การพัฒนาสุขภาวะชุมชนในพื้นที่สุขศาลาพระราชทานอำเภอบ่อเกลือ และอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดน่าน

ผู้แต่ง

  • ถนัด ใบยา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดน่าน
  • วิชัย นิลคง สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดน่าน

คำสำคัญ:

สุขศาลาพระราชทาน, สุขภาวะชุมชน, การมีส่วนร่วม

บทคัดย่อ

การพัฒนาสุขภาวะชุมชนในพื้นที่สุขศาลาพระราชทานจังหวัดน่าน มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนา สุขภาวะของชุมชนในพื้นที่สุขศาลาพระราชทาน และประเมินผลการพัฒนา ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ผู้มีส่วนร่วมในการศึกษาประกอบด้วย อสม. ผู้นำชุมชน ผู้นำท้องถิ่น เจ้าหน้าที่ประจำสุขศาลาพระราชทาน เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และครูในพื้นที่สุขศาลาพระราชทาน 3 แห่งๆ ละ 30 คน รวม 90 คน ดำเนินการ 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การศึกษาบริบทและจัดทำแผนชุมชน 2) การลงมือปฏิบัติการตามแผน 3) การสังเกตและประเมินเสริมพลัง 4) การสะท้อนกลับและคืนข้อมูลชุมชน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ สรุปรายงาน เครื่องมือศึกษาชุมชน การประชุมอย่างสร้างสรรค์ การสังเกต และแบบประเมินบ้านสะอาดอนามัยดีชีวีสมบูรณ์ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติพรรณนา จำนวน ร้อยละ ดำเนินการระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ 2561 – กันยายน 2563

          ผลการศึกษา พบว่า การพัฒนาสุขภาวะของชุมชนในด้านการมีน้ำสะอาด การมีแหล่งอาหาร และอนามัยสิ่งแวดล้อมในพื้นที่สุขศาลาพระราชทาน ใช้หลักการเรียนรู้ร่วมกันแบบพาคิด พาทำ และพาติดตาม เริ่มตั้งแต่การศึกษาข้อมูลชุมชน กำหนดเป้าหมายการพัฒนาให้คนในชุมชนมีความอยู่ดีมีสุข ลดเสี่ยงลดโรค มีการจัดทำแผนพัฒนาร่วมกัน เกิดกิจกรรมสำคัญ ได้แก่ การปรับปรุงระบบกรองน้ำของชุมชน เพิ่มแหล่งอาหารในครัวเรือน การจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อม การรณรงค์ลดการสูบบุหรี่ดื่มสุรา ผลของการพัฒนาสุขภาวะของชุมชน ทำให้ครัวเรือนมีน้ำสะอาดไว้ใช้เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 3.36 เป็นร้อยละ 64.98 มีแหล่งอาหารเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 22.96 เป็นร้อยละ 72.54 ผ่านเกณฑ์บ้านสะอาดเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 34.45 เป็น 83.47 มีผู้เลิกสุราได้จำนวน 3 คน และเลิกบุหรี่ได้จำนวน 3 คน

          ดังนั้นการพัฒนาสุขภาวะของชุมชนในพื้นที่ห่างไกลควรให้ความสำคัญกับกระบวนการพากันคิด พากันทำ และพากันติดตาม อย่างต่อเนื่อง โดยการมีส่วนร่วมของเจ้าหน้าที่สุขศาลา อสม. ผู้นำชุมชน

เอกสารอ้างอิง

Carole Reeve. et al. (2015). Community participation in health service reform : the development of an innovative remote Aboriginal primary health-care service. Australian Journal of Primary Health, 21: 409–416.

Cohen, J. M. & Uphoff, N. (1977). Rural Participation: Concepts and Measures for Project Design, Implementation and Evaluation. In : Rural Development Monograph. 2rd ed. NewYork: The Rural Development Committee Center for International Studies, Cornell University.

Director Highland Health Development Center, Department of Health. (2010). Model of health behavior and environment management of Lua. Retrieved March 10, 2018 from https://hhdc.anamai.moph.go.th/database/admin/research/file/200814102014.pdf (in Thai).

Kantisivanond, Sivarut. (2014). Effectiveness of Parpiticiation Program on Health Promotion for Hmong Hilltribe in Ban Maeram, Taopun Subdistrict, Song District, Phrae Province. Journal of Graduate Research, Chiangmai Rajabhat University, 5(2): 129-139. (in Thai).

Malipun, Rireungrong. Rattanavilaisakul, Suthanee. (2008). Maintenance and Converting of Life of Lua People Pakhum Village, Bo Kluea District, Nan Province. Veridian E – Journal of Silpakorn University, 1(1): 49-55. (in Thai).

Maruean, Isaraphap. Chumsang, Chanphen. Pattra, Sakchai. (2013). A Model of Waste Management in Accordance with Hill Tribe Sociological in Paklang Subdistrict Pua District, Nan Province. Khon Kaen University Journal for Public Health Research, 6(2): 136-144. (in Thai).

Nan Provincial Suksala Development Board. (2019). Executive summary of Suksala Development 2019. Nan : Nan Provincial Health Office. (in Thai).

Office of the National Economic and Social Development Board. (2003). Document for the 2003 Annual Meeting, Sustainable Development. Monday 30 June 2003, IMPACT Arena, Exhibition and Convention Center, Muang Thong Thani, Nonthaburi Province. Retrieved March 10, 2018, from https://www.nesdb.go.th/download/article/article_20150813133735.pdf (in Thai).

Phuphaibul, Rutja. et al. (2012). Development Process for Sufficiency Health in Community. Journal of Nursing Science & Health, 35(1): 28-38. (in Thai).

Thai Health Promotion Foundation. (2017). His Majesty the King Rama IX Working Principles. Retrieved March 10, 2018, from http://www.thaihealth.or.th. (in Thai).

Wattanakul, Udomchai and et al. (2013). Research project on ways to revitalize food bases to create food security in the Lua community, Ban Huaymee, Dongphraya Subdistrict, Bo Kluea District, Nan Province. Bangkok: The Thailand Research Fund, Community Based Research Division. (in Thai).

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-08-20

วิธีการอ้างอิง

บทความที่มีผู้อ่านมากที่สุดจากผู้แต่งเรื่องนี้