การประเมินประสิทธิผลของฐานข้อมูลออนไลน์ที่ใช้ในคลินิกกัญชาทางการแพทย์: กรณีศึกษาการใช้น้ำมันกัญชาหยอดใต้ลิ้นชนิด THC1.7% ในการรักษาภาวะปวดจากระบบประสาทที่รักษาด้วยวิธีอื่น ๆ แล้วไม่ได้ผล

ผู้แต่ง

  • ผกากรอง ขวัญข้าว กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร

คำสำคัญ:

คลินิกกัญชาทางการแพทย์, ฐานข้อมูลออนไลน์, น้ำมันกัญชาหยอดใต้ลิ้น, ปวดจากระบบประสาท

บทคัดย่อ

ความเป็นมา โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศรได้พัฒนาฐานข้อมูลออนไลน์ที่ใช้ในคลินิกกัญชาทางการแพทย์ เพื่อใช้ติดตามผลการรักษาของยากัญชาซึ่งยังมีข้อมูลประสิทธิผลและความปลอดภัยไม่เพียงพอ

วัตถุประสงค์ เพื่อประเมินประสิทธิผลของฐานข้อมูล ผลการรักษาและความปลอดภัยในการรักษาด้วยน้ำมันกัญชา ชนิด THC 1.7%

วิธีการศึกษา ใช้ข้อมูลจากฐานข้อมูลออนไลน์ที่พัฒนาขึ้น โดยคัดเลือกผู้ป่วยที่มีภาวะปวดจากระบบประสาทที่รักษาด้วยวิธีอื่นๆ แล้วไม่ได้ผล ที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2562 ถึงมีนาคม 2563 นำข้อมูลมาประเมินใน 3 ด้าน ได้แก่ ความครบถ้วน ความสอดคล้องของข้อมูล และความพอเพียงของตัวแปร รวมถึงประเมินผลของยาในการลดระดับความปวดร้อยละ 30.00 และ 50.00 และความปลอดภัยที่แสดงด้วยอาการไม่พึงประสงค์

ผลการวิจัย จากข้อมูลผู้ป่วย 26 ราย พบว่า มี 4 ราย (ร้อยละ 15.38) ที่ข้อมูลไม่ครบ และ 7 ราย (ร้อยละ 26.92) ที่ข้อมูลไม่สอดคล้องกันในแต่ละตัวแปร ในส่วนของความพอเพียงของตัวแปรนั้นต้องเพิ่มตัวแปรผลลัพธ์การรักษาอีก 2 ตัวแปร ร้อยละผู้ป่วยที่มีระดับความปวดลดลงอย่างน้อยร้อยละ 30.00 และ 50.00 สูงสุดเท่ากับ 34.62 และ 18.75 ตามลำดับ พบอาการไม่พึงประสงค์ 9 เหตุการณ์ (ร้อยละ 34.62) และเป็นอาการไม่พึงประสงค์ที่ทำให้ต้องหยุดยา 2 ราย (ร้อยละ 7.69)

สรุปผล ฐานข้อมูลยังต้องปรับปรุงการบันทึกข้อมูลให้มีความครบถ้วน สอดคล้องและเพิ่มตัวแปรให้เพียงพอที่จะวัดผลการรักษาได้ ยากัญชาหยอดใต้ลิ้น ชนิด THC 1.7% มีผลบรรเทาอาการปวดในผู้ป่วยบางราย และพบรายงานอาการไม่พึงประสงค์ที่ทำให้ต้องหยุดยาในผู้ป่วย 2 ราย

ประวัติผู้แต่ง

ผกากรอง ขวัญข้าว, กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร

ปร.ด.

เอกสารอ้างอิง

กระทรวงสาธารณสุข. ประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่อง กำหนดตำรับยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 ที่มีกัญชาปรุงผสมอยู่ที่ให้เสพเพื่อการรักษาโรคหรือการศึกษาวิจัยได้ พ.ศ. 2564. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 138 ตอนพิเศษ 35 ง (ลงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2564).

กระทรวงสาธารณสุข. ประกาศคณะกรรมการควบคุมยาเสพติดให้โทษเรื่อง การดำเนินการผลิตตำรับยาที่มีกัญชาปรุงผสมอยู่ที่ผลิตเพื่อใช้ในรูปแบบพิเศษสาหรับการเข้าถึงยา พ.ศ. 2564. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 138 ตอนพิเศษ 291 (ลงวันที่ 26 พฤศจิกายน 2564).

Sapphire Medical Foundation. UK Medical Cannabis Registry [Internet]. 2020 [cited 2022 Jan 15]. Avaialble from: https://www.ukmedicalcannabisregistry.com/

กระทรวงสาธารณสุข. กรมการแพทย์. คำแนะนำการใช้กัญชาทางการแพทย์ Guidance on Cannabis for Medical Use ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 3/2563. นนทบุรี: กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2563.

Mücke M, Phillips T, Radbruch L, Petzke F, Häuser W. Cannabis-based medicines for chronic neuropathic pain in adults. Cochrane Database Syst Rev. 2018;3(3):CD012182. doi: 10.1002/14651858.CD012182.pub2.

Lee G, Grovey B, Furnish T, Wallace M. Medical cannabis for neuropathic pain. Curr Pain Headache Rep. 2018;22(1):8.

สมาคมการศึกษาเรื่องความปวดแห่งประเทศไทย. แนวเวชปฏิบัติภาวะปวดเหตุพยาธิสภาพประสาท (Clinical Practice Guideline for Neuropathic Pain). กรุงเทพฯ: สไตล์ครีเอทีฟเฮ้าส์; 2551.

Gilron I. Methodological issues associated with clinical trials in neuropathic pain. Expert Rev Clin Pharmacol. 2016;9(11):1399-402.

Kremer EF, Block AJ, Gaylor MS. Behavioral approaches to treatment of chronic pain: The inaccuracy of patient self-report measures. Arch Phys Med Rehabil. 1981;62:188-91.

Euasobhon P, Soonthornkes N, Rushatamukayanunt P, Wangnamthip S, Jirachaipitak S, Maneekut N, et al. Psychometric validity and reliability of the Thai version of the neuropathic pain symptom inventory. J Med Assoc Thai 2016;99(5):557-64.

Safakish R, Ko G, Salimpour V, Hendin B, Sophampal I, Loheswaran G, et al. Medical cannabis for the management of pain and quality of life in chronic pain patients: A prospective observational study. Pain Med. 2020;21(11):3073-86. doi: 10.1093/pm/pnaa163.

สุปรียา ทาต่อย. การจัดทำระบบฐานข้อมูลสุขภาวะผู้สูงอายุโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศภูมิศาสตร์บนระบบแผนที่ออนไลน์ [วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรบัณฑิต]. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2559.

Lu C, Papatheodorou SI, Danziger J, Mittleman MA. Marijuana use and renal function among US adults. Am J Med. 2018;131(4):408-14.

Hozumi J, Sumitani M, Matsubayashi Y, Abe Hiroaki, Oshima Y, Chikuda H, et al. Relationship between neuropathic pain and obesity. Pain Res Manag. 2016;2016:2487924. doi: 10.1155/2016/2487924.

Nutt DJ, Phillips LD, Barnes MP, Brander B, Curran HV, Fayaz A, et al. A multicriteria decision analysis comparing pharmacotherapy for chronic neuropathic pain, including cannabinoids and cannabis-based medical products. Cannabis Cannabinoid Res. 2022;7(4):482-500. doi: 10.1089/can.2020.0129.

Safakish R, Yoon SYR, Salimpour V, Hendin B, Gengeswaran N, Ko G. Chronic pain and the short-term effects of medical cannabis. Pract Pain Manag [Internet]. 2020 [cited 2021 Aug 19];20(6). Available from: https://www.practicalpainmanagement.com/treatments/pharmacological/chronic-pain-short-term-effects-medical-cannabis

Schimrigk S, Marziniak M, Neubauer C, Kugler EM, Werner G, Abramov-Sommariva D. Dronabinol is a safe long-term treatment option for neuropathic pain patients. Eur Neurol. 2017;78(5-6):320-9.

Poli P, Crestani F, Salvadori C, Valenti I, Sannino C. Medical cannabis in patients with chronic pain: Effect on pain relief, pain disability, and psychological aspects. A prospective non randomized single arm clinical trial. Clin Ter. 2018;169(3):e102-e107. doi: 10.7417/T.2018.2062.

Turcotte D, Doupe M, Torabi M, Gomori A, Ethans K, Esfahani F, et al. Nabilone as an adjunctive to gabapentin for multiple sclerosis-induced neuropathic pain: A randomized controlled trial. Pain Med. 2015;16(1):149-59.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-09-09

บทความที่มีผู้อ่านมากที่สุดจากผู้แต่งเรื่องนี้