ผลการดำเนินการการจัดซื้อยาด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์และการประเมินค่าประสิทธิภาพต่อราคา ณ โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา
คำสำคัญ:
จัดซื้อยา, วิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์, การประเมินค่าประสิทธิภาพต่อราคา, พระราชบัญญัติว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560บทคัดย่อ
ความเป็นมา: พระราชบัญญัติว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 กำหนดให้ใช้วิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์เมื่อการซื้อหรือจ้างครั้งหนึ่งมีวงเงินเกิน 500,000 บาท ซึ่งต้องเปิดเผยข้อมูลและดําเนินการอย่างโปร่งใสภายใต้การแข่งขันอย่างเป็นธรรม เพื่อให้การจัดซื้อจัดจ้างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากที่สุด
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาขั้นตอนการดำเนินการจัดซื้อยาด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์รูปแบบแนวทางการกำหนดหลักเกณฑ์การประเมินค่าประสิทธิภาพต่อราคา และมูลค่าการจัดซื้อยาที่ลดลง
วิธีวิจัย: เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา โดยเก็บข้อมูลจากการดำเนินการจัดซื้อยาด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ ที่ใช้เกณฑ์การประเมินค่าประสิทธิภาพต่อราคา ของโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา ในปีงบประมาณ 2562-2565
ผลการวิจัย: ในปีงบประมาณ 2562-2565 โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยาดำเนินการจัดซื้อยาด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ จำนวน 75 รายการยา แต่ละครั้งมีการดำเนินการ13 ขั้นตอน ใช้เวลาเฉลี่ย 50.43 วันทำการ ขั้นตอนที่ใช้เวลามากที่สุด คือ การกำหนดคุณลักษณะเฉพาะของยา และ หลักเกณฑ์การประเมินค่าประสิทธิภาพต่อราคา โดยแบ่งคะแนนค่าประสิทธิภาพเป็น 4 ด้าน ได้แก่ 1) มาตรฐานโรงงานผลิตวัตถุดิบตัวยาสําคัญ 2) มาตรฐานด้านห้องปฏิบัติการ 3) มาตรฐานบรรจุภัณฑ์ 4) มาตรฐานอื่นๆที่สนับสนุนคุณภาพยา มูลค่าจัดซื้อยาตามแผนที่คาดการณ์ไว้ คือ 187,498,547.56บาท ซึ่งภายหลังการดำเนินงาน พบว่าใช้งบประมาณจัดซื้อยาเพียง 167,900,953.40 บาท ทำให้ใช้มูลค่าจัดซื้อยาลดลง 19,597,594.16 บาท (คิดเป็นร้อยละ 10.45)
สรุปผล: การดำเนินการจัดซื้อยาด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ โดยใช้หลักเกณฑ์การประเมินค่าประสิทธิภาพต่อราคา มีขั้นตอนและระยะเวลาดำเนินการมากแต่ทำให้โรงพยาบาลคัดเลือกยาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ถูกต้องตามกฎหมาย และสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายด้านยาได้เป็นจำนวนมาก
เอกสารอ้างอิง
Barracloug A, Clark M. Chapter 18 Managing procurement. In: Embrey M, Ryan M, editors. Managing access to medicines and health technologies. 1st ed. Virginia: 2012. p. 321-47.
สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน). มาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ ฉบับที่ 4. นนทบุรี: สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล; 2560.
อนันต์ชัย อัศวเมฆิน. การคัดเลือกยาเข้าโรงพยาบาลตามวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) และการประเมินค่าประสิทธิภาพต่อราคา (price performance) [อินเตอร์เน็ต]. กรุงเทพมหานคร; 2560 [สืบค้นเมื่อ 8 มิถุนายน 2565]. สืบค้นจาก: https://pharmacy.mahidol.ac.th/knowledge/files/0367.pdf
มังกร ประพันธ์วัฒนะ. ระบบยาเพื่อความปลอดภัย (Safety Medication System). กรุงเทพมหานคร: สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย); 2553.
พระราชบัญญัติ การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560. ราชกิจจานุเบกษาเล่ม 134 ตอนที่ 24 (ลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560). สืบค้นจาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/A/024/13.PDF
จาริณี ขวัญเมือง. ผลการใช้เกณฑ์คุณภาพต่อราคา (price performance) ในการคัดเลือกยาเพื่อจัดซื้อด้วยวิธีเฉพาะเจาะจงโรงพยาบาลกระบี่. วารสารกระบี่เวชสาร. 2563;3:1-18.
คณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัดโรงพยาบาลสงขลานครินทร์. หลักเกณฑ์การประเมินค่าประสิทธิภาพต่อราคา (price performance) สำหรับการคัดเลือกยาชื่อสามัญ โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ ปี 2561 [อินเตอร์เน็ต]. กรุงเทพมหานคร: 2560 [สืบค้นเมื่อ 8 มิถุนายน 2565]. สืบค้นจาก: https://medinfo.psu.ac.th/news/rx_tor.php?store_id=11
กองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. คู่มือ หลักเกณฑ์การจัดตั้งและปรับระดับศักยภาพของหน่วยบริการสุขภาพ (ฉบับปรับปรุง ครั้งที่1). กรุงเทพมหานคร: บริษัท บรอนทูบี พับลิชชิ่ง จํากัด; 2561.
จุไรวรรณ เหล็กกนก. ผลการจัดซื้อยาด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ ณ โรงพยาบาลชุมชนแม่ข่ายพระนครศรีอยุธยา. วารสารเภสัชกรรมโรงพยาบาล. 2562;29(2):203-15.
กนิษฐา พรสวัสดิ์ชัย. แนวทางการเพิ่มประสิทธิผลการจัดซื้อจัดจ้างเวชภัณฑ์ยาโดยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ ในโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์. สวรรค์ประชารักษ์เวชสาร. 2562;16(3):96-102.
นิรุตต์ ประดับญาติ และ ถวิล นิลใบ. ปฏิทรรศน์ของการแข่งขันในอุตสาหกรรมยาของประเทศไทยภายหลังการหมดอายุสิทธิบัตรยาต้นแบบ. การประชุมวิชาการระดับชาติสาขาเศรษฐศาสตร์ปี 2560 “ความผันผวนของเศรษฐกิจโลกต่อความยั่งยืนของอาเซียน”; 25 พฤษภาคม 2560; คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง. กรุงเทพมหานคร: 2560. 61-80.
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2022 กองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ ชมรมเภสัชกรโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความภายในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารเภสัชกรรมคลินิกทั้งหมด รวมถึงรูปภาพประกอบ ตาราง เป็นลิขสิทธิ์ของกองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ ชมรมเภสัชกรโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข การนำเนื้อหา ข้อความหรือข้อคิดเห็น รูปภาพ ตาราง ของบทความไปจัดพิมพ์เผยแพร่ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ต้องได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการวารสารเภสัชกรรมคลินิกอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร
กองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ ชมรมเภสัชกรโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข อนุญาตให้สามารถนำไฟล์บทความไปใช้ประโยชน์และเผยแพร่ต่อได้ โดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอน (Creative Commons License: CC) โดย ต้องแสดงที่มาจากวารสาร – ไม่ใช้เพื่อการค้า – ห้ามแก้ไขดัดแปลง, Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)
ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับกองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ ชมรมเภสัชกรโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข และบุคลากรในกองฯ หรือ ชมรมฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง ตลอดจนความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความเป็นของผู้เขียน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการ