การพัฒนารูปแบบการเพิ่มรายได้ในคลินิกทันตกรรมของโรงพยาบาล ในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 2

ผู้แต่ง

  • ปริญดา ทุนคำ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
  • ภาณุมาศ ญาณเวทย์สกุล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบ, รายได้, คลินิกทันตกรรม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนาแบบผสมผสานทั้งงานวิจัยเชิงปริมาณและงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและความพร้อมการพัฒนาแนวทางการเพิ่มรายได้ในคลินิกทันตกรรมของโรงพยาบาลในพื้นที่ เขตสุขภาพที่ 2 เก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้บริหาร ทันตแพทย์ผู้ปฏิบัติงานและประชาชนที่มารับบริการ ด้วยประเด็นสอบถาม เชิงลึก และแบบบันทึกข้อมูลวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า โรงพยาบาล ส่วนใหญ่มีภาระค่าใช้จ่ายพื้นฐาน ในขณะที่โรงพยาบาลมีศักยภาพในการหารายได้แต ่ยังไม่ได้ดำเนินการ ประชาชน กลุ่มข้าราชการและประกันสังคมยังไม่สามารถเข้าถึงบริการได้เต็มที่ ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายที่สามารถจ่ายค่าบริการได้เต็มจำนวน มาตรการที่นำมาใช้เพื่อทำให้โรงพยาบาลมีสภาพคล่องทางด้านการใช้จ่ายเงินในการบริหารจัดการการดำเนินงานต่างๆ คือ การเปิดให้บริการคลินิกทันตกรรมนอกเวลา เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายที่เป็นข้าราชการและผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม เข้ามาใช้บริการให้มากขึ้น มีการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า และเป็นสร้างรายไดแก่บุคลากรผู้ปฏิบัติงานอีกด้วย ผลการดำเนินงาน ในงบประมาณ 2562 พบว่า มีรายได้เมื่อหักค่าใช้จ่ายแล้วอยู่ที่ร้อยละ 20 เมื่อเทียบกับรายได้ในการให้บริการในเวลาปกติ ส่วนสถานะทางการเงินมีโรงพยาบาลที่อยู่ในระดับวิกฤติ(ระดับ 7) ลดลงเหลือเพียง 1 แห่งเท่านั้น

เอกสารอ้างอิง

Jongdee Sakuphan. (2557). The Implementation to Solve the Financial Crisis in Yasothorn Hospital. Reg11 Med J Vol. 28 No. 3, 2014; 691 – 700. (in Thai)

Mantana Jariyarathpaisan and Onanong jampol, 2019. Healthcare service accessibility of population in Nakornchum Muang district Kampangphet province. Kampangphet province research report. (in Thai)

Mekiree Kongtongsang, Suradej Praditbatuka, Saneh Juito. (2553). Factors Related to Patients Waiting Time, Dental Clinic, Phattalung Hospital. The 4th STOU Graduate Research Conference. (in Thai)

Nattapon Somsawas. (2559). Dental service needs of elderly in Chongkham sub-district Muang District Mae Hong Son Province. Thesis in Public Health Administration, Western University. (in Thai)

Paisan Dunkhum. (2018). Ministry of public health targeted year 2019 for reducing number of hospitals with level 7 financial crisis to less than 4 %. 10 October 2018. (in Thai) https:// www.hfocus.org/content/2018/10/16437

Official Directive for providing dental care services out of government office hours in Health Region 2. Copied document for government inspection 2019. (in Thai)

Panun Kanokwongnuwat. (2556). Model of Hospital Management on Breakthrough Financial Crisis. J Prapokklao Hosp Clin Med Educat Center 2013;30:106-122. (in Thai)

Phenkhae Lapying and Weerasak Putthasri” (2556). Oral Health Care Utilization During the First Decade of Thai Universal Health Coverage System. Journal of Health Science 2103;22:1080-90. (in Thai)

Sathit Taysaraj and Sombat Sinthuchao, 2010. Queuing problem simulation to reduce service user waiting time, a case study at Takanpeuchpon Hospital, Ubonrachathani province. Ubonrachathani province research report. (in Thai)

Sutha Jiaramaneechotichai, 2019. Target year 2026, Children with no cavities. 10 October 2019.https://www.hfocus.org/content/2015/09/ 10968(in Thai)

Warakhorn samkhoses. 2019. Thai public health systemincrisis, publichospitalsfinancial reports, 12,700 million baht in negative funding in 558 hospitals. 10 November 2018. https:// thaipublica.org/2017/12/public-healthservices-65/(in Thai)

Wiraneenaksuk. (2562). The Study and Analysis of a Part-time Services Model in Health Unit for Developing the Special Part-time Medical Clinic in Health Services Unit of Ministry of Public Health. Research Methodology & Cognitive Science, Vol.17, No.1, January - June 2019. P204-219. (in Thai)

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2020-03-27

วิธีการอ้างอิง