การศึกษาสถานการณ์ และปัจจัยที่มีผลต่อการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

ผู้แต่ง

  • ณธิป วิมุตติโกศล สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

คำสำคัญ:

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, การดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ, การกระจายอำนาจ, สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) ประกอบด้วย การวิจัยเชิงสำรวจโดยใช้แบบสอบถามนำมาวิเคราะห์ร่วมกับการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสนทนากลุ่มจากกลุ่มเป้าหมายแบบเจาะจง ดำเนินการระหว่าง ตุลาคม 2559 ถึง สิงหาคม 2561 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ให้ทราบสถานการณ์การดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามภารกิจที่ได้รับการกระจายอำนาจจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา 2) หาความสัมพันธ์ของปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามภารกิจที่ได้รับการกระจายอำนาจจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ซึ่งจะเป็นแนวทางในการดำเนินการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาต่อไป เก็บข้อมูลการสำรวจจากแบบสอบถามจากตัวแทนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งประเทศ ตอบแบบสอบถามกลับจำนวน 823 ราย เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการสนทนากลุ่มจำนวน 2 ครั้งๆ ละ 3 กลุ่ม และ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา โดยการแจกแจงความถี่ จำนวนค่าร้อยละ วิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้สถิติเชิงวิเคราะห์ (Chi-square) และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา

 ผลการศึกษาพบว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ปฏิบัติตามภารกิจที่ได้รับการกระจายอำนาจจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาใน 4 ภารกิจ ทั้งนี้ในภารกิจที่ 4 คือ การตรวจสอบ ควบคุม กำกับ ผลิตภัณฑ์สุขภาพในสถานที่จำหน่าย ยังดำเนินการได้น้อยโดยเฉพาะเรื่องการดำเนินคดีและการดำเนินการตามบทบาทของพนักงานเจ้าหน้าที่ เนื่องจากขาดความรู้และทักษะ จากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ พบว่า จำนวน งบประมาณ นโยบายของผู้บริหาร และการมีส่วนงาน/กลุ่มงาน/ฝ่ายที่รับผิดชอบในการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ มีความสัมพันธ์กับการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ ที่ระดับนัยสำคัญน้อยกว่า 0.05 (p<0.05) และจากการสนทนากลุ่มพบว่าจำนวนงบประมาณ นโยบายของผู้บริหารในการคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ และการมีส่วนงานที่รับผิดชอบในการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ มีความสำคัญกับการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ นอกจากนี้ยังพบเรื่องที่สำคัญคือ 1) การขาดองค์ความรู้ 2) รูปแบบของสื่อและภาษาที่ใช้ในการสื่อสาร 3) การกำหนดภารกิจการกระจายอำนาจของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาในกฎหมาย ทั้งนี้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาควร (1) กำหนดภารกิจการกระจายอำนาจในแผนปฏิบัติการกำหนดขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่ 3) (2) การอบรมให้ความรู้การดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (3) การจัดทำคู่มือการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (4) มีการประสานกับกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทยในการผลักดันเชิงนโยบายการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพในส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น (5) การจัดทำมาตรฐานการปฏิบัติงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

เอกสารอ้างอิง

Dejsub.T. (2007). Management of Thai Win Subdistrict Administrative Organization Thung Saliam District Sukhothai Province According to the principles of good governance. Master of Public Administration, Uttaradit Urban and Rural Development Administration: Uttaradit Rajabhat University.

Hong Thong Kha, P. (1983). Thai local government. Type 2. Bangkok : Thai Wattana Panich.

https://docs.google.com/filed/0B0QqZeo MeRdmUTBmTGJ1NVVxczA/edit

Ministry of Public Health. Notification of the Ministry of Public Health (No. 300) Re: Appointment of Competent Officials Operating under the Food Act BE 2522. The Government Gazette; 2006. Book 123, Special Episode 98.

Ministry of Public Health. Notification of the Ministry of Public Health (No. 385) Re: Appointment of Competent Officials Operating according to the Food Act BE 2522. The Government Gazette; 2560. Volume 134: Special Episodes 133, Page 58.

Office of the Council of State. (2016). The Act defines the plan and procedure for decentralization to local administrative organizations, 1999. Retrieved from https://docs.google.comfiled/0B0QqZeoMeRdmUTBmTGJ1NVVxczA/edit.

Srisuchat et al. (2013). Project for evaluation of health decentralization plan for the local government. Faculty of Economics: Thammasat University. Retrieved from https//kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/3782

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2019-11-20

วิธีการอ้างอิง