การระบาดของ Acinetobacter baumannii ที่ดื้อยาหลายกลุ่ม ในโรงพยาบาลบึงกาฬ ในช่วงปีพ.ศ.2559-2562

ผู้แต่ง

  • วิจิตราภรณ์ อ่อนราษฎร์ โรงพยาบาลบึงกาฬ
  • กฤษฎา ศิริชัยสิทธิ์ โรงพยาบาลบึงกาฬ

คำสำคัญ:

epidermics, MDR, XDR, Acinetobacter baumanii

บทคัดย่อ

ในปัจจุบันมีรายงานการเพิ่มขึ้นของการติดเชื้อ A.baumanii ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของโรคติดเชื้อในโรงพยาบาล ในหลาย ๆ ประเทศทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยด้วย การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบระบาดวิทยาการติดเชื้อ A.baumanii ที่ดื้อยาหลายกลุ่ม ในผู้ป่วยที่รับการรักษาในโรงพยาบาลบึงกาฬ ตั้งแต่ 1 มกราคม พ.ศ.2559 - 31 ธันวาคม พ.ศ.2562 จำนวน 615 ราย ถูกนำมาศึกษาความไวต่อยาต้านจุลชีพด้วยวิธี Kirby-Bauer disc diffusion กับยากลุ่ม Aminoglycosides, Carbapenems, Fluoroquinolones, Beta-lactamase inhibitor, Extended-spectrum cephalosporins และ Folate pathway inhibitors วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณาการแจกแจงความถี่และร้อยละ

ผลการศึกษาพบว่ามีผู้ป่วยที่แยกได้เชื้อ A.baumanii จากสิ่งส่งตรวจจำนวน 615 ราย ในจำนวนนี้มีการติดเชื้อ A.baumanii ที่ดื้อต่อยาหลายกลุ่ม จำนวน 386 ราย (ร้อยละ 62.76) หอผู้ป่วยหนัก พบสัดส่วนการตรวจพบเชื้อสูงที่สุด และตัวอย่างส่งตรวจพบการติดเชื้อบ่อย คือ เสมหะ แผลต่างๆ เลือด ทางเดินปัสสาวะ และน้ำเจาะต่าง ๆ มากตามลำดับ และเป็นที่น่าสนใจว่า แนวโน้มการพบเชื้อ A.baumanii ที่ดื้อต่อยาหลายกลุ่มในโรงพยาบาลบึงกาฬมีแนวโน้มลดลง จากการศึกษาพบเชื้อดื้อยากลุ่ม XDR-A.baumanii เพิ่มสูงขึ้น ในขณะที่เชื้อดื้อยากลุ่ม MDR-A.baumanii ลดลง จากผลการวิจัยนี้จะเห็นได้ว่าเชื้อได้พัฒนากลายเป็นสายพันธ์ที่ดื้อต่อยาต้านจุลชีพทุกขนานได้ ซึ่งส่งผลให้การเลือกใช้ ยาต้านจุลชีพในการรักษาการติดเชื้อ A.baumanii มีความซับซ้อนมากขึ้น การควบคุมการระบาดของเชื้อดื้อยาด้วย การกำหนดมาตรการและแนวทางใหม่ ๆ จึงมีความจำเป็นในการป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดเชื้อดื้อยาที่รุนแรงเพิ่มขึ้นมากกว่านี้ ในอนาคต

เอกสารอ้างอิง

Anuwat Keerasuntonpong, Chartchai Samakeenich, Chanwit Tribuddharat, Visanu Thamlikitkul. (2006). Epidemiology of Acinetobacter baumanii Infections in Siriraj Hospital 2002. Journal of Siriraj Med. 8(58): 951-953.

Crombach WH, Dijkshoorn L, van Noort-Klaassen M, et al. (1989). Control of an epidemic spread of a multi-resistant strain of Acinetobacter calcoaceticus in a hospital. Journal of Intensive care medicine. 15(3): 166-170.

Inchai, J., et al. (2015). Risk factors of multidrugresistant, extensively drug-resistant and pandrug-resistant Acinetobacter baumannii ventilator-associated pneumonia in a Medical Intensive Care Unit of University Hospital in Thailand. Journal of infection and chemotherapy : official journal of the Japan Society of Chemotherapy. 21(8): 570–574.

Lee NY, Lee HC, Ko NY, et al. (2007). Clinical and economic impact of multidrug resistance in nosocomial Acinetobacter baumannii bacteremia. Journal of Infection Control and Hospital Epidemiology. 28(6): 713-719.

Nattawat,T.,Pornpansa,P., etal. (2018). A Systematic Review of the Burden of Multidrug-Resistant Healthcare Associated Infections Among Intensive Care Unit Patients in Southeast Asia : The Rise of Multidrug-Resistant Acinetobacter baumannii. Journal of Infect control Hosp Epidemiol. 39(5): 525-533.

Nowak, J., et al. (2017). High incidence of pandrugresistant Acinetobacter baumannii isolates collected from patients with ventilatorassociated pneumonia in Greece, Italy and Spain as part of the MagicBullet clinical trial. The Journal of antimicrobial chemotherapy. 72(12): 3277–3282.

Santimaleeworagun, W. (2007). Evidence and mechanisms of drug resistant Acinetobacter baumanii. Retrived January 15, 2021, fromhttp://www.prachanath.su.ac.th/tbps/tbps2007_1/tbps2007_1_161-176.pdf (in Thai).

Sieniawski, K., et al. (2013). Acinetobacter baumannii nosocomial infections. Journal of Polski przeglad chirurgiczny.85(9): 483–490.

Wisplinghoff H, Bischoff T, Tallent SM, et al. (2004). Nosocomial bloodstream infections in US hospitals: analysis of 24,179 cases from a prospective nationwide surveillance study. Journal of Clinical Infectious Diseases. 39(3): 309-317.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-05-02

วิธีการอ้างอิง