ผลของการคัดกรองวิเคราะห์คำสั่งใช้ยาผู้ป่วยนอกโดยเภสัชกร ณ โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา

ผู้แต่ง

  • กิตติยา เจริญกุล กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา

คำสำคัญ:

การคัดกรองวิเคราะห์คำสั่งใช้ยา, ความคลาดเคลื่อนจากการสั่งใช้ยา

บทคัดย่อ

ความเป็นมา: การคัดกรองคำสั่งใช้ยาโดยเภสัชกรหลังจากจัดเตรียมยาแล้วในขณะที่ตรวจสอบยาก่อนการจ่ายและขณะจ่ายยาให้ผู้ป่วยสามารถค้นหาปัญหาจากการใช้ยาได้ แต่มีความล่าช้าและไม่ครบถ้วน จึงได้พัฒนาระบบให้มีการคัดกรองคำสั่งใช้ยาในขั้นตอนแรกก่อนการจัดเตรียมยา

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลลัพธ์ของการคัดกรองวิเคราะห์คำสั่งใช้ยาก่อนการจัดเตรียมยา และ เปรียบเทียบความคลาดเคลื่อนจากการสั่งใช้ยาที่พบก่อนและหลังการพัฒนาระบบคัดกรองวิเคราะห์คำสั่งใช้ยา

วิธีวิจัย: เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา โดยเก็บข้อมูลความคลาดเคลื่อนจากการสั่งใช้ยาผู้ป่วยนอกอายุรกรรม ในปีงบประมาณ 2566 (มีการพัฒนาการคัดกรองวิเคราะห์คำสั่งใช้ยา) และในปีงบประมาณ 2565 (ก่อนการพัฒนาการคัดกรองวิเคราะห์คำสั่งใช้ยา)

ผลการวิจัย: ในปีงบประมาณ 2566 เภสัชกรคัดกรองวิเคราะห์คำสั่งใช้ยาผู้ป่วยนอกอายุรกรรมในขั้นตอนก่อนการจัดเตรียมยารวม 20,374 ใบ พบความคลาดเคลื่อนจากคำสั่งการใช้ยา จำนวน 32.10 ครั้งต่อหนึ่งพันใบสั่งยา (654 ครั้ง) ซึ่งเพิ่มจากปีงบประมาณ 2565 ที่พบความคลาดเคลื่อนจากคำสั่งการใช้ยา จำนวน 9.92 ครั้งต่อหนึ่งพันใบสั่งยา (240 ครั้ง) โดยความคลาดเคลื่อนที่พบเพิ่มขึ้น 5 อันดับแรก ได้แก่ การสั่งยาซ้ำซ้อนกับห้องตรวจอื่น การดึงข้อมูลประวัติยาไม่เป็นปัจจุบัน การสั่งยาไม่ครบรายการ การสั่งยาผิดชนิด และการสั่งยาผิดจำนวน

สรุปผล: การคัดกรองวิเคราะห์คำสั่งใช้ยาผู้ป่วยนอกอายุรกรรมในขั้นตอนก่อนการจัดเตรียมยา ทำให้เภสัชกรสามารถค้นหาความคลาดเคลื่อนจากการสั่งใช้ยาได้เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ผู้ป่วยได้รับยาที่ถูกต้อง เหมาะสม ปลอดภัย และลดระยะเวลารอคอยในกรณีที่เภสัชกรปรึกษาปัญหาด้านยากับแพทย์

ประวัติผู้แต่ง

กิตติยา เจริญกุล, กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา

ภ.ม.(เภสัชวิทยา)

เอกสารอ้างอิง

National Coordinating Council for Medication Error Report and Prevention (NCC MERP). About medication errors [internet]. N.P.: NCC MERP; 2024 [cited 2024 Jan 30]. Available from: https://www.nccmerp.org/about-medication-errors

Aseeri M, Banasser G, Baduhduh O, Baksh S, Ghalibi N. Evaluation of medication error incident reports at a tertiary care hospital. Pharmacy (Basel). 2020;8(2):69. doi: 10.3390/pharmacy8020069.

Kopp BJ, Erstad BL, Allen ME, Theodorou AA, Priestley G. Medication errors and adverse drug events in an intensive care unit: direct observation approach for detection. Crit Care Med. 2006;34(2):415-25. doi: 10.1097/01.ccm.0000198106.54306.d7.

ปรีชา เครือรัตน์. การพัฒนาระบบการป้องกันความคลาดเคลื่อนทางยาเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย โรงพยาบาลบ้านนาสาร. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11 [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [สืบค้นเมื่อ 30 ม.ค. 2567];32(1):871-80. สืบค้นจาก: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Reg11MedJ/article/view/155381

เพียงเพ็ญ ชนาเทพาพร. การพัฒนาโปรแกรมเพื่อรายงานผลความคลาดเคลื่อนการสั่งใช้ยาของโรงพยาบาลศรีนครินทร์. ศรีนครินทร์เวชสาร [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [สืบค้นเมื่อ 30 ม.ค. 2567];34(3):261-70. สืบค้นจาก: https://thaidj.org/index.php/smnj/article/view/6494

ธิดา นิงสานนท์, สุวัฒนา จุฬาวัฒนทล, ปรีชา มนทกานติกุล. การป้องกันความคลาดเคลื่อนทางยาเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย. กรุงเทพมหานคร: สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย); 2547.

บุญสุชิน ฉัตรไพฑูรย์. การพัฒนาระบบการคัดกรองคำสั่งใช้ยาผู้ป่วยในโรงพยาบาลบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี. หัวหินวารสาร [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [สืบค้นเมื่อ 31 ม.ค. 2567];1(3):23-37. สืบค้นจาก: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/hhsk/article/view/251056/

ปัญญฉัตร ซอสุขไพบูลย์. ระบบรายงานความคลาดเคลื่อนทางยาจากโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่พัฒนาขึ้นในโรงพยาบาลขนาดใหญ่แห่งหนึ่ง. วารสารเภสัชกรรมไทย [อินเทอร์เน็ต]. 2555 [สืบค้นเมื่อ 31 ม.ค. 2567];4(1):3-16. สืบค้นจาก: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJPP/article/view/169294

วัชรินทร์ ถาวโรภาส. ข้อผิดพลาดและการจัดการในการวิเคราะห์ใบสั่งยาผู้ป่วยนอก. ใน: บุษบา จินดาวิจักษณ์, ปรีชา มนทกานติกุล, ธนรัตน์ สรวลเสน่ห์, บรรณาธิการ. Advancing pharmacy practice towards service plan [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพมหานคร: สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย); 2557 [สืบค้นเมื่อ 31 ม.ค. 2567]. หน้า 41-8. สืบค้นจาก: https://www.si.mahidol.ac.th/th/division/pharmacy/admin/download_files/153_27_1.pdf

สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน). คู่มือนํามาตรฐานสู่การปฏิบัติ SPA (Standards-Practice-Assessment) Part II สําหรับมาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ ฉบับที่ 5 [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน); 2565 [สืบค้นเมื่อ 1 ก.พ. 2567]. สืบค้นจาก: https://www.ha.or.th/TH/Posts/หนังสือการพัฒนาคุณภาพ/Details/621

ธิดา นิงสานนท์ และคณะ. กรอบงานพื้นฐานระบบยา [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพมหานคร: สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย); 2563 [สืบค้นเมื่อ 1 ก.พ. 2567]. สืบค้นจาก: https://www.thaihp.org/wp-content/uploads/2022/06/หนังสือกรอบงานพื้นฐาน.pdf

วนิชา ปิยะรัตนวัฒน์. Prescription analysis: focusing on inpatients. ใน: บุษบา จินดาวิจักษณ์, ปรีชา มนทกานติกุล, ธนรัตน์ สรวลเสน่ห์, บรรณาธิการ. Advancing pharmacy practice towards service plan [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพมหานคร: สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย); 2557 [สืบค้นเมื่อ 31 ม.ค. 2567]. หน้า 49-54. สืบค้นจาก: https://www.si.mahidol.ac.th/th/division/pharmacy/admin/download_files/153_27_1.pdf

ปานสิรินทร์ ดีประสิทธิ์ปัญญา, ศุภกิตติ์ ปาลีกุย, ลดาวัลย์ ศิริลักษณ์, ปิติภูมิ ชุมภู, นรินทร์ สายปัน. การพัฒนาโปรแกรมคัดกรองคำสั่งใช้ยาผู้ป่วยนอก เพื่อลดความคลาดเคลื่อนทางยา โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ [อินเทอร์เน็ต]. ใน: การประชุมวิชาการ Thailand Quality Conference; 11 พ.ย. 2565 [สืบค้นเมื่อ 1 ก.พ. 2567]; คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่. หน้า 1-17. สืบค้นจาก: https://app.nurse.cmu.ac.th/kmday2022/datafile/workships/2.ไฟล์นำเสนอผลงาน_arn_11-31.pdf

ประไพพิมพ์ จุลเศรษฐี. การพัฒนาระบบคัดกรองวิเคราะห์คำสั่งใช้ยาของผู้ป่วย โรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติสมเด็จย่า 100 ปี จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิชาการกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [สืบค้นเมื่อ 5 ก.พ. 2567];18(2):5-16. สืบค้นจาก: https://thaidj.org/index.php/jdhss/article/view/12470/

ณฐมน สุคนนท์, วรางคณา สีมาพล, มนัสนันท์ วงษ์ครุธ, น้ำทิพย์ คงนิล, นิชาภา ทองศรี, ธีราพร สุภาพันธุ์. การพัฒนาระบบคัดกรองใบสั่งยาแผนกผู้ป่วยในเพื่อลดความคลาดเคลื่อนทางยาโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จ.อุบลราชธานี. วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน. 2564;17(3):25-38. doi: 10.14456/ijps.2021.

กนกวรรณ พรหมพันใจ, รังสิกานต์ นาคบุรินทร์, ชานนท์ งามถิน. การพัฒนาระบบการคัดกรองวิเคราะห์ใบสั่งยาผู้ป่วยในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา. วารสารวิชาการสาธารณสุข [อินเทอร์เน็ต]. 2559 [สืบค้นเมื่อ 9 ก.พ. 2567];25(3);446-55. สืบค้นจาก: https://thaidj.org/index.php/JHS/article/view/274

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2024-12-18