไม่เกิน 1 หน้ากระดาษ A4

เนื้อเรื่อง: ความรู้เกี่ยวเรื่องที่นำมาเขียน

บทสรุป:

เอกสารอ้างอิง:

--------------------

เภสัชสนเทศ (Drug Information)

เป็นบทความข้อมูลด้านยา คำถาม-คำตอบ ของการสอบถามปัญหาด้านยาที่น่าสนใจพร้อมการสรุปเนื้อหา ประกอบด้วย

ชื่อเรื่อง: (ภาษาไทย และ ภาษาอังกฤษ) ชื่อเรื่องควรมีความยาวไม่เกิน 150 ตัวอักษร

ชื่อผู้เขียน: (ภาษาไทย และ ภาษาอังกฤษ) ใส่ชื่อและนามสกุล อักษรย่อคุณวุฒิ (ปริญญาตรี และสูงกว่า) สังกัด และ e-mail ของผู้เขียนทุกคน พร้อมทั้งระบุชื่อผู้เขียนหลัก (corresponding author)

คำถาม:

คำตอบ:

บทสรุป:

เอกสารอ้างอิง:

--------------------

ประกาศเกี่ยวกับลิขสิทธิ์

ข้อความภายในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารเภสัชกรรมคลินิกทั้งหมด รวมถึงรูปภาพประกอบ ตาราง เป็นลิขสิทธิ์ของกองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ ชมรมเภสัชกรโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข

ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับกองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และบุคลากรในกองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง ตลอดจนความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความเป็นของผู้เขียน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการ

การประเมินบทความ (Peer Review Process)

เมื่อบทความได้ยื่นส่งให้วารสารฯ หากกองบรรณาธิการพิจารณาเห็นควรรับไว้พิจารณาตีพิมพ์ กองบรรณาธิการจะดำเนินการจัดส่งบทความเพื่อทำการประเมินให้ผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้อง เพื่อตรวจสอบคุณภาพของบทความว่าอยู่ในระดับที่เหมาะสมที่จะลงตีพิมพ์หรือไม่ และตรวจสอบ วิพากษ์ วิจารณ์ ความถูกต้อง เหมาะสมทางวิชาการ โดยผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับบทความจำนวนอย่างน้อย 2 ท่านต่อบทความก่อนลงตีพิมพ์ และเป็นการประเมินแบบปกปิดสองทาง (Double blinded review) คือ การปกปิดชื่อเจ้าของบทความแก่ผู้ทรงคุณวุฒิ และเจ้าของบทความไม่ทราบชื่อของผู้ทรงคุณวุฒิ

เมื่อบทความได้รับการทบทวน ประเมิน วิจารณ์ จากผู้ทรงคุณวุฒิ และมีความเห็นอย่างไร กองบรรณาธิการจะ ดำเนินการดังต่อไปนี้

- กรณีมีความเห็นให้ผู้เขียนแก้ไขบทความ (Revision Require) กองบรรณาธิการจะจัดส่งผลการประเมินรวมถึงคำแนะนำจากบรรณาธิการให้ผู้เขียนแก้ไขบทความ และเมื่อแก้ไขเสร็จแล้วให้ส่งกลับคืนมายังบรรณาธิการ และพิจารณาประเมินใหม่อีกครั้งโดยอาจส่งให้ผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบผลการแก้ไข หรือ บรรณาธิการตรวจสอบด้วยตนเอง ซึ่งหากต้องมีการแก้ไขในรอบที่สอง (round 2) ก็จะดำเนินการส่งกลับไปยังผู้เขียนให้แก้ไขและตรวจสอบผลการแก้ไข จนกว่าจะมีเนื้อหาบทความสมบูรณ์

- กรณีมีความเห็นให้ ปฏิเสธการรับตีพิมพ์ (Decline Submission) กองบรรณาธิการจะแจ้งผลดังกล่าวให้ผู้เขียนรับทราบ พร้อมทั้งเหตุผลของการปฏิเสธการรับตีพิมพ์

- กรณีมีความเห็นให้ ตอบรับการตีพิมพ์ (Accept Submission) กองบรรณาธิการจะแจ้งผู้เขียนให้ทราบ และดำเนินการส่งไฟล์บทความเข้าสู่ขั้นตอนการพิสูจน์อักษร และการจัดเอกสารตามรูปแบบบทความของวารสารก่อนนำไปเผยแพร่โดยฝ่ายจัดการวารสาร

เผยแพร่แล้ว

2021-10-27

ฉบับ

บท

บทความพิเศษ