การพัฒนาบทบาทของเภสัชกรในการดูแลผู้ป่วยมะเร็งแบบประคับประคองร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพของโรงพยาบาลสระบุรี
คำสำคัญ:
เภสัชกร, ผู้ป่วยแบบประคับประคอง, สหสาขาวิชาชีพบทคัดย่อ
ความเป็นมา การดูแลแบบประคับประคองเป็นการดูแลควบคู่กับการรักษาเน้นเพิ่มคุณภาพชีวิต เป็นการทำงานร่วมกันของทีมสหสาขาวิชาชีพและมีเภสัชกรเป็นส่วนหนึ่งในทีม
วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาบทบาทของเภสัชกรร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพ ในการดูแลผู้ป่วยมะเร็งแบบประคับประคองทั้งผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน
วิธีการวิจัย เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (action research) ดำเนินการเป็น 4 ระยะ ได้แก่ 1. การวางแผน (planning) 2. การดำเนินการ (action) 3. การสังเกตและการเก็บข้อมูล (observing) 4. การสะท้อนผลการปฏิบัติ (reflection) กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายที่เข้ารับการรักษาในคลินิกประคับประคองเป็นครั้งแรกและที่เข้ารักษาในโรงพยาบาล เครื่องมือที่ใช้คือแบบบันทึกการบริบาลทางเภสัชกรรม สมุดบันทึกการรับประทานยากลุ่ม opioids ของผู้ป่วย และแบบสอบถามความร่วมมือในการใช้ยา (MTB-Thai) เก็บข้อมูลไปข้างหน้าตั้งแต่ 3 ตุลาคม 2565 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2566 วิเคราะห์ข้อมูล โดยสถิติเชิงพรรณนา Paired sample t-test และ Wilcoxon signed rank test
ผลการวิจัย หลังจากพัฒนาบทบาทของเภสัชกร พบว่าจากจำนวนประชากรผู้ป่วยมะเร็งแบบประคับประคอง 410 คน มีการใช้ยากลุ่ม opioids เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 42.61 เป็นร้อยละ 87.31 ส่วนกลุ่มตัวอย่างจำนวน 82 คนมีคะแนนความร่วมมือในการใช้ยาโดยใช้ MTB-Thai เพิ่มจาก 18.11 ±1.27 คะแนน เป็น 22.56 ±0.44 คะแนน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <0.001) จำนวนปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยาทุกชนิดลดลงจาก 96 ปัญหา เหลือ 9 ปัญหา ระยะเวลารอคอยการรับมอร์ฟีนชนิดฉีดลดลงจาก 180 นาทีเหลือ 30.25 นาที
สรุปผล: การพัฒนาบทบาทของเภสัชกรในการดูแลผู้ป่วยมะเร็งแบบประคับประคองร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพส่งผลเพิ่มตัวชี้วัดในการใช้ยากลุ่ม opioids เพิ่มความร่วมมือในการใช้ยา และลดจำนวนปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยาทุกชนิดและลดระยะเวลารอคอยการรับมอร์ฟีนฉีด
เอกสารอ้างอิง
World Health Organization. Palliative care: global health observatory 2018 [Internet]. Geneva: WHO; 2018 [cited 2023 Apr 30]. Available from: http://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/palliative-care.
สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. กองยุทธศาสตร์และแผนงาน. สถิติสาธารณสุข พ.ศ. 2564 [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข; 2565 [สืบค้นเมื่อ 5 พ.ค. 2566]. สืบค้นจาก: https://spd.moph.go.th/wp-content/uploads/2022/11/Hstatistic64.pdf
Hamieh NM, Akel R, Anouti B, Traboulsi C, Makki I, Hamieh L, et al. Cancer-related pain: prevalence, severity and management in a tertiary care center in the middle east. Asian Pac J Cancer Prev. 2018;19(3):769-75. doi: 10.22034/APJCP.2018.19.3.769.
ปภัสรา วรรณทอง. เภสัชกรในการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง (Pharmacist in palliative care) [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องทางเภสัชศาสตร์ สภาเภสัชกรรม: 2562 [สืบค้นเมื่อ 30 เม.ย. 2566]. สืบค้นจาก: https://ccpe.pharmacycouncil.org/index.php?option=article_detail&subpage=article_detail&id=618
วราภรณ์ อุ่นจันทึก. การเปรียบเทียบผลลัพธ์ก่อนและหลังการให้บริบาลทางเภสัชกรรมผู้ป่วยประคับประคองในคลินิกประคับประคองผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. 2564;7(1):32-44
Cipolle RJ, Strand LM, Morley PC. Chapter 2. Pharmaceutical care as the professional practice for patient-centered medication management services. In: Cipolle RJ, Strand LM, Morley PC, editors. Pharmaceutical care practice: the patient-centered approach to medication management services, 3e [Internet]. n.p.: McGraw Hill; 2012 [cited 2023 May 1]. Available from: https://accesspharmacy.mhmedical.com/content.aspx?bookid=491§ionid=39674902
Fraser GL, Riker RR. Chapter e26: critical care: pain, agitation, and delirium. In: DiPiro JT, Yee GC, Posey LM, Haines ST, Nolin TD, Ellingrod V, editors. Pharmacotherapy: a pathophysiologic approach, 11e [Internet]. n.p.: McGraw Hill; 2020 [cited 2023 Jun 17]. Available from: https://accesspharmacy.mhmedical.com/content.aspx?bookid=2577§ionid=234136370
สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ ร่วมกับ สมาคมการศึกษาเรื่องความปวดแห่งประเทศไทย. คำแนะนำการจัดการความปวดจากมะเร็ง. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: ธนาเพรส; 2565.
ปรีดี นุกุลสมปรารถนา. จำนวน Sample Size ที่เหมาะกับการทำ Research. ใน: www.popticles.com [อินเทอร์เน็ต]. ม.ป.ท.: popticles.com; 2564 [สืบค้นเมื่อ 30 พ.ค. 2566]. สืบค้นจาก: https://www.popticles.com/marketing/research-sample-size
ทิพย์สุคนธ์ เจริญพันธ์, จันทรรัตน์ สิทธิวรนันท์. การพัฒนาบทบาทเภสัชกรในทีมสหวิชาชีพสำหรับการจัดการอาการปวดด้วยยาในผู้ป่วยโรคมะเร็งระยะลุกลาม อย่างต่อเนื่องจนถึงที่บ้าน โรงพยาบาลหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี. ไทยไภษัชยนิพนธ์. 2022;17(2):1-21.
Sakthong P, Sonsa-Ardjit N, Sukarnjanaset P, Munpan W, Suksanga P. Development and psychometric testing of the medication taking behavior tool in Thai patients. Int J Clin Pharm. 2016;38(2):438-45. doi: 10.1007/s11096-016-0275-8.
ศุภชัย แพงคำไหล, พีร์ วัชรวงษ์ไพบูลย์. การพัฒนาแนวทางส่งเสริมการเข้าถึงยากลุ่มโอปิออยด์ (opioids) แบบสหวิชาชีพที่บ้านสำหรับการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย อำเภอยางสีสุราช จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2021;30(Suppl 1):S76-86.
Birand N, Boşnak AS, Diker Ö, Abdikarim A, Başgut B. The role of the pharmacist in improving medication beliefs and adherence in cancer patients. J Oncol Pharm Pract. 2019;25(8):1916-26. doi: 10.1177/1078155219831377.
กนกวรรณ กิมิเส, อุษณีย์ วนรรฆมณี, สุทธิพร ภัทรชยากุล, ประณีต ส่งวัฒนา, ธนเทพ วณิชยากร, เพลินพิศ ฐานิวัฒนานนท์, และคณะ. พฤติกรรมการใช้ยาของผู้ป่วยสูงอายุโรคความดันโลหิตสูงหรือเบาหวานชนิดที่ 2 ในเทศบาลเมืองคอหงส์: การวิจัยแบบผสมวิธี. วารสารเภสัชกรรมไทย. 2565;14(4):993-1008.
Lacy CF, Armstrong LL, Goldman MP, Lanco LL, editors. Drug information handbook with international trade names index. 17th ed. Hudson: Lexi-comp; 2008-2009. p.1256-7
อาคม มีประเสริฐ. บทเรียนความสำเร็จของเครือข่ายสุขภาพในการเฝ้าระวังติดตามปัญหาเกี่ยวกับ ความปลอดภัยด้านยาในชุมชนของจังหวัดสิงห์บุรี. วารสารการแพทย์และสาธารณสุขเขต 4. 2563;10(1):43-55.
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2023 กองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ ชมรมเภสัชกรโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความภายในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารเภสัชกรรมคลินิกทั้งหมด รวมถึงรูปภาพประกอบ ตาราง เป็นลิขสิทธิ์ของกองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ ชมรมเภสัชกรโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข การนำเนื้อหา ข้อความหรือข้อคิดเห็น รูปภาพ ตาราง ของบทความไปจัดพิมพ์เผยแพร่ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ต้องได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการวารสารเภสัชกรรมคลินิกอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร
กองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ ชมรมเภสัชกรโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข อนุญาตให้สามารถนำไฟล์บทความไปใช้ประโยชน์และเผยแพร่ต่อได้ โดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอน (Creative Commons License: CC) โดย ต้องแสดงที่มาจากวารสาร – ไม่ใช้เพื่อการค้า – ห้ามแก้ไขดัดแปลง, Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)
ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับกองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ ชมรมเภสัชกรโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข และบุคลากรในกองฯ หรือ ชมรมฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง ตลอดจนความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความเป็นของผู้เขียน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการ