การพัฒนารูปแบบการสื่อสารความเสี่ยงเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น

ผู้แต่ง

  • ธัญชนก ขุมทอง กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบ, การสื่อสารความเสี่ยง, ตั้งครรภ์ในวัยรุ่น

บทคัดย่อ

การพัฒนารูปแบบการสื่อสารความเสี่ยงการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น เป็นการวิจัยเชิงปริมาณผสมผสานกับงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Matrix) พื้นที่ในการศึกษาเป็นโรงเรียนขยายโอกาส ในพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 4 โรงเรียน ครอบคลุม 4 ภาค ได้แก่ โรงเรียนขยายโอกาสจังหวัดตากโรงเรียนขยายโอกาส จังหวัดสระบุรี โรงเรียนขยายโอกาส จังหวัดบึงกาฬ และโรงเรียนขยายโอกาส จังหวัดกระบี่ กระบวนการศึกษามี 3 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัญหาและความคิดเห็นเกี่ยวกับการสื่อสารความเสี่ยงการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ผู้บริหาร คณะครู และคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสนทนากลุ่ม ระยะที่ 2 ศึกษาผลลัพธ์ของโปรแกรมการสื่อสารความเสี่ยงป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมของวัยรุ่นไทย กลุ่มที่ศึกษาเป็นนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 2 เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม ระยะที่ 3 ค้นหารูปแบบการสื่อสารความเสี่ยงป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมของวัยรุ่นไทย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสนทนากลุ่ม

ผลการศึกษา พบว่า

ระยะที่ 1 ปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่นมีหลากหลายสาเหตุถูกอธิบายผ่านประสบการณ์ทั้งทางตรง และทางอ้อมจากผู้ให้ข้อมูลที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันรอบตัวล้วนสะท้อนให้ผู้วิจัยเห็นว่าปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อม ในวัยรุ่นมีความเชื่อมโยงหลากหลายสาเหตุ ผู้วิจัยค้นพบสาเหตุของการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น แบ่งออกเป็น 3 ประเด็นสำคัญ ได้แก่ 1.ความรู้เรื่องเพศศึกษา 2.การปฏิสัมพันธ์ที่เหมาะสม และ 3.ความล้ำสมัยทางเทคโนโลยี

ระยะที่ 2 ผลลัพธ์ของโปรแกรมการสื่อสารความเสี่ยงป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมของวัยรุ่น หลังการทดลอง และระยะติดตามประเมินผล 3 เดือน สูงกว่าก่อนการทดลอง ดังนี้ คะแนนเฉลี่ยความรอบรู้ด้านสุขภาพในระยะติดตามประเมินผล 3 เดือน มีระดับคะแนนสูงที่สุด คือ 10.22 รองลงมาเป็นค่าเฉลี่ยคะแนนหลังได้รับหลังทดลอง คือ 8.77 และก่อนการทดลอง มีระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพต่ำ คือ 6.58 และคะแนนเฉลี่ยความตั้งใจป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในระยะติดตามประเมินผล 3 เดือน มีระดับคะแนนสูงที่สุด คือ 38.34 รองลงมาเป็นค่าเฉลี่ยคะแนนหลังได้รับหลังทดลอง คือ 36.61 และก่อนการทดลอง มีระดับความตั้งใจป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในระดับต่ำ คือ 32.11

  ระยะที่ 3 รูปแบบการสื่อสารความเสี่ยงเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น ประกอบด้วย 6 วิธีการ ดังนี้ 1. การให้ความรู้ 2. ความตระหนัก 3. ทักษะที่จำเป็นอย่างต่อเนื่อง 4.การสื่อสารเชิงบวก 5. เป็นแบบอย่างที่ดีนอกจากนี้ยังต้อง 6. เฝ้าระวังพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงและสถานที่เสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น เป็นการสร้างภูมิคุ้มกันป้องกันความเสี่ยงที่เกิดทั้งจากปัจจัยคุ้มกันภายในและปัจจัยคุ้มกันภายนอก

ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำรูปแบบการสื่อสารความเสี่ยงป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่นไปประยุกต์ใช้ในชุมชนหรือการเรียนการสอนในโรงเรียน ควรมีการสร้างแกนนำเยาวชนในการดำเนินงานสื่อสารความเสี่ยงการตั้งครรภ์ไม่พร้อมร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุขในชุมชน และสถาบันครอบครัว ซึ่งเป็นสถาบันที่ใกล้ชิดกับเยาวชนสามารถนำแนวทางการสื่อสารความเสี่ยงการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่นเพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีร่วมกัน

 

เอกสารอ้างอิง

Bloom, B. S. et al. (1971). Handbook on Formative and Summative Evaluation of Student Learning. New York: McGraw-Hill Book Company.

Boonguar, Pantip. (2017). A Study of Unwanted Teenage Pregnancies in Pathiu District, Chumphon Province. Community Health Development Quarterly KhonKaen University.5(2) : 195-216.

Breckler, S. W. (1986). Attitude Structure and Function. New York : L Eribaum Association.

Chuntharapat, Songporn. (2000). Psycho Social Nursing Care for Pregnancy. Songkhla : Department of Obstetrics-Gynecology Nursing and Midwifery. Songkhla University.

Friedman, J. (2002). Learning and Adaptive Behavior. Wadsworth Group. USA : Toronto.

Geounuppakul, Malee. Et al. (2013). Unplanned Teenage Pregnancy : Reasons for not having an aborting. Journal of Health Science Research. 7(1) : 38-49.

Hoyrat, Pankarin & Wongsawat, Pramote. (2017). Thai Adolescent with Early Sexual Intercourse. Journal of Phrapokklao Nursing College. 28(2) : 173-182.

Imsomboon, Thanawat. (2003). Health Behavior and Health Behavior Development. Document of Learning Packaging Content in Health Education and Public Relations for Public Health Work. Unit 1-8. Sukhothai Thammathirat Open University. 2nd Edition. Bangkok : Prachumchang Company Limited.

Kaikaew, Sukol. (2004). Teenage Pregnancy : Health Promotion. Journal of Nursing Science. 22(1) : 20-27.

Meesin, Rukklao. & Mee U Don, Farung.(2015). A case study of rural areas in Khon Kaen Province. The 2nd National Conference Academic “Research for Local Development” at The 60th Anniversary of His Majesty the King’s Accession to the Throne Building, Phetchaburi Rajabhat University. 766-771.

Pornnoppadol, Chanvit. (2014). Advice for Family about Using the Internet of Childhood and Adolescent. Bangkok : Media Zone Printing Company Limited.

Prasertsuk, Nuanchavee. (2015). Constructive Communication for Family Happiness. Veridian E-journal, Slipakorn University. 737-747.

Reproductive Health. Department of Health. Ministry of Public Health. (2018). Statistic of Teenage Pregnancy in Thailand 2013. Bangkok : Office of the Director-General.

Sangsriwong, Suwanit. (2006). Sex Education, Birth Control and Teenage Pregnancy. Region 6-7 Medical Journal. 25(1): 107-15.

Simpson, D. (1972). Teaching Physical Educations: A System Approach. Boston: Houghton Mufflin Co.

Singthong, Nantiwa. et al. (2015). Risk behavior in Premature Pregnancy Secondary School Tumbon Banprang Amphoe Dan Khun Thot Nakhon Ratchasima Province. The National and International Conference & Research Presentation “Create and Development to Approach ASEAN Community II” June 18-19, 2016, at Nakhonratchasima College, Muang District, Nakhonratchasima Province : Poster. 80-84.

Tantivess, Sripen. et al. (2013). Statistic of Teenage Pregnancy in Thailand 2013. Nonthaburi : Health Intervention and Technology Assessment Program.

Tisak, Kwanjit. (2005). The effect of a self-efficacy promoting program by peer leaders on sexual health promoting behaviors of early adolescents. Degree of Master of Nursing Science Program in Nursing Science, Faculty of Nursing, Chulalongkorn University.

UNFPA. (2013). Teen Mom : The Challenges of Teenage Pregnancy. Bangkok : Advance Printing Company Limited.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2019-11-20

วิธีการอ้างอิง