การพัฒนาแบบประเมินสมรรถนะของหลักสูตรผู้บริหาร การสาธารณสุข

ผู้แต่ง

  • ไปรมา ไวทยาชีวะ วิทยาลัยนักบริหารสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
  • สุดคนึง ฤทธิ์ฤาชัย วิทยาลัยนักบริหารสาธารณสุข
  • พงษ์สุวรรณ ศรีสุวรรณ วิทยาลัยนักบริหารสาธารณสุข
  • ประไพ กนิษฐายน วิทยาลัยนักบริหารสาธารณสุข
  • สาวิตรี แก้วผุดผ่อง วิทยาลัยนักบริหารสาธารณสุข

คำสำคัญ:

การพัฒนาแบบประเมิน, สมรรถนะผู้บริหาร, หลักสูตรนักบริหารสาธารณสุข

บทคัดย่อ

การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้าง ทดลองใช้ ปรับปรุงแก้ไขและตรวจสอบคุณภาพแบบประเมิน สมรรถนะผู้สำเร็จการฝึกอบรมหลักสูตรผู้บริหารการสาธารณสุขระดับต้น และระดับกลาง ของกระทรวงสาธารณสุข ใช้ระเบียบวิธีวิจัยการวิจัยและพัฒนา (Research and development : R & D) 2 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 ร่างและพัฒนา แบบประเมินสมรรถนะผู้บริหาร โดยการกำหนดส่วนประกอบของแบบประเมิน กำหนดวิธีการวัดด้วยการประเมินตนเอง เกี่ยวกับความรู้ความเข้าใจ ทักษะ และคุณลักษณะของตนเองในแต่ละสมรรถนะ โดยใช้กรอบการประเมินจากสมรรถนะ ผู้บริหารของหลักสูตรผู้บริหารการสาธารณสุขระดับต้นและระดับกลาง พ.ศ. 2565 เป็นกรอบพิจารณา ระยะที่ 2 ตรวจสอบ คุณภาพร่างแบบประเมินสมรรถนะผู้บริหาร ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา I-CVI, S-CVI และสถิติเชิงร้อยละ และนำไปใช้กับ กลุ่มตัวอย่าง โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงจากคณะกรรมการพัฒนาหลักสูตรผู้บริหารการสาธารณสุขระดับต้น และระดับกลางของวิทยาลัยนักบริหารสาธารณสุข ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาหลักสูตร ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนา ทรัพยากรมนุษย์ของกระทรวงสาธารณสุข วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี และวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จำนวน 7 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เพื่อตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบ การประเมิน ผลการวิจัยพบว่า แบบประเมินสมรรถนะผู้บริหารใช้การประเมินตนเองด้วยมาตรวัด 5 ระดับ สมรรถนะผู้บริหาร ของหลักสูตรผู้บริหารการสาธารณสุขระดับต้นและระดับกลาง ประกอบด้วย 28 และ 33 สมรรถนะตามลำดับ แบบประเมิน สมรรถนะผู้บริหารมี I-CVI และ S-CVI ผ่านเกณฑ์คุณภาพ สมรรถนะส่วนใหญ่มีความเป็นไปได้ในการวัดอยู่ในระดับสูง มีเพียง 6 สมรรถนะที่มีความเป็นไปได้ในการวัดในระดับต่ำ ได้แก่ กรอบความคิดแบบสากล กรอบความคิดแบบเติบโต กรอบความคิดแบบมุ่งเน้นส่วนรวม การวิเคราะห์สภาวะแวดล้อมภายนอกเพื่อวางแผนยุทธศาสตร์ การวิเคราะห์สภาวะแวดล้อม ภายในเพื่อวางแผนยุทธศาสตร์ และการออกแบบประสบการณ์ผู้ใช้งาน โดยสมรรถนะเหล่านี้ควรได้รับการอธิบายนิยาม ให้ผู้ประเมินมีความเข้าใจอย่างชัดเจนก่อนการประเมิน

เอกสารอ้างอิง

Gray, J. R., Grove, S. K., Sutherland, S. (2017). Burns and Grove’s the Practice of Nursing Research: Appraisal, Synthesis, and Generation of Evidence. 8th ed. St. Louis, MO: ELSEVIER.

Gronlund, N. (1985). Measurement and Evaluation in Teaching. MacMillan, New York

Netprasertkul, W. and Chan Soontraporn, P. (2021). The Development of Competency Scale for Nurses Mentors in Vajira Hospital. Journal of the Royal Thai Army Nurses. 22(3): 313-321. (in Thai).

Patcharakiatkanok, P. (2018). Approach Management for Developing Competencies of Sub-District Health Promotion Administrators, That is under Samphran District Public Health Office, Nakhon Pathom Province. Journal of Department of Health Service Support. 14(3): 35-45. (in Thai).

Phatthanasombatsuk, M. (2022). Validation of Nursing Research Reports and Proper Use of Social Science Research Instruments in Publishing.The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health. 8(2): 329-343. (in Thai).

Pipattadorn C., Anusananan, S. and Wongnam, P. (2017). A Development of a Management Competency Test for the Basic Education School Director In Thailand to Enter Aseanization Era. Journal of Education. Retrieved from http:// ojslib3.buu.in.th/index.php/education2/ article/view/4957. (in Thai).

Polit, D. F., Beck, C. T. (2014). Essential of Nursing Research: Appraising Evidence for Nursing Practice. 8th ed. Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins.

Polit, D. F., Beck, C. T. (2017). Nursing Research: Generating and Assessing Evidence for Nursing Practice. 10th ed. Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins.

Ritruechai, S., and Srisuwan, P. (2022). Development of Training Courses for Executives of the Ministry of Public Health. Journal of Health Science. 31(3): 569-582. (in Thai).

Ruangyam, P., Maneemai, P., and Thongplew S. (2015). The development Tool of Instrument Estimate to analyze the Core Competency of King Mongkut’s University of Technology North Bangkok by Online system. The 5th Phetchaburi Rajabhat Research Conference for Sustainable Thailand “Interdisciplinary and Innovation for Sustainable Development in Asia-Pacific”July 4, 2015, Phetchaburi Rajabhat University. (in Thai).

Sangkornkaew, S. (2021). Development of the Global Competency Measurement Model for Student Teacher.Master of Education, Educational Research and Evaluation, Naresuan University. (in Thai).

Suksawang, S. (2023). The challenge for modern leaders. Retrieved June 19, 2023, from https:// www.sasimasuk.com/16768188/vuca-worldThe challenge for modern leaders. (in Thai)

Thiamchan, T. (n.d.).Where has information and communication technology gone, why is there only “digital” left? Retrieved October 25, 2022, from https://www.bangkokbangkok. net/ict-to-digital.html). (in Thai).

Uthaiphan, P., and others. (2011). Development of an Evaluation Model for Assessment of Desirable Competencies of Pharmaceutical Technique Students in Sirindhorn College of Public Health, Praboromarajchanok Institute. KKU Res J. 16(7): 883-898.

Waltz, C.F., Strickland, O.L., Lenz, E. R. (2010). Measurement in Nursing and Health Research. 4th ed.New York: Springer.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-07-05

วิธีการอ้างอิง

บทความที่มีผู้อ่านมากที่สุดจากผู้แต่งเรื่องนี้