การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ จังหวัดฉะเชิงเทรา

ผู้แต่ง

  • สมบัติ ทั่งทอง สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดฉะเชิงเทรา

คำสำคัญ:

รูปแบบ, การส่งเสริมสุขภาพ, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

การวิจัยและพัฒนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริม สุขภาพของผู้สูงอายุ จังหวัดฉะเชิงเทรา 2) ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ 3) พัฒนา รูปแบบการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ และ 4) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่าง ระยะที่ 1 โดยกระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลโดยกระบวนการสนทนากลุ ่ม ผู้วิจัยเลือกโดยวิธีเฉพาะเจาะจง ผู้สูงอายุจังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน 12 คน ระยะที่2 โดยกระบวนการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามผู้สูงอายุ จำนวน 383คน ระยะที่ 3 โดยกระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้กระบวนการสนทนากลุ่ม เพื่อคืนข้อมูล พัฒนารูปแบบอย่าง เป็นรูปธรรมที่สามารถนำไปใช้ปฏิบัติได้กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ผู้วิจัยเลือกโดยวิธีเฉพาะเจาะจง คัดเลือกผู้สูงอายุ จำนวน 12 คน ระยะที่ 4 ประเมินการใช้รูปแบบฯ โดยศึกษาแบบวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มเดียวทดสอบก่อนหลัง จำนวน 30 คน

ผลการศึกษา ระยะที่ 1 พบว่า การดำเนินการส่งเสริมสุขภาพยังไม่เป็นรูปธรรม ไม่ต่อเนื่อง และไม่ครอบคลุมมิติ การสร้างเสริมสุขภาพ มีความต้องการในเรื่องของกาย จิตใจและอยู่ในสังคมที่ดีระยะที่ 2 พบว่า แรงสนับสนุนทางสังคม วิธีการเดินทางเข้ารับบริการสถานพยาบาล การเห็นคุณค่าของตนเอง การดำรงตำแหน่งในสังคม โรคประจำตัว ความรู้เกี่ยวกับ ผู้สูงอายุ การได้รับข้อมูลข ่าวสาร โรคประจำตัว สถานภาพสมรส และการมีส ่วนร ่วมของชุมชน มีความสัมพันธ์กับ การส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ระยะที่3 พบว่า รูปแบบการส่งเสริมสุขภาพสำหรับ ผู้สูงอายุ ได้แก่ การประเมินสภาวะสุขภาพ การให้ความรู้โดยการเสริมพลังและแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการดำเนินงาน ส่งเสริมสุขภาพให้ครอบคลุม กาย จิตใจ และสังคมอย่างต่อเนื่อง ระยะที่ 4 พบว่า หลังการใช้รูปแบบผู้สูงอายุมีความรู้และ การส่งเสริมสุขภาพสูงกว่าก่อนใช้รูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 หน่วยงานกระทรวงสาธารณสุข หรือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ควรให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุจึงจะเกิดความต่อเนื่องและยั่งยืน ในชุมชน

เอกสารอ้างอิง

Bureau of Health Promotion, Department of Health, Ministry of Public Health. (2009). Operating manual for Volunteer for the elderly Love line, family, community. Nonthaburi:Department of Health Ministry of Public Health. (in Thai).

Chachoengsao Provincial Public Health Office. (2020).Annual report elderly information

Chachoengsao Province in 2020. Chachoengsao Provincial Public Health office. (in Thai).

Chachoengsao Provincial Public Health Office. (2021).Annual report elderly information

Chachoengsao Province in 2021. Chachoengsao Provincial Public Health. (in Thai).

Donna M. Wilson. (2011). Upstream thinking and health promotion planning for older adults at risk of social isolation.International Journal of Older People Nursing, 6(4), 282–288.

Foundation of Thai Gerontology Research and Development Institute. (2015). Annual report Situation of the Thai Elderly in 2014. Bangkok: TQP Company Limited. (in Thai).

Krejcie, R.V., & D.W. Morgan.(1970). Determining Sample Size for Research Activities.

Educational and Psychological Measurement.30(3), 607 – 610.

Luewanich, Chayanit (2016). The potential of urban communities in participatory care for the elderly: a case study of the provinces. Phuket. Journal of Nursing and Health. 10(1), 163– 175. (in Thai).

National Health Assembly.(2022). Income Security for Good Quality of Life in Old Age Report No.3 Supervisory Subcommittee Supporting and linking the health assembly process, pages 1-6. Chachoengsao Provincial Public Health Office. (in Thai).

Sithikan, Wassana.et al. (2017). Factors Affecting Health Promoting Behaviors Elderly people in Ban Hong Subdistrict Municipality Ban Hong District Lamphun Province. Lampang Wet substance, 38(2), 49-58. (in Thai).

Sriwanichakorn, Supattra et al. (2013). Complete research report. Integrated research project for development Model of holistic care for the elderly. Received research funding from Mahidol University Fiscal year 2012. With cooperation between 7 faculties/institutions of Mahidol University, Nakhon Pathom : ASEAN Institute for Health Development Mahidol University. (in Thai).

Tapasi, Wilai.et al.(2018). Living conditions of the elderly with home addiction in Wang Taku sub-district Nakhon Pathom Province. Journal of Nursing and Health. Suan Sunandha raj Phat university, 1(1), 28-35. (in Thai).

Yodpet,Sasipat et al.(2009). Long-term care system and manpower for caring for the elderly: directionsThailand. Research program to improve the quality of life of the elderly. Foundation research and development institute Thai elderly. Bankok. (in Thai).

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-05-25

วิธีการอ้างอิง