การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการเชิงระบบในการดูแลผู้ป่วยแผลเรื้อรัง กลุ่มงานศัลยกรรม โรงพยาบาลลำพูน

ผู้แต่ง

  • อุกฤษฏ์ สุขเกษม กลุ่มงานศัลยกรรม โรงพยาบาลลำพูน
  • ศศิธร พิชัยพงศ์ กลุ่มงานศัลยกรรม โรงพยาบาลลำพูน

คำสำคัญ:

ระบบสารสนเทศ, การพัฒนาระบบบริการสุขภาพ, การพัฒนาโปรแกรม, การสื่อสาร

บทคัดย่อ

การพัฒนาระบบบริการสุขภาพ (Service plan) เป็นนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข ที่มุ่งเน้นการพัฒนาทุกขั้นตอน การให้บริการอย่างครอบคลุมและต่อเนื่องการสร้างระบบที่เชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องมีการพัฒนา การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพัฒนา และเป็นการวิจัยนำร่อง (Pilot study) เพื่อพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ใช้ในการสื่อสาร เพื่อการจัดการเชิงระบบในการพัฒนาการดูแลผู้ป่วยแผลเรื้อรัง ภายใต้กรอบแนวคิดของการพัฒนาโปรแกรม (The Six Steps in the Program Development Life Cycle) (Dennis Ritchie, 1972) การวิเคราะห์ข้อมูลแบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่ส่วนที่ 1 ข้อมูลส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่างได้แก่ทีมสุขภาพวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา คือ แจกแจงความถี่ และหาค่าร้อยละของข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้ส่วนที่ 2 ข้อมูลที่ศึกษาได้จากการตอบแบบสอบถามความคิดเห็นความสามารถ ในการใช้เวปเพจระบบการดูแลแผลเรื้อรังเครือข่ายโรงพยาบาลลำพูน นำข้อมูลมาวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content analysis) โดยอธิบายข้อเสนอแนะที่ได้จากการใช้เวปเพจระบบการดูแลแผลเรื้อรังเครือข่ายโรงพยาบาลลำพูน เปรียบเทียบค่าเฉลี่ย ความพึงพอใจต่อการใช้ในการตอบแบบสอบถามทั้ง 2 รอบ โดยใช้สถิติ Paired Sample T-test

ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างผู้ทดลองใช้เวปเพจมีระดับความพึงพอใจรอบที่ 2 ในทุกประเด็น ได้แก่ใช้ในการประเมิน (Plan) ใช้ในการวางแผนการดูแลรักษา (Do) ใช้ในการรายงานผลการให้การดูแลรักษา (Check) ใช้การปรับปรุง แก้ไข ติดตามผล ทบทวนกรณีศึกษา (Act) ภาพรวมของการใช้เวปเพจระดับความพึงพอใจสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ค่า p-value < 0.01

เอกสารอ้างอิง

Aree, P. et. al. (2013). Development of computerassisted instruction on diet control for ischemic heart disease prevention for at-risk patients. Retrieved 12 October 2016, from https:// www.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/ article/view/19082 (in Thai)

Boomchit, T. and Kingkulab, C. (2014). Computer program to help reduce data storage procedures Nursing Group Thammasat Hospital Chalerm Phrakiat Retrieved 12 October 2016. from http://hospital.tu.ac.th/PlanTUHosWeb/ data/Project%20CQI/CQI_2553/53_004.pdf (in Thai)

Bryan Pfaffenberger. (2002). Introduction to the Program Development Life Cycle (PDLC) Retrieved November 27, 2016, from https:// jvn2k07.files.wordpress.com/2013/07/logicformulation1.doc

Chaiwoot, S. et. al. (2010). Development of computer-assisted instruction on evaluation of labor progress. Retrieved 14 October 2016, from http://www.tci-thaijo.org/index.php/ cmunursing/article/view/7482 (in Thai)

Dennis Ritchie. (2015). PDLC steps and introduction to language.. Retrieved November 27, 2016, from http://programmingforbeginnersc. blogspot.com/2015/11/pdlc-steps-how-tomake-program.html

Jiaranai,J .et. al. (2014) Developing Nursing Record Program. Retrieved 1 December 2016, from http://203.158.6.11:8080/sutir/bitstream/ 123456789/4667/2/Fulltext.pdf (in Thai)

Nursing Division. (2013). Guidelines for managing information systems in hospitals. Retrieved 12 October 2016, from http://www.nursing. go.th/Book_nurse/elinesfortheManagementof InformationSystem/Guidelinesforthe ManagementofnformationSystem.pdf Information System.pdf (in Thai)

Phumisirikun, P. et. al. (2013). The effect of using computer programs for surgical nursing notes on nursing record quality. Surgery room. Retrieved 2 December 2016, from http:// medicaldevices.oie.go.th/box/Article/2980/ SomchitTangsermwong.pdf (in Thai)

Thammikbawon, S. (2015). Information system for nursing quality development. Retrieved 19 October 2016 from, http://www.nurse.ubu. ac.th/sub/knowledgedetail/05022015.pdf (in Thai)

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2020-03-27

วิธีการอ้างอิง