กลยุทธ์การสื่อสารประเด็นสุขภาพ “เลขทำนายโรค” ผ่านผู้ทรงอิทธิพลทางความคิดบนสื่อสังคมออนไลน์

ผู้แต่ง

  • ยุทธพงษ์ ขวัญชื้น กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ
  • วิภาวิน โมสูงเนิน กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ

คำสำคัญ:

สื่อสังคมออนไลน์, ผู้ทรงอิทธิพลทางความคิด, กลยุทธ์การสื่อสาร

บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่องกลยุทธ์การสื่อสารประเด็นสุขภาพ “เลขทำนายโรค” ผ่านผู้ทรงอิทธิพลทางความคิด (Influencer) บนสื่อสังคมออนไลน์ เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การใช้กลยุทธ์การสื่อสารผ่านผู้ทรงอิทธิพล ทางความคิดบนสื่อสังคมออนไลน์ กลยุทธ์และประสิทธิผลการสื่อสารประเด็นสุขภาพผ่านผู้ทรงอิทธิพลทางความคิดบนสื่อ สังคมออนไลน์ ในกรณีโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ประเด็นค่าน้ำตาลและแอลกอฮอล์ เก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารงานวิจัยและ ข้อมูลรายงานการประเมินผลผ่านเครื่องมือประเมินผลสื่อออนไลน์ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยการวิเคราะห์เนื้อหา ประมวลผลและนำเสนอด้วยการบรรยาย

ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) สถานการณ์การใช้กลยุทธ์การสื่อสารผ่านผู้ทรงอิทธิพลทางความคิดบนสื่อสังคมออนไลน์ พบว่า ในการสื่อสารผ่านผู้ทรงอิทธิพลให้มีประสิทธิภาพ มีการใช้ 4 กลยุทธ์หลักคือ การเป็นผู้ทรงอิทธิพลทางความคิด การนำเสนอ เนื้อหาที่โดดเด่นเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย การใช้สื่อสังคมออนไลน์เป็นหลัก และการใช้เครือข่ายผู้ติดตามในการมีส่วนร่วมกับ กิจกรรม 2) กลยุทธ์การสื่อสารประเด็นสุขภาพผ่าน ผู้ทรงอิทธิพลทางความคิดบนสื่อสังคมออนไลน์ ในกรณี “เลขทำนายโรค” โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง มีการกำหนดกลยุทธ์การสื่อสารผ่านผู้ทรงอิทธิพลทางความคิดอย่างเป็นขั้นตอนประกอบด้วย การกำหนด วัตถุประสงค์ การเลือกผู้รับสารเป้าหมาย การเลือกใช้ผู้ทรงอิทธิพลทางความคิด (Influencer) การกำหนดเนื้อหา งบประมาณ การดำเนินงานตามแผน และการติดตามประเมินผล สอดคล้องกับสถานการณ์การใช้กลยุทธ์การสื่อสารผ่านผู้ทรงอิทธิพล ทางความคิดบนสื่อสังคมออนไลน์ในปัจจุบัน และ 3) ประสิทธิผลการสื่อสารผ่านผู้ทรงอิทธิพลทางความคิดบนสื่อสังคม ออนไลน์ ในกรณีโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ซึ่งเก็บข้อมูลจากการติดตามการเข้าถึงและมีส่วนร่วมของกลุ่มเป้าหมายบนสื่อสังคม ออนไลน์ใน 2 ประเด็น คือ การสื่อสารระดับค่าน้ำตาล 126 ในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวาน และการมีส่วนร่วม (Real-Engagement) ของกลุ่มเป้าหมายในกิจกรรมท้าทาย (Challenge) ผ่านสื่อออนไลน์ คือ การแสดงความคิดเห็น (comment) กดไลค์ กดติดตาม กดแชร์ รวม 199,709 ครั้ง และการสื่อสารตัวเลข แอลกอฮอล์เป็นศูนย์ชีวิตไม่สูญ กลุ่มเป้าหมาย มีส่วนร่วมในกิจกรรมผ่านสื่อออนไลน์คือ จำนวนการแสดงความคิดเห็น กดไลค์ กดติดตาม กดแชร์ รวม 130,265 ครั้ง

เอกสารอ้างอิง

Community Organizations Development Institute. (2019). Public Communication in Power of Change. Retrieved December 20, 2020, from https://web.codi.or.th/wp-content/u p l o a d s / 2 0 1 9 / 0 5 / b o o k - 2 5 6 2 0 1 1 5 -Communication.pdf (in Thai).

Health Education Division. (2020). Health Network Communication Documents in 2020. Nonthaburi: Health Education Division Press. (in Thai).

Hirunburana, V. (2019). Communication Strategies and Effect of Social Media Influencers’ Health Ideas. (Master of Arts Program in Cultural and Industrial creative management Thesis, College of Innovation, Thammasat University). (in Thai).

Mahasamut, Rattaya, Karujit and Warat. (2016). The Effects of Communication Strategies of online Influencers toward The Attitudes of Followers. Journal of Communication and Management NIDA. 2(1): 81-106. (in Thai).

Puangmaha, Lalita. (2020). Implementation of Influencer Marketing Strategy for Efficient Brand Communication in The Digital Era. Journal of Communization Art. 38(3): 17-28. (in Thai).

Pumpayung, P. and Taifahpoon, T. (2016). Influence of Opinion Leaders in Online Social Network on Perception, Attitude and Decision Making towards Mental Healthcare Service. (Master of Arts (Communication Arts) Program in Communication Arts Thesis, Faculty of Communication Arts, Chulalongkorn University). (in Thai)

Sae-chua, Duangjai and Chaisuwan, Bu-Nga. (2020). The strategic planning process of online influencer marketing campaign in social media era. Journal of Communication and innovation NIDA. 7(2): 1-23. (in Thai).

The Bangkok Insight Team. (2019). The influence of influencer on behavior of Thai people in millennial era. Retrieved January 14, 2022, from:www.thebangkokinsight.com/news/business/media/67035 (in Thai).

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-05-02

วิธีการอ้างอิง