ผลลัพธ์การพัฒนาระบบป้องกันแพ้ยาซ้ำข้ามโรงพยาบาล โดยการนำโปรแกรมเชื่อมโยงข้อมูลแพ้ยารูปแบบออนไลน์ มาใช้ในโรงพยาบาลปัตตานี

ผู้แต่ง

  • วารุณี หวังเคียงแสง กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลปัตตานี

คำสำคัญ:

drug allergy, adverse drug reaction, drug allergy program, repeated drug allergy

บทคัดย่อ

ความเป็นมา: ปัญหาแพ้ยาส่งผลกระทบต่อผู้ป่วย มีระดับความรุนแรงตั้งแต่เล็กน้อยจนกระทั่งเสียชีวิต สามารถป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยแพ้ยาได้รับยาที่เคยแพ้ซ้ำ ปัญหาที่พบบ่อยคือบุคลากรการแพทย์ไม่ทราบประวัติแพ้ยาผู้ป่วยหรือผู้ป่วยแจ้งประวัติแพ้ยาที่ไม่ครบถ้วน เป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดปัญหาแพ้ยาซ้ำ การนำระบบเชื่อมโยงข้อมูลผู้ป่วยแพ้ยารูปแบบออนไลน์ ที่ได้รับการพัฒนามาใช้อาจเป็นวิธีหนึ่งในการป้องกันการแพ้ยาซ้ำ
วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบ จำนวนผู้ป่วยแพ้ยาซ้ำ ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลปัตตานี ก่อนและหลัง การใช้โปรแกรมเชื่อมโยงข้อมูลผู้ป่วยแพ้ยารูปแบบออนไลน์
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาประสิทธิผลของ intervention รูปแบบ interrupted time before and after design ศึกษาข้อมูลย้อนหลัง ในโรงพยาบาลปัตตานี ก่อนและหลังการใช้โปรแกรมเชื่อมโยงข้อมูลผู้ป่วยแพ้ยารูปแบบออนไลน์ โดยเก็บข้อมูล 2 ช่วงเวลา ก่อนเริ่มใช้โปรแกรม 5 ปี ตั้งแต่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2560 และหลังใช้โปรแกรม 5 ปี ตั้งแต่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2560 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2565 เก็บข้อมูลผู้ป่วยแพ้ยาซ้ำที่เข้ารับการรักษา ณ โรงพยาบาลปัตตานี ทั้งผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ mean difference ของจำนวนผู้ป่วยแพ้ยาซ้ำต่อปีเป็นเวลา 5 ปี ก่อนและหลังการใช้โปรแกรมโดยใช้สถิติ linear regression
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยแพ้ยาซ้ำหลังใช้โปรแกรม มีแนวโน้มลดลงเฉลี่ย 1.85 รายต่อปี (95%CI: -3.55, -1.54) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <0.05) โดยก่อนใช้โปรแกรมแพ้ยาออนไลน์ เฉลี่ย 5.60 รายต่อปี (95%CI: 4.56, 6.64) และหลังใช้โปรแกรมเฉลี่ย 3.75 รายต่อปี (95%CI: 2.41, 5.10) และผู้ป่วยแพ้ยาซ้ำที่ได้รับยาจากโรงพยาบาลปัตตานี มีแนวโน้มเกิดแพ้ยาซ้ำลดลงเฉลี่ย 2.08 รายต่อปี (95%CI: -4.05, -0.12) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <0.05) สำหรับผู้ป่วยแพ้ยาซ้ำที่รับยาจากสถานพยาบาลอื่นยังไม่พบความแตกต่างการเกิดแพ้ยาซ้ำระหว่างก่อนและหลังการใช้โปรแกรม
สรุปผลการศึกษา: การใช้โปรแกรมเชื่อมโยงข้อมูลผู้ป่วยแพ้ยารูปแบบออนไลน์ สามารถลดจำนวนผู้ป่วยแพ้ยาซ้ำในผู้ป่วยที่รับยาจากโรงพยาบาลปัตตานีได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สำหรับผู้ป่วยแพ้ยาซ้ำที่รับยาจากสถานพยาบาลอื่นนอกเครือข่ายโรงพยาบาลจังหวัดปัตตานี ได้แก่ ร้านยา คลินิก ฯลฯ ยังไม่พบความแตกต่างการเกิดแพ้ยาซ้ำ ต้องใช้แนวทางปฏิบัติในการป้องกันแพ้ยาซ้ำตามมาตรฐานวิชาชีพเภสัชกรรมเป็นหลัก ได้แก่ การซักประวัติแพ้ยาและการตรวจสอบรายการยาที่แพ้ก่อนจ่ายยา

ประวัติผู้แต่ง

วารุณี หวังเคียงแสง, กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลปัตตานี

ภ.ม.

เอกสารอ้างอิง

ธิดา นิงสานนท์, จันทิมา โยธาพิทักษ์. ตรงประเด็นเรื่อง adverse drug reaction เล่ม 2 การประเมินผื่นแพ้ยา. กรุงเทพมหานคร: สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาลแห่งประเทศไทย; 2552. หน้า 16-17.

กมลรัตน์ ทองรักษ์, สกนธ์ สุภากุล, กรรณิกา เทียรฆนิธิกูล. การสำรวจปัญหาและอุปสรรคในระบบการเฝ้าระวังการแพ้ยาซ้ำในเครือข่ายผู้ให้บริการสุขภาพระดับอำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน. วารสารเภสัชกรรมไทย [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [สืบค้นเมื่อ 4 เม.ย. 2566];12(2):379-87. สืบค้นจาก: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJPP/article/view/170308

Blumenthal KG, Park MA, Macy EM. Redesigning the allergy module of the electronic health record. Ann Allergy Asthma Immunol. 2016;117(2):126-31. doi: 10.1016/j.anai.2016.05.017.

Nuckols TK, Smith-Spangler C, Morton SC, Asch SM, Patel VM, Anderson LJ, et al. The effectiveness of computerized order entry at reducing preventable adverse drug event and medication errors in hospital settings: a systematic review and meta-analysis. Syst Rev. 2014;3:56. doi: 10.1186/2046-4053-3-56.

อภิลักษณ์ นวลศรี. ความคลาดเคลื่อนทางยากับการใช้ระบบสั่งยาทางคอมพิวเตอร์จากหอผู้ป่วย. สงขลานครินทร์เวชสาร [อินเทอร์เน็ต]. 2549 [สืบค้นเมื่อ 26 ต.ค. 2566];24(1):1-8. สืบค้นจาก: http://smj.medicine.psu.ac.th/index.php/smj/article/view/898

Topaz M, Seger DL, Slight SP, Goss F, Lai K, Wickner PG, et al. Rising drug allergy alert overrides in electronic health records: an observational retrospective study of a decade of experience. J Am Med Inform Assoc. 2016;23(3):601-8. doi: 10.1093/jamia/ocv143.

พงศ์พันธุ์ สุริยงค์. ผลของแบบจำลองระบบเฝ้าระวังการแพ้ยาซ้ำในเครือข่ายผู้ให้บริการปฐมภูมิ อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ [วิทยานิพนธ์ปริญญาเภสัชศาสตรมหาบัณฑิต]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2553.

เอกพล กาละดี. การวิเคราะห์ถดถอยแบบแบ่งช่วงสำหรับการศึกษารูปแบบ Interrupted Time Series: การประยุกต์ ใช้ในงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ [อินเทอร์เน็ต]. 2560 [สืบค้นเมื่อ 4 ก.ค. 256];10(37):1-9. สืบค้นจาก: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JSH/article/view/121355/

พัสรี ศรีอุดร และ วรรณี ชัยเฉลิมพงษ์. การพัฒนาระบบเพื่อป้องกันการแพ้ยาซ้ำข้ามโรงพยาบาลในจังหวัดร้อยเอ็ด โดยการเชื่อมโยงข้อมูลแพ้ยาผ่านระบบ HOSxP [อินเทอร์เน็ต]. ใน: การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษา ระดับนานาชาติ 2560 (ประเทศไทย); 10 มี.ค. 2560 [สืบค้นเมื่อ 30 พ.ค. 2566]; ณ อาคารพจน์ สารสิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ขอนแก่น. หน้า 869-79. สืบค้นจาก: https://gsbooks.gs.kku.ac.th/60/nigrc2017/pdf/MMP11.pdf

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2024-12-18