การศึกษาวิเคราะห์แผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิสู่การปฏิบัติของเขตสุขภาพในประเทศไทย ช่วงปีงบประมาณ 2555-2559

ผู้แต่ง

  • เกวลิน ชื่นเจริญสุข กองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

การนำสู่การปฏิบัต, เขตสุขภาพ, ระบบบริการสุขภาพปฐมภูม, แผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพ

บทคัดย่อ

กระทรวงสาธารณสุขได้จัดทำแผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพ (Service Plan) ในระยะ 5 ปี โดยมียุทธศาสตร์ที่สำคัญคือการพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิ การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สภาพแวดล้อมด้านปัจจัยการกำหนดกลไกการขับเคลื่อน กระบวนการขับเคลื่อน ทิศทาง และแนวโน้มของแผนการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ (Service Plan) ด้านการบริการปฐมภูมิ โดยการวิเคราะห์เนื้อหาที่เกี่ยวข้องโดยใช้กรอบแนวคิดในการบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์ โดยแบ่งเป็น 3 ขั้นตอน คือ 1) การวิเคราะห์ยุทธศาสตร์ (Strategic Analysis) 2) การกำหนดทางเลือกยุทธศาสตร์ (Strategic Choice) 3) การนำยุทธศาสตร์ไปปฏิบัติ (Strategic Implementation) และเติมเต็มด้วยวิธีการคุณภาพด้วยการสนทนากลุ่ม ผลการวิจัยพบว่าแผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ มีจุดเด่นคือการบูรณาการความคิดเชิงระบบ เน้นการสร้างความเชื่อมโยงกับภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนเพื่อสร้างความรู้สึกการเป็นเจ้าของและส่วนร่วมในการดำเนินการ โดยมีความคาดหวังให้ระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิมีความเข็มแข็งสามารถเป็นหน่วยบริการที่ประชาชนเชื่อมั่นและยอมไปใช้บริการ มีระบบสนับสนุนการสร้างกระบวนการเรียนรู้และการทำงานให้สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ที่มีความแตกต่างกันในแต่ละเขตสุขภาพ แต่ในการนำไปสู่การปฏิบัติ ยังมีข้อจำกัด ในประเด็นความไม่ชัดเจนของกรอบระยะเวลา ทำให้ขาดความต่อเนื่อง จำนวนบุคลากรที่ไม่เพียงพอ การมีนโยบายจากหลายภาคส่วนที่ส่งผ่านไปยังหน่วยบริการปฐมภูมิ กฎระเบียบที่ไม่เอื้อต่อการปฏิบัติงานเชิงรุก ข้อเสนอคือต้องมีระบบการสนับสนุนการทำงานร่วมกันในระดับเครือข่ายเพื่อการพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิอย่างเป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง ทั้งด้านกำลังคน องค์ความรู้ เครื่องมือที่เอื้อในการทำงานเชิงรุก กำหนดโครงสร้างการทำงานที่สามารถผสมผสานงานทุกอย่างในระดับพื้นที่ได้ การสนับสนุนความเข้มแข็งของทุกภาคส่วนเพื่อสร้างความยั่งยืนของระบบสุขภาพ         

เอกสารอ้างอิง

Archananuparb, Surakiat. (2011). Viewpoint and Experience in Primary Care Development: First Century of National Health Insurance Policy. Bangkok: Moh-Chao-Ban Publishing House. (in Thai)

Bureau of Health Administration. (2012). Health Service System (Service Plan). Nondhaburi: Ministry of Public Health. (in Thai)

Hatakit, Urai. and staff. (2001). Report of Research and Primary Health Care Model Development in Community: Case study in Community of the South. Nondhaburi: Health Systems Research Institute. (in Thai)

Juckchai, Prang. (2017) Factors Affecting the Performance of Village Health Volunteers (VHVs) of Family Care Teams, Pathuthani Province. Journal of Public Health Nursing. 31(1): 16-28. (in Thai)

Leoprapai, Bunlert. and staff. (1988). Status in Health Sanitation and Public Health Service of People in the Countryside. Bangkok: Institute for Population and Social Research. (in Thai)

Piyaratana, Prapon. (1989). Role and Duty of District Public Health Officers. Bangkok: Institute for Population and Social Research. (in Thai)

Saelhee, Decha. Editor. (2014). Primary Care Value Added with DHS. Nondhaburi: Rural Medical Foundation. (in Thai)

Sawaengdee, Krisada. and staff. (2016). A study on the District Health System Management Capacity Building Project. Journal of Health Science. 25(5): 854-864 (in Thai)

Sriwanichakorn, Supattra, and staff. (2012). Primary Care System Situation in Thailand 2004 - 2015. Bangkok: Office of Community Based Health Care Research and Development. (in Thai)

World Health Organization. (1987). Declaration on Strengthening District Health Systems Based on Primary Health Care. Proceedings of the Interregional Meeting on Strengthening District Health Systems; 1987 Aug 3-7; Harare, Zimbabwe. Geneva: World Health Organization.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2019-11-20

วิธีการอ้างอิง