การพัฒนาชุมชนรอบรู้ด้านสุขภาพ

ผู้แต่ง

  • ยุทธพงษ์ ขวัญชื้น กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ

คำสำคัญ:

ชุมชนรอบรู้ด้านสุขภาพ, ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, พฤติกรรมสุขภาพ

บทคัดย่อ

การศึกษาการพัฒนาชุมชนรอบรู้ด้านสุขภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการและประเมินผลการพัฒนาชุมชนรอบรู้ด้านสุขภาพ โดยทำการศึกษาในพื้นที่ 12 พื้นที่ แบ่งตามเขตสุขภาพๆละ 1 พื้นที่ เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบติดตามรายละเอียดการดำเนินงาน การสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่มแบบออนไลน์ในประเด็นบริบทของชุมชน กระบวนการดำเนินงานและผลทางสุขภาพจากผู้เกี่ยวข้อง ได้แก่ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข อาสาสมัครสาธารณสุข ผู้แทนองค์การบริหารส่วนตำบล กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ครู ผู้แทนชมรมในพื้นที่ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติร้อยละ และข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ประมวลผลและนำเสนอด้วยการบรรยาย

          ผลการศึกษาพบว่า กระบวนการพัฒนาชุมชนรอบรู้ด้านสุขภาพ ดำเนินการโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายสุขภาพ กลุ่มชมรม และประชาชนในพื้นที่เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมด้านสุขภาพ กระบวนการมีดังนี้ 1) กำหนดนโยบายการดำเนินงานสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพแบบบูรณาการ ซึ่งมีการดำเนินงานทั้งในชุมชน โรงเรียนและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และมีแกนนำหรือทีมพัฒนา ในลักษณะคณะกรรมการหรือคณะทำงานซึ่งประกอบด้วยภาคีเครือข่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องและประชาชนในพื้นที่ 2) ทำการศึกษาชุมชนโดยมีระบบข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับสภาวะสุขภาพของประชาชน ข้อมูลความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพที่เป็นสาเหตุของปัญหา ข้อมูลบริบทของพื้นที่ 3) ทำการวางแผนพัฒนาร่วมกันของภาคีเครือข่ายและประชาชน 4) มีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และการสื่อสารสุขภาพในชุมชนและโรงเรียนหลากหลายรูปแบบ เช่น เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สื่อบุคคล สื่อชุมชน และสื่อออนไลน์ มีจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับกลุ่มผู้มารับบริการของสถานบริการสาธารณสุข เช่น มีมุมความรู้ สื่อการสอนและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การให้ความรู้ การสาธิตเป็นรายบุคคลและรายกลุ่ม 5) จัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ด้านสุขภาพในชุมชน ในโรงเรียน เช่น สถานที่จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ศูนย์การเรียนรู้ด้านสุขภาพในหมู่บ้าน ป้ายความรู้ในการปฏิบัติตัวตามจุดต่างๆ รวมทั้งมีข้อตกลงร่วมกันของชุมชน 6) มีการเฝ้าระวังพฤติกรรมสุขภาพและนำผลไปใช้ในการปรับกิจกรรมในโครงการ 7) ประเมินผลความรอบรู้ด้านสุขภาพ และพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนทั้งกลุ่มวัยทำงานและวัยเรียน ซึ่งการดำเนินงานชุมชนรอบรู้ด้านสุขภาพทำให้ประชาชนทุกกลุ่มวัยตระหนักถึงความสำคัญของการสร้างเสริมสุขภาพ สามารถลดปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพ ซึ่งจากการศึกษาผลการประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนทั้งกลุ่มวัยทำงานและวัยเรียนในพื้นที่ชุมชนรอบรู้ด้านสุขภาพ ทั้ง 12 พื้นที่ พบว่าอยู่ในระดับดีขึ้นไปมากกว่าร้อยละ70 ของประชาชน และประชาชนในชุมชนมีภาวะสุขภาพดีขึ้น

เอกสารอ้างอิง

Green, L.W. and Kreuter, M.W. (2005). Health Program Planning : An Educational and Ecological Approach (4th ed.). NY: McGraw-Hill Higher Education.

Health Education Division. (2013). Guidelines for Operation to Change Health Behaviors in Tambon Level. Nonthaburi: Health Education Division Press. (in Thai).

Health Education Division. (2013). Guidelines for promoting Child health behaviors according to National Health Recommendations in School. Bangkok: The Agricultural Co-operative Federation of Thailand Press. (in Thai)

Health Education Division. (2017). Process of Health education service to promote health literacy in government health care facilities and Integration of hospital standards andhealth services. Nonthaburi: Health Education Division Press. (in Thai).

Health Education Division. (2020). Guidelines for Development of Health Literacy Community. Bangkok: 25 media Ltd. (in Thai)

Health Education Division. (2020). Strategies for Implement in Health Education and Change to Health Behavior. Bangkok: 25 media Ltd. (in Thai)

Health Education Division. (2020).The Combination of Learning Management Techniques to Enhance Health Literacy for Working Age Groups. Bangkok: Chanchana Ltd. (in Thai)

Imsoomboon, Thanawat. (2013). Health Surveillance. Nonthaburi: Sukhothai Thammathirat Open University Press. (in Thai)

Ministry of Public Health. (2020). COVID-19 of Archives : Empowerment in COVID-19 Crisis. Bangkok: The War Veterans Organization of Thailand Press. (in Thai).

Munsraket, Krittakorn. et al. (2021). New Normal Life and Self-Care Techniques to Strengthen Immunity During the COVID-19 Pandemic. Journal of Health and Nursing Education. 27(1); 206. (in Thai)

Nutbeam D. (2008). The evolving concept of health literacy. Social Science & Medicine., Dec; 67 (12) : 2072-8

Pensirinapa, Nittaya. (2019). Health Education And Health Promotion Method. Nonthaburi: Sukhothai Thammathirat Open University Press. (in Thai)

Research Plan and Development of Health Communication system to People Health Systems Research Institute. (2008). Health Communication. (2nd ed.). Bangkok: Parbpim Ltd. Part.

Sookamornrat, Pitsamai. (2019). The Assessment of Village Development to Change Health Behaviors According to Community Happiness Policy : Happy Body Happy Mental and Happy Money. (Unpublished manuscript). (in Thai)

Sookdee, Sirineat. (2017). The Development of Model to Change health behavior in The risk of Chronic Non-Communicable Diseases With The Participation of The Community. (Doctor of Philosophy Program in Applied Behavioral Science Research Thesis, Srinakharinwirot University). (in Thai)

Soramitmaitri, Benjamas and Kwanchuen, Yutthapong. (2011). The model of operation In National Health Recommendations. (Unpublished manuscript). (in Thai)

Strategy and Planning Division Office of the Permanent Secretary. Ministry of Public Health. (2020). Public Health Statistics in 2019. Nonthaburi: Strategy and Planning Division. (in Thai)

Uthaipathanachep, Vimonsri. (2014). The Effectiveness of Village Development for Model to Change Health Behavior. (Unpublished manuscript). (in Thai)

World Health Organization (1998). Health Promoting Glossary. www.who.org.

World Health Organization.(2009). Health Literacy and Health Promotion. Definitions, Concepts and Examples in the Eastern Mediterranean Region. Individual Empowerment Conference Working Document. 7th Global Conference on Health Promotion Promoting Health and Development. Nairobi, Kenya, 26-30

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-12-23

วิธีการอ้างอิง