การนำแผนยุทธศาสตร์ระดับประเทศสู่การปฏิบัติเพื่อการปรับระดับศักยภาพหน่วยบริการให้มีประสิทธิภาพ

ผู้แต่ง

  • ปิยาภรณ์ อรชร กองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

แผนยุทธศาสตร์ระดับประเทศ, การนำสู่การปฏิบัต, การปรับระดับศักยภาพ, การมีประสิทธิภาพ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเสนอแนวทางการนำแผนยุทธศาสตร์ระดับประเทศสู่การปฏิบัติเพื่อการปรับระดับศักยภาพหน่วยบริการสุขภาพให้มีประสิทธิภาพ จากกลุ่มตัวอย่างหน่วยบริการในเขตสุขภาพ 1-12 ที่มีความพร้อม และส่งรายการคำขอเพื่อจัดตั้งและปรับระดับศักยภาพ ทั้งหมด 101 แห่ง การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Quality research) ด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาและบรรยายข้อมูลตามสภาพความเป็นจริง กระบวนการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสาร (document research) โดยการทบทวนจากแผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 – 2579) และแผนปฏิบัติการระดับชาติการสาธารณสุขเขตสุขภาพพิเศษร่วมกับแนวคิดการปรับระดับศักยภาพของหน่วยบริการสุขภาพ การเก็บข้อมูลผู้วิจัยใช้ (1) แบบประเมินความสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ (2) แบบประเมินหลักเกณฑ์การจัดตั้งและปรับระดับศักยภาพ ซึ่งกำหนดให้ผ่านเกณฑ์คะแนนร้อยละ 80 ผลการศึกษา พบว่า

 1. นโยบายเป็นเครื่องมือสำคัญในการบริหารงาน แผนการปรับระดับศักยภาพหน่วยบริการในรอบปีงบประมาณ 2562 ทุกเขตดำเนินการในทิศทางเดียวกัน มีความเชื่อมโยงกับแผนยุทธศาสตร์ระดับประเทศ กล่าวคือ เชื่อมโยงกับแผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี ยุทธศาสตร์ที่ 4 ด้านการสร้างโอกาสความเสมอภาคและเท่าเทียมกันทางสังคม แผนงานที่ 6: การพัฒนาระบบบริการสุขภาพเพื่อเชื่อมโยงเครือข่ายทุกระดับให้ประชาชนได้รับบริการอย่างไร้รอยต่อและเชื่อมโยงกับนโยบายเขตสุขภาพพิเศษมีผลการดำเนินการทุกด้าน ได้แก่ ความเชื่อมโยงเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก 8 แห่ง เขตสาธารณสุขชายแดน 12 แห่ง เขตพื้นที่เฉพาะ 4 แห่ง เขตสาธารณสุขทางทะเล 6 แห่ง รวม 7 เขตจากทั้งหมด 12 เขต (ร้อยละ 58) 

2. ผลการประเมินคำขอปรับระดับศักยภาพของหน่วยบริการในปี 2562 ตามหลักเกณฑ์คู่มือการจัดตั้งและการปรับระดับศักยภาพ และผลประเมินแผนธุรกิจ (business plan) พบว่าผ่านการอนุมัติ 30 แห่งจากทั้งหมด 32 แห่ง (ร้อยละ 94) สำหรับคำขอขยายเตียง จำนวน 51 แห่ง อนุมัติให้ขยายเตียงได้ จำนวน 40 แห่ง (ร้อยละ 78) รายการที่ไม่ผ่านเกณฑ์ ส่วนใหญ่เป็นโรงพยาบาลศูนย์ (A) ซึ่งมีนโยบายไม่ให้เพิ่มเตียง

เอกสารอ้างอิง

Anumanratchathon, Mayuri. (2013). Public policy. Bangkok: Export Net Company Limited. (inthai)

Grindle, M. S. (1980). Politics and Policy Implementation in the Third World. Princeton, NJ: Princeton University Press.

Lasswell, Harold D.and Kaplan, Abraham. (1970). Power and Society. New Haven: Yale University Press

Ministry of public health. Health Administration Division. (2017). Driving the health service system development plan (Service Plan) 2017 - 2021. (inthai)

Ministry of public health. (Blueprint of Health Service and Human Resource). 22 - 23 May 2019. (inthai)

Ministry of public health. Bureau of Policy and Strategy. (2019). Strategic plan for public Health under the Twenty - year National Strategic Plan for Plublic Health. (inthai)

Ministry of public health. Health administration division. (2561). Guideline for setting up and leveraging health service unit. Revised edition 1. (inthai)

Panthunen, Poodtan. (2018). Journal of Health System Research, 12(2) May - June, Health Systems Research Institute. (inthai)

Sirisampan, Todsapon. (2003). Introduction to public policy. Bangkok: Chulalongklon University. (inthai)

Wiboonchai, Roongrungsi. (2018). Health manpower planning research Compass for health service system development. Health Systems Research Institute. (inthai)

Worrakanjanaboon, Panwad. Public policy implementation: a case study of the construction of Suvarnabhumi Airport. Master of Liberal Arts, Krirk University. (inthai)

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2020-03-27

วิธีการอ้างอิง