การพัฒนาระบบคัดกรองวิเคราะห์คำสั่งใช้ยาของผู้ป่วย โรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติสมเด็จย่า 100 ปี จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • ประไพพิมพ์ จุลเศรษฐี โรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติสมเด็จย่า 100 ปี

คำสำคัญ:

การคัดกรอง, วิเคราะห์คำสั่งใช้ยา, ความคลาดเคลื่อนจากการสั่งใช้ยา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการคัดกรอง วิเคราะห์คำสั่งใช้ยาผู้ป่วย ประเมินผลลัพธ์ความคลาดเคลื่อน จากการสั่งใช้ยา และระดับความรุนแรงของความคลาดเคลื่อนจากการสั่งใช้ยาที่ดักจับได้ ก่อนและหลังพัฒนาระบบ และประเมินผลการยอมรับคำปรึกษาของแพทย์ของโรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติสมเด็จย่า 100 ปี จังหวัดนครราชสีมา เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวิธีดำเนินการแบ่งเป็น 3 ช่วง คือ (1) ช่วงก่อนการพัฒนาระบบ (2) ช่วงพัฒนาระบบช่วงที่ 1 แบบที่ไม่มีขั้นตอนการคัดกรองคำสั่งใช้ยา และ (3) ช่วงพัฒนาระบบช่วงที่ 2 แบบที่มีขั้นตอนการคัดกรองคำสั่งใช้ยา และมีเภสัชกร เก็บข้อมูลจากแบบบันทึกความคลาดเคลื่อนทางยาจากการสั่งใช้ยาของแพทย์ของผู้ป่วยกลุ่มโรคเรื้อรัง ที่เข้ามารับบริการรักษาในโรงพยาบาล ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2562 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2563 จำนวน 4,233 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ และร้อยละ

ผลการศึกษาพบว่า ก่อนการพัฒนาระบบคัดกรอง การสั่งใช้ยาของแพทย์มีอัตราความคลาดเคลื่อน ร้อยละ 17.02 และช่วงพัฒนา 2 ช่วง คือ ระบบที่ไม่มีขั้นตอนคัดกรองและระบบที่มีขั้นตอนการคัดกรองและมีเภสัชกรคัดกรอง มีอัตรา ความคลาดเคลื่อน ร้อยละ 30.85 และ 52.13 ตามลำดับ และพบว่า ส่วนใหญ่เป็นระดับความรุนแรง ระดับ B มีค่าเพิ่มขึ้น เมื่อมีการพัฒนาระบบคัดกรองคำสั่งใช้ยา ในช่วงก่อนการพัฒนาและหลังพัฒนาระบบ 2 ช่วง คิดเป็นร้อยละ 97.34, 96.55 และ 98.98 ตามลำดับ และมีการยอมรับการปรึกษาจากแพทย์ที่เพิ่มขึ้นหลังการพัฒนาระบบคัดกรองคำสั่งใช้เพิ่มขึ้น จากร้อยละ 93.75 เป็น ร้อยละ 98.98 แสดงให้เห็นว่า การพัฒนาระบบการคัดกรองวิเคราะห์คำสั่งใช้ยาโดยเภสัชกร สามารถป้องกันปัญหาความคลาดเคลื่อนจากยาก่อนถึงผู้ป่วยได้

เอกสารอ้างอิง

Chanatepaporn, P. (2019). Development of Prescribing Error Program for Reporting in Srinagarind Hospital. Srinagarind Medical Journal. 34(3): 261-270. (in Thai).

National Coordinating Council for Medication Error Reporting and Prevention. (2001). NCC MERP Index for categorize medication error. Retrieved October 16, 2021, from https://www.researchgate.net/figure/ National-Coordinating-Council-for- Medication-Error-Reporting-and-Prevention- NCC MERP_fig1_303284251.

Prompanjai, K., et al. (2016). Development of the System for Screening and Analysis of Prescriptions of Inpatients, Maharat Nakhon Ratchasima Hospital. Journal of Health Science. 25(3): 446-455. (in Thai).

Sausukpaiboon, P. (2012). Medication Errors Reported by the Computer Program Developed in a Large Hospital. Thai Journal of Pharmacy Practice. 4(1): 3-16. (in Thai).

Sukhanon, N., et al. (2021). Development of a Prescription Screening System for Reducing Medication Error in an In-patient Department, Sunpasitthiprasong Hospital, Ubon Ratchathani Province. Isan Journal of Pharmaceutical Sciences. 17(3): 25-38. (in Thai).

The Healthcare Accreditation lnstitue (Public Organization). (2009). Hospital and Health Care Standard: Sixtieth Anniversary Cerebrations of His Majesty’s Accession to the Throne Edition. Retrieved October 12, 2021, from https://www.thephahospital.go. th/th/pdf_news/Quality/164_18_2.pdf

Yuangsuwan, S., et al. (2013). Screening of prescription order to detect and prevent drug –related problems. Journal of the Phrae Hospital. 21(1): 81-90. (in Thai).

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-07-26

วิธีการอ้างอิง