การบริหารการจัดซื้อยาในโรงพยาบาลตะกั่วป่าโดยใช้ ABC-VEN matrix
คำสำคัญ:
ABC analysis, VEN analysis, ABC-VEN matrixบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์มูลค่าและปริมาณยาที่จัดซื้อในปีงบประมาณ 2564 ของโรงพยาบาลตะกั่วป่า ด้วยวิธี ABC-VEN matrix เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา โดยเก็บข้อมูลประมาณและมูลค่ายาที่มีการสั่งซื้อในปีงบประมาณ 2564 นำมาแจกแจงและวิเคราะห์ด้วยวิธี ABC-VEN matrix แล้วนำมาวางแผนกำหนดวิธีการบริหารจัดการในยากลุ่ม AE ซึ่งเป็นยาในบัญชียาหลักแห่งชาติที่มีมูลค่าการจัดซื้อสูง ยากลุ่ม AN เป็นยานอกบัญชียาหลักแห่งชาติที่มีมูลค่าการจัดซื้อสูง ยากลุ่ม AV, BV, CV เป็นยากลุ่ม Vital drugs และยาที่มีผู้จำหน่ายเพียงรายเดียว สถิติที่ใช้คือร้อยละ
ผลการศึกษา พบว่ายากลุ่ม AE มีมูลค่าการจัดซื้อร้อยละ 53.92 ควรมีการทำให้เกิดกลไกการแข่งขันราคาเพื่อลดต้นทุนในการสั่งซื้อ ยากลุ่ม AN มีมูลค่าการจัดซื้อร้อยละ 9.95 เป็นยากลุ่มที่ควรกำหนดเกณฑ์ในการสั่งใช้ และพิจารณาตัดลดจำนวนรายการยาที่ไม่จำเป็นออกจากบัญชียาโรงพยาบาล ยากลุ่ม AV, BV และ CV มีมูลค่าจัดซื้อรวมร้อยละ 8.90 ควรกำหนดให้มีการสำรองยาไว้ในปริมาณที่เหมาะสม สำหรับยาที่มีผู้จำหน่ายเพียงรายเดียวซึ่งเป็นยานอกบัญชียาหลักแห่งชาติ หากมีข้อจำกัดเรื่องงบประมาณ ควรเสนอพิจารณาตัดออกจากบัญชียาโรงพยาบาล และกำหนดเงื่อนไขในการสั่งใช้
การวิเคราะห์มูลค่าการจัดซื้อยาโดยใช้วิธี ABC-VEN matrix ทำให้เห็นลักษณะการกระจายตัวของข้อมูลการจัดซื้อยาเป็นกลุ่มที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการบริหารการจัดซื้อยาและเวชภัณฑ์ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
เอกสารอ้างอิง
วิชัย ก้องเกียรตินคร. การศึกษาการจัดกลุ่มรายการยาในเภสัชตำรับ โรงพยาบาลศรีนครินทร์โดยใช้ ABC-VED matrix. ประสาทวิทยาศาสตร์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2563;15:46-55.
วรศักดิ์ พุฒิวณิชย์. การพัฒนางานคลังเวชภัณฑ์ในโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานีโดยใช้ ABC-VEN matrix. เภสัชกรรมคลินิก 2560;23:55-61.
บรรณสรณ์ เตชะจำเริญสุข, กิติยศ ยศสมบัติ. การประยุกต์ใช้การวิเคราะห์ ABC-VED ในการบริหารคลังยาและเวชภัณฑ์. [อินเตอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: ศูนย์การศึกษาต่อ เนื่องทางเภสัชศาสตร์ สภาเภสัชกรรม; 2561 [เข้าถึงเมื่อ 1 มิถุนายน 2563]. เข้าถึงได้จากhttps://ccpe.pharmacycouncil.org/index.php?option=article_detail& subpage=article_detail&id=477
ธิดา นิงสานนท์, กิตติ พิทักษ์นิตินันท์, มังกร ประพันธ์วัฒนะ, วิมล อนันต์สกุลวัฒน์. ตรงประเด็น เน้นสู่คุณภาพเภสัชกรรมโรงพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: RDP; 2545.
Vrat P. Selective inventory management. In: Vrat P, editor. Materials management: an integrated systems approach. India: Springer; 2014. p. 37-49.
กรมบัญชีกลาง. ระบบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ. [อินเตอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: [เข้าถึงเมื่อ 4 กรกฎาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก https://process3.gprocurement.go.th/egp2procmainWeb/jsp/control.egp2
ธนเพ็ญ พัฒนเสถียรกุล. การบริหารคลังยาโดยใช้ระบบ ABC-VEN matrix ในโรงพยาบาลราชพิพัฒน์. โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ 2556;9:58-67.
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2022 กองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ ชมรมเภสัชกรโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความภายในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารเภสัชกรรมคลินิกทั้งหมด รวมถึงรูปภาพประกอบ ตาราง เป็นลิขสิทธิ์ของกองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ ชมรมเภสัชกรโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข การนำเนื้อหา ข้อความหรือข้อคิดเห็น รูปภาพ ตาราง ของบทความไปจัดพิมพ์เผยแพร่ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ต้องได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการวารสารเภสัชกรรมคลินิกอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร
กองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ ชมรมเภสัชกรโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข อนุญาตให้สามารถนำไฟล์บทความไปใช้ประโยชน์และเผยแพร่ต่อได้ โดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอน (Creative Commons License: CC) โดย ต้องแสดงที่มาจากวารสาร – ไม่ใช้เพื่อการค้า – ห้ามแก้ไขดัดแปลง, Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)
ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับกองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ ชมรมเภสัชกรโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข และบุคลากรในกองฯ หรือ ชมรมฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง ตลอดจนความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความเป็นของผู้เขียน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการ