ปัจจัยความสำเร็จในการพัฒนามาตรฐานของสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ กรณีศึกษา กลุ่มร้านนวดหนองประจักษ์ จังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • เอกรัฐ เหาะเหิน สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี
  • รติยา อินทเกษ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี

คำสำคัญ:

ผู้ประกอบการสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ, มาตรฐานสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ, แนวคิด 7s McKinsey

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) เพื่อศึกษาปัจจัยความสำเร็จในการพัฒนามาตรฐานของสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ กลุ่มร้านนวดหนองประจักษ์ จังหวัดอุดรธานี และ (2) จัดทำข้อเสนอแนะการพัฒนามาตรฐานสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ กลุ่มร้านนวดหนองประจักษ์ จังหวัดอุดรธานี การศึกษานี้ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ ผู้ประกอบการสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ กลุ่มร้านนวดหนองประจักษ์ จังหวัดอุดรธานี จำนวน 11 คน ทำการศึกษาทุกหน่วยของประชากร เครื่องมือเป็นแบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสัมภาษณ์ ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 72.73 อายุระหว่าง 51 – 60 ปี มากที่สุดร้อยละ 54.54 จบการศึกษาระดับประถมศึกษามากที่สุด ร้อยละ 45.45 ผู้ตอบแบบสอบถามให้ความสำคัญต่อปัจจัยความสำเร็จในการพัฒนามาตรฐานของสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ กรณีศึกษากลุ่มร้านนวดหนองประจักษ์ จังหวัดอุดรธานี ทั้ง 7 ปัจจัย ของ McKinsey 7S Framework โดยเรียงค่าคะแนนเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย พบว่า ด้านการจัดวางระบบงานในร้าน (equation = 5.00, SD = 0.00) ด้านการจัดโครงสร้างของร้านและแบ่งหน้าที่ทำงาน (equation = 4.91, SD = 0.30), ด้านการจัดการบุคลากรเข้าทำงาน การพัฒนา ทัศนคติของบุคลากร (equation = 4.91, SD = 0.30), ด้านบุคลากรมีความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ในการทำงาน (equation = 4.82, SD = 0.40), ด้านกลยุทธ์ การวางแผนการพัฒนาปรับปรุง (equation = 4.73, SD = 0.47), ด้านรูปแบบการบริหารของผู้บริหาร (equation = 4.73, SD = 0.47), ด้านค่านิยมร่วมคนในองค์กร ความคาดหวังการพัฒนาร้าน (equation = 4.73, SD = 0.65) ข้อเสนอแนะในการนำผลวิจัยไปใช้ เช่น ผู้ประกอบการสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ กลุ่มร้านนวดหนองประจักษ์ ประสานไปยังเทศบาลนครอุดรธานี เกี่ยวกับปัญหา เช่น ระบบน้ำในการปฏิบัติงาน ซึ่งจะส่งผลทำให้การสร้าง อ่างล้างมือได้สะดวกมากขึ้น ส่งเสริมให้พนักงานได้รับการอบรมหรือพูดคุยเกี่ยวกับข้อมูลในการพัฒนาสถานประกอบการเพื่อสุขภาพให้ได้มาตรฐาน เพื่อให้เกิดความเข้าใจ ลดความขัดแย้ง รวมถึงสร้างแรงจูงใจให้แก่พนักงาน เพื่อให้เกิดการพัฒนาสถานประกอบการเพื่อสุขภาพให้ได้มาตรฐาน

เอกสารอ้างอิง

Department of health Service Support. (2017). Guideline for an establishment of health service. Bangkok: Genesis Mediacom. (in Thai).

Health Establishment Act B.E. 2559. (2016, 31 March). Royal Gazette. Vol.133; Part 30a, 10-24. (in Thai).

Intaket, R. (2019). The key successes of Drug store’s entrepreneurs who following by the notification of the ministry of public health Good pharmacy practice 2014, Mueang Udon Thani, Udon Thani Province. Research and Development Health System Journal, 12(3), 733-736. (in Thai).

Ministry of Public Health. (n.d.). Health KPI 022.2: Percentage of health establishments that meet the standards required by law. Retrieved October 10, 2022, from http://healthkpi.moph.go.th/kpi2/kpi-list/view/?id=992 (in Thai).

Nanavichit, I. (2014). Key success factors to solve litigation problems of health product of food and cosmetic in Chiang Mai Provincial Public Health Office. Lanna Public Health Journal, 10(3), 227-228. (in Thai).

Sittichai, K., & Pooripakdee, S. (2018). Organization Management according to McKinsey’s 7s Framework that contributes to Innovation Organization Case study: Organization Awarded an Excellent Innovation Organization. Veridian E-Journal, 11(3), 1419-1435. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Veridian-E-Journal/article/view/156265/113406/. (in Thai).

Walla, Y. (2018). The sanitation and hygiene problems in the home healthcare business. (Master of Laws Thematic, Sripatum University). (in Thai).

Best, J.W. (1977). Research in Education. (3rd ed.). New Jersey: Prentice hall Inc.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-03-21

วิธีการอ้างอิง