ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วยนอกโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
คำสำคัญ:
ความร่วมมือในการใช้ยา, คลินิกโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง, ปัจจัยบทคัดย่อ
ความเป็นมา: ความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงมีความสำคัญต่อการรักษาโรค
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง และสาเหตุที่ผู้ป่วยไม่รับประทานยา
วิธีการวิจัย: เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์ภาคตัดขวางในผู้ป่วยที่มารับบริการ ณ คลินิกโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลบางสะพาน ระหว่าง เดือนตุลาคม ถึงเดือนธันวาคม 2565 จำนวน 385 ราย โดยใช้แบบบันทึกข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วย แบบทดสอบความรู้เรื่องโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง แบบวัดความร่วมมือในการใช้ยาสำหรับชาวไทยที่ผู้วิจัยดัดแปลงและสร้างขึ้น และแบบสัมภาษณ์สาเหตุที่ผู้ป่วยไม่รับประทานยา วิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติอนุมานในการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน
ผลการวิจัย: ระดับคะแนนความร่วมมือในการใช้ยาเฉลี่ยอยู่ในระดับสูง 34.29+4.89 คะแนน จากคะแนนเต็ม 40 คะแนน ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความร่วมมือในการใช้ยาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ P<0.001 ได้แก่ เพศ อายุ การศึกษา สิทธิการรักษา รายได้ การมีผู้ดูแล ระยะเวลาที่ใช้ยา อาชีพ การไม่รับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ระดับคะแนนความรู้เรื่องโรค ส่วนสถานภาพสมรสและการมีประวัติแพ้ยา P=0.001 และจำนวนโรคประจำตัว P=0.014 สาเหตุที่ผู้ป่วยไม่รับประทานยา พบว่าส่วนใหญ่คือ ความจำไม่ดีหรือลืมรับประทานยา รับประทานยาหลายรายการ ความกังวลเรื่องความเสื่อมของอวัยวะภายใน ความกังวลเรื่องโรคมะเร็งจากสารเคมีในยา สายตาไม่ดีมองฉลากยาไม่ชัดเจน พบ ร้อยละ 17.00, 14.00, 13.00 และ 11.00 ตามลำดับ
สรุปผล: ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความร่วมมือในการใช้ยา ได้แก่ เพศ อายุ การศึกษา สิทธิการรักษา รายได้ การมีผู้ดูแล ระยะเวลาที่ใช้ยา อาชีพ การไม่รับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ระดับคะแนนความรู้เรื่องโรค สถานภาพสมรส การมีประวัติแพ้ยา จำนวนโรคประจำตัว เภสัชกรควรให้ความรู้ที่ถูกต้องแก่ผู้ป่วยที่มีความเข้าใจด้านยาและโรคผิดพลาด ส่งผลให้ผู้ป่วยเพิ่มความร่วมมือในการใช้ยาและส่งผลดีต่อการรักษา
เอกสารอ้างอิง
กรมควบคุมโรค กองโรคไม่ติดต่อ. รายงานสถานการณ์โรค NCDs เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้องปี 2562 [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค; 2563 [สืบค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์2565]. สืบค้นจาก https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/1035820201005073556.pdf
โรงพยาบาลบางสะพาน. งานสารสนเทศ. สถิติผู้ป่วยโรคเรื้อรังปี 2565. ประจวบคีรีขันธ์: งานสารสนเทศ โรงพยาบาลบางสะพาน; กันยายน 2565.
โรงพยาบาลบางสะพาน. กลุ่มงานเภสัชกรรมและคุ้มครองผู้บริโภค งานบริบาลเภสัชกรรม. ข้อมูลการบริบาลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง. ประจวบคีรีขันธ์: กลุ่มงานเภสัชกรรมและคุ้มครองผู้บริโภค โรงพยาบาลบางสะพาน; กันยายน 2565.
พรรณี ไพศาลทักษิน. ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ในการรับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือด การสนับสนุนทางสังคม กับพฤติกรรมการจัดการตนเอง ของผู้ป่วยภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะแบบสั่นพลิ้วที่ได้รับยาต้านการแข็งตัวของเลือด. วารสารการพยาบาล การสาธารณสุข และการศึกษา. 2561;19(2):49-59.
กรมควบคุมโรค สำนักโรคไม่ติดต่อ. แนวปฏิบัติการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค; 2553 [สืบค้นเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2565]. สืบค้นจาก http://www.thaincd.com/document/file/download/knowledge/cardiovascular%20disease.pdf
World Health Organization. Preventing chro–nic diseases: a vital investment: WHO global report [Internet]. Geneva: World Health Organization; 2005 [cited 2022 March 13]. Available from: https://apps.who.int/iris/handle/10665/43314
อัญชลี ชูติธร. พฤติกรรมการเกาะติดยาของกลุ่มผู้ใช้บริการโรคเรื้อรัง. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย. 2556;6(2):25-34.
Thapa B, Pokharel PK, Poudel IS, Sharma SK, Shyangwa PM, Sangraula H, et al. Factors affecting on adherence to the prescribed drugs in diabetic patients visiting a tertiary care centre. J Nobel Med Coll [Internet]. 2013 [cited 2022 Jan 3];2(2):11-7. Available from: https://www.nepjol.info/index.php/JoNMC/article/view/8799
Jankowska-Polanska B, Swiatoniowska-Lonc N, Karniej P, Polanski J, Tanski W, Grochans E. Influential factors in adherence to the therapeutic regime in patients with type 2 diabetes and hypertension. Diabetes Res Clin Pract. 2021;173:108693. doi: 10.1016/j.diabres.2021.108693.
นันทลักษณ์ สถาพรนานนท์. ความไม่ร่วมมือในการใช้ยา. วารสารไทยไภษัชยนิพนธ์. 2555;7(1):1-18.
กมลชนก จงวิไลเกษม, สงวน ลือเกียรติบัณฑิต. การพัฒนาแบบวัดความร่วมมือในการใช้ยาสำหรับคนไทย. วารสารเภสัชกรรมไทย. 2564;13(1):17-30
ศิณาพรรณ หอมรส. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับบริการโรงพยาบาลบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2563.
ชมพูนุท พัฒนจักร. ความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วยสูงอายุโรคเรื้อรังในเขตพื้นที่บริการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลาดพัฒนา อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม. 2563;16(3):13-22
ธนกฤต มงคลชัยภักดิ์, สุธาทิพย์ พิชญไพบูลย์, อลิศรา แสงวิรุณ. ปัจจัยที่มีผลต่อความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วยเบาหวาน ณ โรงพยาบาลตำรวจ. วารสารเภสัชกรรมไทย. 2558;7(1):47-58
ดวงรัตน์ วัฒนกิจไกรเลิศ, วิชชุดา เจริญกิจการ, ปวิตรา จริยสกุลวงศ์. ความร่วมมือในการใช้ยา จากทฤษฎีสู่งานวิจัย. โครงการจัดการความรู้ของภาควิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล[อินเทอร์เน็ต]. 2559 [สืบค้นเมื่อ 8 มี.ค. 2566]. สืบค้นจาก: https://ns.mahidol.ac.th/english/th/departments/MN/th/km/59/รายงานสรุปผล%20KM%20%20ภาควิชาอายุรศาสตร์%2059.pdf
ศิราณี ปัญญามานะรุ่ง. การศึกษาความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วยสูงอายุโรคเบาหวาน ณ คลินิกโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [สืบค้นเมื่อ 10 ก.พ. 2566]. สืบค้นจาก: http://203.157.71.172/academic/web/files/2564/r2r/MA2564-002-02-0000000565-0000000507.pdf
ศศิธร รุ่งสว่าง. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความร่วมมือในการใช้ยาหลายขนานของผู้สูงอายุโรคเรื้อรัง. วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม. 2560;18(35):6-23.
ช่อทิพย์ จันทรา, จินดา ม่วงแก่น. การศึกษาสาเหตุการนำยาเหลือใช้มาคืนของผู้ป่วยสูงอายุโรคเรื้อรังที่มารับบริการ ณ ศูนย์สุขภาพชุมชนร่วมใจ อำเภอวังทอง. ใน: การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 11; ประชุมเมื่อ 17 กรกฎาคม 2563; มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. 2563. หน้า 1957-67
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2023 กองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ ชมรมเภสัชกรโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความภายในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารเภสัชกรรมคลินิกทั้งหมด รวมถึงรูปภาพประกอบ ตาราง เป็นลิขสิทธิ์ของกองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ ชมรมเภสัชกรโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข การนำเนื้อหา ข้อความหรือข้อคิดเห็น รูปภาพ ตาราง ของบทความไปจัดพิมพ์เผยแพร่ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ต้องได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการวารสารเภสัชกรรมคลินิกอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร
กองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ ชมรมเภสัชกรโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข อนุญาตให้สามารถนำไฟล์บทความไปใช้ประโยชน์และเผยแพร่ต่อได้ โดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอน (Creative Commons License: CC) โดย ต้องแสดงที่มาจากวารสาร – ไม่ใช้เพื่อการค้า – ห้ามแก้ไขดัดแปลง, Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)
ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับกองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ ชมรมเภสัชกรโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข และบุคลากรในกองฯ หรือ ชมรมฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง ตลอดจนความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความเป็นของผู้เขียน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการ