การประหยัดต้นทุนของการปรับเปลี่ยนแนวทางการฉีดอิมมูโนโกลบูลินโรคพิษสุนัขบ้า

ผู้แต่ง

  • วาทินี บุญญรัตน์ โรงพยาบาลหนองบัวลำภู

คำสำคัญ:

โรคพิษสุนัขบ้า, อิมมูโนโกลบูลิน, แนวทาง, ต้นทุน, RIG

บทคัดย่อ

ความเป็นมา: แนวทางการฉีดอิมมูโนโกลบูลินโรคพิษสุนัขบ้า (rabies immunoglobulin, RIG) ก่อนปี 2561 ให้ฉีดยาเข้าในบาดแผล และรอบ ๆ บาดแผลให้มากที่สุด ยาที่เหลือให้ฉีดทางกล้ามเนื้อ ต่อมาปี 2561 องค์การอนามัยโลก และกระทรวงสาธารณสุขไทยได้ปรับเปลี่ยนแนวทางการฉีด RIG โดยให้ฉีดยาเข้าในบาดแผล และรอบ ๆ บาดแผลให้มากที่สุด ขนาดสูงสุดไม่มากกว่าที่คำนวณตามน้ำหนัก ยกเลิกการฉีดยาที่เหลือเข้ากล้ามเนื้อ ส่งผลให้ขนาดและปริมาตรยาที่ฉีดตามแนวทางปัจจุบันจะแปรตามขนาดและจำนวนของบาดแผล จากเดิมขนาดและปริมาตรยาจะคำนวณตามน้ำหนักตัวของผู้ป่วย
วัตถุประสงค์: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบต้นทุนของการฉีด RIG ตามแนวทางเดิมเทียบกับแนวทางปัจจุบัน โดยพิจารณาจากปริมาตรยาและต้นทุนยา
วิธีการวิจัย: ศึกษาข้อมูลย้อนหลังของผู้ป่วยสัมผัสโรคพิษสุนัขบ้าที่ได้รับ RIG และเข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยนอกในปีงบประมาณ 2563 ผู้ป่วยเข้าร่วมการศึกษา 821 ราย เมื่อเปรียบเทียบการใช้ RIG ระหว่างแนวทางเดิมและแนวทางปัจจุบัน
ผลการวิจัย: พบว่า ปริมาตรการใช้ RIG ตามแนวทางเดิมและแนวทางปัจจุบัน เท่ากับ 8,321.5 ml และ 1,873.1 ml ตามลำดับ ปริมาตรเฉลี่ยต่อรายลดลงจาก 10.1 ml เหลือ 2.3 ml ซึ่งลดลงร้อยละ 77.5 ตามแนวทางเดิมต้นทุน RIG เท่ากับ 998,268.8 บาท แต่เมื่อใช้ตามแนวทางปัจจุบันต้นทุน RIG เหลือเพียง 236,252.4 บาท ต้นทุนต่อรายลดลงจาก 1,215.9 บาทเหลือ 287.7 บาท ซึ่งประหยัดได้ร้อยละ 76.3 พบว่าค่าเฉลี่ยปริมาตร RIG และค่าเฉลี่ยต้นทุนตามแนวทางปัจจุบันลดลงแตกต่างจากแนวทางเดิมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.01) พบรายงานอาการไม่พึงประสงค์แบบไม่รุนแรง 10 ราย (ร้อยละ 1.2) ไม่พบรายงาน anaphylaxis
สรุปผล: ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าการปรับเปลี่ยนแนวทางการฉีด RIG เป็นแนวทางปัจจุบันสามารถลดปริมาตรยาและต้นทุนยาลงได้อย่างชัดเจน

ประวัติผู้แต่ง

วาทินี บุญญรัตน์ , โรงพยาบาลหนองบัวลำภู

ภ.ม.

เอกสารอ้างอิง

พักต์เพ็ญ สิริคุตต์. โรคพิษสุนัขบ้าในประเทศไทย [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 10 ตุลาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://www.pidst.or.th/A659.html

ชาญเกียรติ์ เพียรชนะ. แนวทางการป้องกันและการดูแลรักษาผู้ที่สัมผัสโรคพิษสุนัขบ้า [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 10 มกราคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://ccpe.pharmacycouncil.org/index.php?option=article_detail&subpage=article_detail&id=929

สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสา–ธารณสุข. Rabies ข้อมูลย้อนหลัง สรุปสถานการณ์รายปี. [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 5 มกราคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: http://www.boe.moph.go.th/boedb/surdata/disease.php?dcontent=old&ds=42

กรมควบคุมโรค สำนักโรคติดต่อทั่วไป. แนวทางการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคพิษสุนัขบ้า [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2560 [เข้าถึงเมื่อ 2 มกราคม 2564]. 266. เข้าถึงได้จาก: http://e-lib.ddc.moph.go.th/pdf/material_744/material_744.pdf

กรมควบคุมโรค สำนักโรคติดต่อทั่วไป. แนวทางเวชปฏิบัติโรคพิษสุนัขบ้าและคำถามที่พบบ่อย [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: กลุ่มโรติดต่อระหว่างสัตว์และคน สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2559 [เข้าถึงเมื่อ 14 กันยายน 2563]. 90. เข้าถึงได้จาก: http://r36.ddc.moph.go.th/r36/uploads/document/584adb73e3d0f.pdf

Bharti OK, Madhusudana SN, Gaunta PL, Belludi AY. Local infiltration of rabies immunoglobulins without systemic intramuscular administration: An alternative cost effective approach for passive immunization against rabies. Hum Vaccin Immunother 2016;12(3):837-42.

Bharti OK, Madhusudana SN, Wilde H. Injecting rabies immunoglobulin (RIG) into wounds only: A significant saving of lives and costly RIG. Hum Vaccin Immunother 2017;13(4):762-5.

Bharti OK, Thakur B, Rao R. Wound-only injection of rabies immunoglobulin (RIG) saves lives and costs less than a dollar per patient by “pooling strategy”. Vaccine 2019;37(Suppl 1):A128-31.

Ravish HS, Kumari N, Ramya MP, Surendran J. Safety of rabies immunoglobulin (RIG)/rabies monoclonal antibody (RMAb) for post-exposure prophylaxis in patients with potential rabies exposure. APCRI Journal [Internet]. 2019 [cited 2021 Jan 2];21(1):22-27. Available from: http://apcrijournal.com/MainPageArticles/VOL.%20XXI%20ISSUE%20I-Article_4.pdf

World Health Organization. Frequently asked questions about rabies for clinicians [Internet]. 2018 [cited 2020 Nov 2]. Available from: https://www.who.int/rabies/Rabies_Clinicians_FAQs_21Sep2018.pdf

Behera TR, Satapathy DM, Sahu T, Pratap AK. Safety of equine rabies immunoglobulin injection into fingers and toes. Asian Biomedicine [Internet]. 2012 [cited 2020 Oct 17];6(3):429-432. Available from: https://sciendo.com/pdf/10.5372/1905-7415.0603.139

World Health Organization. WHO expert consultation on rabies, third report [Internet]. Geneva: World Health Organization; 2018 [cited 2020 Oct 10]. Available from: https://apps.who.int/iris/bitstream/handle/10665/272364/9789241210218-eng.pdf?sequence =1&isAllowed=y

Hwang GS, Rizk E, Bui LN, Iso T, Sartain EI, Tran AT, Swan JT. Adherence to guideline recommendations for human rabies immune globulin patient selection, dosing, timing, and anatomical site of administration in rabies postexposure prophylaxis. Hum Vaccin Immunother. 2020;16(1):51-60. doi: 10.1080/21645515.2019.1632680.

กระทรวงสาธารณสุข กรมควบคุมโรค สำนักโรคติดต่อทั่วไป. การปรับปรุงแนวทางเวชปฏิบัติการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า. [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 20 กันยายน 2563]. เข้าถึงได้จาก: http://r36.ddc.moph.go.th/r36/content/view/6/129/

Schreuder I, Pijper CD, Kessel RV, Visser L, Kerkhof HVD. Abandon of intramuscular administration of rabies immunoglobulin for post-exposure prophylaxis in the revised guidelines in the Netherlands in 2018: cost and volume savings. Euro Surveill 2020;25(38):1-5.

Agarwal A, Kumar P, Mathur SB, Khan AM. Estimating the volume of equine rabies immunoglobulin (eRIG) required for local infiltration in soft tissue animal bites in children using a wound size-based approach. J Trop Pediatr [Internet]. 2021 [cited 2021 Oct 10];67(4). Doi: 10.1093/tropej/fmab082.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-12-13

บทความที่มีผู้อ่านมากที่สุดจากผู้แต่งเรื่องนี้