ผลการใช้แนวทางปฏิบัติการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในมารดาระยะแรกหลังคลอด โรงพยาบาลฝาง จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • โรงพยาบาลฝาง จังหวัดเชียงใหม่

บทคัดย่อ

บทนำ:            กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายให้ทุกโรงพยาบาลเป็นโรงพยาบาลสายสัมพันธ์แม่ลูกทั่วประเทศ เพื่อส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ตามแนวทางขององค์การอนามัยโลก กลุ่มงานการพยาบาลผู้คลอด โรงพยาบาลฝาง จึงได้มีการจัดตั้งคลินิกนมแม่เพื่อเป็นการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ จากสถิติความสำเร็จในการให้นมแม่ในหนึ่งชั่วโมงแรกหลังคลอดของมารดาที่คลอดปกติที่โรงพยาบาลฝางมีแนวโน้มลดลง ดังนั้นผู้วิจัยจึงนำแนวทางปฏิบัติการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในมารดาระยะแรกหลังคลอดมาใช้ โดยคาดว่ามารดาจะให้นมแม่สำเร็จในหนึ่งชั่วโมงแรกหลังคลอดมากขึ้น ความรู้และเจตคติของมารดาระยะแรกหลังคลอดมากขึ้น

วัตถุประสงค์:    เพื่อศึกษาผลการใช้แนวทางปฏิบัติการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในมารดาระยะแรกหลังคลอด

วิธีการศึกษา:    การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างคือมารดาที่คลอดปกติ

และทารกไม่มีภาวะแทรกซ้อนพักฟื้นอยู่ในห้องคลอด แบ่งเป็นกลุ่มที่ใช้แนวทางปฏิบัติฯ   124 คน และไม่ใช้แนวทางปฏิบัติฯ 124 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ
แบบประเมิน LATCH Assessment และแบบสอบถามความรู้และเจคติเกี่ยวกับ
นมแม่ วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปโดยใช้ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบข้อมูลกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองด้วยสถิติ exact probability test และ Independent sample T-Test  

ผลการศึกษา:    มารดาระยะแรกหลังคลอดที่ใช้แนวทางปฏิบัติฯ ให้นมแม่สำเร็จในหนึ่งชั่วโมงแรกหลังคลอด มีความรู้ และมีเจคติมากกว่ามารดาที่ไม่ใช้แนวปฏิบัติฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p=0.001, p<0.001 ,p<0.001 ตามลำดับ)

สรุป:              การใช้แนวทางปฏิบัติการส่งเสริมเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในมารดาระยะแรกหลังคลอดมีผลดีต่อความสำเร็จในการให้นมแม่ครั้งแรก และมารดามีความรู้และเจตคติดีขึ้น ดังนั้น ควรส่งเสริมให้มีการนำแนวทางปฏิบัติมาใช้ในการปฏิบัติงานและติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่องเป็นอย่างมีระบบ

คำสำคัญ:        แนวทางปฏิบัติการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ มารดาระยะแรกหลังคลอด การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-08-19

วิธีการอ้างอิง