การพัฒนาระบบการจัดการภาวะวิกฤตของชุมชนและเครือข่าย กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จังหวัดน่าน

ผู้แต่ง

  • ถนัด ใบยา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดน่าน
  • นภดล สุดสม สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดน่าน

คำสำคัญ:

โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 การจัดการภาวะวิกฤต การจัดการภัยพิบัติโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน

บทคัดย่อ

การพัฒนาระบบการจัดการภาวะวิกฤตของชุมชนและเครือข่าย กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จังหวัดน่าน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระบบการจัดการภาวะวิกฤตของชุมชนและเครือข่าย และประเมินผลระบบการจัดการ และจัดทำ ข้อเสนอระบบการจัดการในภาวะวิกฤตจากกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ใช้รูปแบบการวิจัยแบบผสมผสาน ผู้มีส่วนร่วม ในการศึกษา ได้แก่ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ปกครอง ตำรวจ อบต. กำนัน ผู้นำชุมชน อสม. และชาวบ้าน จำนวน 2 พื้นที่ๆ ละ 60 คน รวม 120 คน และประชาชนกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 2,030 คน เก็บข้อมูลจากสรุปรายงานผลการดำเนินงาน การระดมสมอง การทบทวนหลังปฏิบัติการ การสนทนากลุ่ม การสำรวจ นำเสนอผลการวิจัยในลักษณะเชิงพรรณนาและพรรณนาวิเคราะห์ ดำเนินการระหว่างเดือนมีนาคม 2563 – มิถุนายน 2565

ผลการศึกษา พบว่า ระบบการจัดการภาวะวิกฤตของชุมชนและเครือข่ายสรุปได้ 4 ระยะ ดังนี้ 1) ระยะป้องกัน ได้แก่ สื่อสารสร้างความเข้าใจ กำหนดมาตรการชีวิตวิถีใหม่ในชุมชน จัดตั้งด่านคัดกรองคนเข้าออกชุมชน เฝ้าระวังติดตามกลุ่มเสี่ยง 2) ระยะการเตรียมการ ได้แก่ กำหนดสถานที่กักตัวในบ้านหรือในชุมชน จัดหาวัสดุอุปกรณ์สำหรับป้องกัน จัดทำแผนและ ซ้อมแผนเผชิญเหตุ 3) ระยะการเผชิญเหตุ ได้แก่ การบริหารจัดการโดยคณะกรรมการหมู่บ้านร่วมกับภาคีเครือข่าย ค้นหา คัดกรองกลุ่มเสี่ยง ทำความสะอาดบ้านผู้ป่วยหรือพื้นที่เสี่ยง กำหนดมาตรการชุมชน จัดสถานที่กักตัวกลางในชุมชน ให้ข้อมูล ข่าวสารในหมู่บ้าน 4) ระยะการฟื้นฟู ได้แก่ ปรับมาตรการชุมชน เยียวยาจิตใจ ให้การช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบ รับผู้ป่วย ที่รักษาหายแล้วสู่ชุมชน เฝ้าระวังโรคอย่างต่อเนื่อง สรุปบทเรียนและเตรียมพร้อมกรณีเกิดเหตุในอนาคต 

ดังนั้นการจัดการภาวะวิกฤตควรให้ความสำคัญกับกระบวนการมีส่วนร่วม ตั้งแต่การสร้างความเข้าใจร่วม จัดทำแผนงานร่วม การปฏิบัติการร่วม และสรุปติดตามประเมินผลร่วมกัน ตั้งแต่ระดับอำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน เสริมพลังกันทั้งภาคชุมชน ท้องถิ่น เอกชน และภาคราชการ

เอกสารอ้างอิง

Chuengsatiansup, Komatra. Sungkhachart, Kaewta. Chawaraingern, Sittichoke. Panya, Sujittra. Kata, Prachatip and et al. Learning from Disaster, Living with Risk : Cultural Ecology, Media, State and Community Dynamics. Society and Health Institute. Ministry of Public Health.

Department of Disaster Prevention and Mitigation. Ministry of Interior Thailand. (2018). Community Based Disaster Risk Management. Bangkok : Department of Disaster Prevention and Mitigation. Ministry of Interior Thailand.

Hughes J.M. (2003). The SARS response-building and assessing an evidence-based approach to future global microbial threats. 290(24) : p.3251-3.

Pang X.Z.F. (2003). Evaluation of control measures implemented in the severe acute respiratory syndrome outbreak in Beijing. 190(24) : p.3215-21.

Pannarunothai, Supasit. (2020).Surviving Covid 19 Pandemic with Knowledge and Action. Journal of Health Systems Research. 14(1). January-March 2020 : p.1-6.

Rebekah Yore, Ilan Kelman, Matalena Tofa. (2018). Community-based Disaster Risk Management (CBDRM). Sornsrivichai, Vorasith. Songwatthana, Praneed.

Khupantavee, Natenapha. Kitrungrote, Luppana. Promthep, Natenapha. Sritamanoch, Viwat. and et al. Disaster Management of Public Health Sector : Lesson Learned from the South. Bangkok : National Institute for Emergency Medicine.

Sriprasert, Pisit. Surit, Phrutthinun. Taychartiwat, Phudit. Noosorn, Narongsak. Supankun, Pattana. Baiya, Thanat. Crisis Mangement Lessons Learned: Case Study on Botulism Outbreak Amphoe Ban Luang, Nan Province, 2006. (2011). Journal of Health Science 2011; 20:376-85.

World Health Organization. (2020). Coronavirus disease (COVID-19) Pandemic. [Online]. ; 2020 [cited 30 April 2020. Available from: https://www.who.int/emergencies/diseases/ novel-coronavirus-2019.

Yutthapong Kwanchuen. (2021). The Development of Health Literacy Community. Department of health Service Support Journal, 17(3), September - December, 5-14. (in Thai)

Yutthapong Kwanchuen, Wipawin Mosoongnern. (2022). Strategies in health communication issues “know your numbers & know your risks” by influencers on social media. Department of health Service Support Journal, 18(1), January - April, 47-58. (in Thai)

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-11-24

วิธีการอ้างอิง

บทความที่มีผู้อ่านมากที่สุดจากผู้แต่งเรื่องนี้