การสังเคราะห์รูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ในระดับพื้นที่เพื่อเสนอเป็นนโยบายสู่การปฏิบัติ
คำสำคัญ:
การพัฒนา, คุณภาพชีวิต, นโยบายบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นมาของปัญหา กระบวนการพัฒนา ผลสำเร็จ การขยายผล และนำเสนอ รูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในระดับพื้นที่เพื่อเสนอเป็นนโยบายสู่การปฏิบัติ โดยใช้รูปแบบการวิจัย เชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญประกอบด้วยคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ ระดับตำบล หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผู้นำชุมชน อสม.และประชาชนทั่วไป เลือกแบบเจาะจง จำนวน 95 คน ดำเนินการระหว่าง เดือนตุลาคม 2564 - มีนาคม 2565 ใช้การสังเกต การสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่มในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา การตีความ สร้างข้อสรุป ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาที่นำมาสู่การพัฒนา คุณภาพชีวิตระดับพื้นที่ต้องเป็นข้อมูลที่ได้จากการสำรวจรายครัวเรือน และตรงกับความต้องการของประชาชน กระบวนการ พัฒนาต้องสร้างการมีส่วนร่วมตั้งแต่ระดับบุคคล ครัวเรือน กลุ่มบุคคล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยมีองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นในพื้นที่เป็นแกนหลักในการพัฒนา ผลสำเร็จที่ได้จากกระบวนการพัฒนาทำให้ประชาชนคิดเป็น ทำเป็น เข้าใจ สภาพปัญหาของตนเองและชุมชนลงมือแก้ไขปัญหาได้ด้วยตนเอง การขยายผลการพัฒนาเน้นการขยายผลให้ครอบคลุม ทั่วถึงทุกหลังคาเรือนในพื้นที่ รูปแบบที่เสนอเป็นนโยบายสู่การปฏิบัติในการพัฒนาคุณภาพชีวิตในระดับพื้นที่ต้องปรับ บทบาทของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตในระดับอำเภอ (พชอ.) จากผู้ปฏิบัติมาเป็นผู้กำหนดนโยบาย พิจารณาแผนงาน ในระดับพื้นที่ สนับสนุนวิชาการ กำกับ ติดตามและประเมินผล ต้องกำหนดให้มีคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตในระดับพื้นที่ หรือระดับตำบล (พชต.) อย่างเป็นรูปธรรม โดยมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่เป็นแกนหลักในการพัฒนา โดยสร้าง การมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างจริงจังและต่อเนื่อง ควรจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ของคนในชุมชนกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อปรับแนวคิด วิธีการพัฒนา และความสำเร็จของการดำเนินงานเพื่อนำไปสู่ การต่อยอดขยายผลในพื้นที่อื่น ๆ ต่อไป
เอกสารอ้างอิง
Baiya, Thanat., Tang-on, Yupin. (2021). Evaluation of District Life Quality Development Model Connected with Development of the Life Quality Management Sub-district, Nan province. Department of health Service Support Journal. 18:(1) January – April 2022: 59-68. (in Thai).
Government of Thailand. (2021). Policy for improving the quality of life at the local level, NPC and NPC . (2022, 1 February) from https://www.thaigov.go.th/news/contents/ details/39441. (in Thai)
Mangjit, Prasitchai., Kanato, Manop and Momen, Kittima. (2013). Development of health networks at district level. Community Health Development Journal Khon Kaen University. 1(3): 17-28. (in Thai).
Naidoo, J., & Wills, J. (Eds.). (2001). Health studies: An Introduction. Basingstoke: Macmillan.
Phalasuek R., et al, (2018). “Participatory Action Research: Development Process Participating Community Health Promotion”. Journal of Nursing College Network and Southern Public Health. 5(1): 211-223. (in Thai).
Phasook, Jutharath and Imsomboon, Thanawat. (2012). Factors Affecting the Success of Partnerships Network in Disease Prevention and Control,
Had Arsa Sub-District, Shapphaya District, Chai Nat Province. Journal of Disease Control. 38(3): 256-262. (in Thai).
Phetphum, Chakkraphan., Saeng Uthai, Wimon.,Amonteprak, Kamolchai and hongyim, Somnuk. (2017). A guideline of district health system development for diabetic holistic care with action research in Thapthan district, Uthai Thani province. Journal of The office of DPC 7 Khon Kaen. 24(2) : 78-89. (in Thai).
Phourai, Phintusorn. (2019). Approach to Community Empowerment for Health Promotion. Journal of Social Development. 21(2): 64-77. (in Thai).
Regulations of the Prime Minister’s Office about District Health Board on quality of life development in 2018. (2018, 9 March). Thai Government Gazette. 135(54): 1-7. Retrieved August 15, 2019, from http://www.ratchakitcha. soc.go.th/DATA/PDF/2561/E/054/1.PDF. (in Thai)
Siriwanarangsun, Porntep and Chokkhanchitchai, Surachai. (2018). District Health Care Service: A Case Study in Bangkok Area. Journal of Preventive Medicine Association of Thailand. 8(1): 152-161. (in Thai).
Srijaranai, Somyot. (2018). The influence of Role of District Health Board on quality of life development and reducing inequality of people in Health Region 4. Research report. National Defense Curriculum, Class 60, Academic Year 2017–2018. (in Thai).
Srithamrongsawat, Samrit., et al. (2011). A study of the effect of the Tambon Health Security Fund on the empowerment of local administrative organizations and community organizations in the management of community health problems. Health Systems Research Institute. Nonthaburi. Research report. (in Thai).
Umprommi, S. (2013). Important development of health promotion, The World Conference on Health Promotion. Bangkok: Academic Welfare Program Praboromarajonok Institute. (in Thai).
Wimonsiri, Paramethee. (2016). “20-year national strategy, the future of Thailand. for stability, prosperity, and sustainability”. Lecture, Thailand Insurance Leadership Program, Class 6, Year 2016, Friday, August 26, 2016. (in Thai).
World Health Organization. (17-21 Nov, 1986). Ottawa charter for health promotion. In First International Conference on Health Promotion, 405–460. Ottawa, Canada: World Health Organization
Yongying, Panya., et al, (2019). The Direction and Developing Process of Districts’ Health Systems on the Thailand-Laos Border. Journal of Boromarajonani College of Nursing, Bangkok. 35(1): 184-198. (in Thai).
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2022 Journal of Department of Health Service Support-วารสารวิชาการกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.