การพัฒนาชุมชนจัดการสุขภาวะแบบมีส่วนร่วมตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จังหวัดน่าน
คำสำคัญ:
ชุมชนจัดการสุขภาวะ, ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง, การมีส่วนร่วมของชุมชนบทคัดย่อ
การส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคเป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาด้านสาธารณสุข ซึ่งต้องอาศัยการพัฒนาบนฐานชุมชนท้องถิ่นและเครือข่าย แม้ทำได้ยากแต่มียั่งยืนมากกว่า การดำเนินงานตำบลจัดการสุขภาพเป็นแนวทางสำคัญในการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคและสร้างภูมิคุ้มกันให้ชุมชน การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์และพัฒนารูปแบบการจัดการสุขภาวะของชุมชนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และประเมินผลรูปแบบ โดยใช้รูปแบบการวิจัยและพัฒนา ในพื้นที่ 20 ตำบล ระยะเวลาดำเนินการ 2 ปี 3 เดือน (ตุลาคม 2560 – ธันวาคม 2562) มีขั้นตอนการดำเนินงาน 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การศึกษาสถานการณ์และพัฒนากลไกการขับเคลื่อนชุมชนจัดการสุขภาวะแบบมีส่วนร่วม ระยะที่ 2 การปฏิบัติการพัฒนาชุมชนจัดการสุขภาวะ ระยะที่ 3 การจัดการความรู้และประเมินแบบเสริมพลัง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวนและร้อยละ
ผลการศึกษาพบว่า ด้านสถานการณ์การจัดการสุขภาวะของชุมชน จังหวัดน่านมีการจัดการสุขภาพหลากหลายโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายต่างๆ ในแต่ละพื้นที่อยู่แล้ว ซึ่งการริเริ่มมีหลายรูปแบบทั้งเริ่มจากองค์กรภายนอก, เริ่มจากองค์กรภายในพื้นที่, และริเริ่มจากชุมชนเอง ด้านรูปแบบการจัดการสุขภาวะของชุมชนแบบมีส่วนร่วม เริ่มจากการสร้างแนวคิดร่วมกันของคนในชุมชน โดยใช้แนวคิดพึ่งตนเองและเริ่มจากจุดเล็กๆ จากอสม.และแกนนำ มีกระบวนการดังนี้ 1) ทบทวนตนเอง กำหนดเป้าหมาย ประเด็นและแผนที่จะขับเคลื่อนร่วมกัน 2) สร้างทีมแกนนำหมู่บ้าน/ตำบล 3) ดำเนินกิจกรรมพัฒนาต่อยอดจากสิ่งดีดีที่มีอยู่ 4) สร้างมาตรการชุมชน ธรรมนูญสุขภาพ 5) เชื่อมโยงกับภาคีเครือข่ายการทำงานในพื้นที่ และนอกพื้นที่ 6) สรุปบทเรียนและประเมินผลร่วมกัน ทำให้กลุ่มและชุมชนมีความเข้มแข็ง สามารถลดปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพด้านผลการประเมินกระบวนการพัฒนาตำบลจัดการสุขภาพแบบบูรณาการ 4 องค์ประกอบ พบว่าทุกตำบล (20 ตำบล) ผ่านการประเมินองค์ประกอบด้านทีมและแผน องค์ประกอบด้านกิจกรรมผ่านเกณฑ์ 17 ตำบล (ร้อยละ 85.0) ด้านผลลัพธ์ ผ่านเกณฑ์ 16 ตำบล (ร้อยละ 80.0) ส่วนเกณฑ์ชุมชนจัดการสุขภาพดี พบว่าผ่านเกณฑ์ระดับดีเยี่ยม จำนวน 15 ตำบล (ร้อยละ 75.0) ระดับพื้นฐาน จำนวน 5 ตำบล(ร้อยละ 25.0) ซึ่งแต่ละพื้นที่ตำบลมีการพัฒนาตนเองตามบริบทวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของชุมชน มีปัจจัยเงื่อนไขความสำเร็จ ได้แก่ 1) หลักคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 2) การใช้ข้อมูลความรู้นำ 3) เริ่มจากจุดเล็กๆ 4) ผู้นำเป็นแบบอย่าง 5) มีมาตรการทางสังคม 6) จัดกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันอย่างต่อเนื่อง 7) มีกลไกการประเมินผล และ 8) มีการสร้างแรงจูงใจยกย่องคนดี
ดังนั้นจึงควรให้มีการพัฒนาศักยภาพของอสม.และแกนนำชุมชนให้เป็นแกนหลักของการพัฒนาชุมชนด้านสุขภาพ โดยใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นหลักพื้นฐานในการดำเนินงาน
เอกสารอ้างอิง
Anusonpanichakul, Thakoon. Nakpibal, Pinyapat. Suwannin, Wongteera. (2018). Successful of Small and Micro Community Enterprise Model in Thailand. Phetchabun Rajabhat Journal,20(1), 8-17. (in Thai).
Barry Checkoway, Amy Schulz, Marc Zimmeran,Barbara A. Israel. (1994). Health Education and Community Empowerment: Conceptualizing and Measuring Perceptions of Individual,Organizational, and Community Control.
Health Education Quarterly, 21(2), 149-170.Retrieved January 12, 2019, from https://deepblue.lib.umich.edu/bitstream/handle/2027.42/66559/10.1177_109019819402100203.pdf?sequence=2&isAllowed=y
Bheadnok, Chucheep. (2016). The promotion model of the elderly as the philosophy of sufficiency economy : Case in Bangtoey sub district, Samkhok district, Pathumthani province. Journal of Pathumthani University 8(1), 49-56. (in Thai).
Chitanon, Hathai. (1998). New health promotion. Planning Division, Department of Health,Ministry of Public Health. Nonthaburi :Planning Division, Department of Health,Ministry of Public Health. (in Thai).
Hunnirun, Pornsuk. Tornee, Songpol. Srimala, Rapeepat.(2016). Community health management by participation approach : a case study of Chachoengsao Province. VRU Research and Development Journal Humanities and
Social Science. 11(3), 159-168. (in Thai).
Juansang, Prakairung. Ruamsook, Nuchmann.KaenKann, Varathip. (n.d.). Health promotion model of the philosophy of sufficiency economy through student participation in Ubon Ratchathani Rajabhat University.
Faculty of Nursing Ubon Ratchathani Rajabhat University. (in Thai).
Ken Morrison, and Karen Hardee Jessica Ogden.(2014). Social capital to strengthen health policy and health systems. HEALTH POLICY AND PLANNING, 29, 1075–1085. Retrieved January 12, 2019, from https://watermark.silverchair.com/czt087.pdf?token=AQECAHi208BE49Ooan9kkhW_Ercy7Dm3ZL_9Cf3qfKAc485ysgAAAkEwggI9BgkqhkiG9w0BBwagggIuMIICKgIBADCCAiMGCSqGSIb3DQEHATAeBglghkgBZQMEAS4wEQQMfSbCyWOzHml9Hwh7AgEQgIIB9Lua8DPiJN8EWVvcBCI_dIbaAXhUlAgiHFLWUjZ-UNRZ_rUq
Laohasiriwong, Wongsa. Singhalerd, Rungsan.Cheulinfha, Sangad. (2015). The effectiveness of health developing village in rural MahaSarakham Province. Chopayom Journal,26(2), 177-193. (in Thai).
Marc A. Zimmerman, Douglas D. Perkins. (1995).Empowerment TheoIT, Research, and Application. American Journal of Community Psychology,, 23(5), 569-579. Retrieved January 12, 2019, from https://deepblue.lib.umich.edu/bitstream/handle/2027.42/117200/ajcpbf02506982.pdf?sequence=1&isAllowed=y
Maruean, Isaraphap. Chumsang, Chanphen. Pattra,Sakchai. (2013). KKU Journal for Public Health Research. 6(2), 136-144. (in Thai).
Office of the National Economic and Social Development Board, Prime Minister’s Office.The executive of National Economic and Social Development Plan 12th 2017-2021.Bangkok : Office of the National Economic and Social Development Board, Prime Minister’s Office. (in Thai).
Onsawat, Aruni. Buason, Rattana. Malarat, Anan.(2008). The Causal Model Development of the Factors Affecting the Success in Health Related Communities Network Management :A Mixed Method Approach. The Journal of Behavioral Science, 14(1), 151-165. (in Thai).
Phuphaibul, Rutja. Watanasak, Suriyapong.Jitramontree, Narirat. Apanuntikul, Manee.Youngpradith, Apa. Sinsuksai, Nittaya. et al.(2012). Development Process for Sufficiency Health in Community. Journal of Nursing Science & Health, 35(1), 28-38. (in Thai).
Primary Health Care Division, Department of Health Service Support. (2018). Guideline for Sub-district health Integration management.Department of Health Service Support,Ministry of Public Health : Nonthaburi. (in Thai)
Srisongkhram, Phimonphan. Kaikaew, Preeda. Kaewsawat, Supreecha. Ruangsuwan, Tassanu.(2015). Healthy Community Development:a Case Study of Krungching Sub–District in Nakhon Si Thammarat Province. Journal of Health Science , 24 (4), 660-669. (in Thai).
Yokanit, Punchita. Sungraksa, Narin. (2010). Lesson learned from learning community health care of Nong-Sarai Community, Phanomthuan, Khanchanaburi. Silpakorn Educational Journal,1(2), 132-140. (in Thai).
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.