เปรียบเทียบผลการสอนการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานระหว่างโปรแกรมการสอนอย่างละเอียดกับการสอนโดยใช้วิดีโอประกอบในนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนปลาย จังหวัดน่าน
บทคัดย่อ
บทนำ: การเสียชีวิตเฉียบพลันจากโรคหัวใจหรือ Sudden cardiac death (SCD) เป็นปัญหาทางสาธารณสุขของประเทศไทยและโลกการช่วยชีวิตผู้ป่วยภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน คือ การกดหน้าอกและใช้เครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจทันทีจะช่วยให้โอกาสการรอดชีวิตสูงขึ้น มีการเน้นการติดตั้งเครื่องกระตุกไฟฟ้าในที่สาธารณะมีการสอนการให้ความรู้เรื่องการช่วยฟื้นคืนชีพ นอกจากการสอนให้ความรู้ประชาชนทั่วไปและกลุ่มเสี่ยง กลุ่มเด็กนักเรียนนักศึกษาเป็นกลุ่มประชากรที่น่าจะมีศักยภาพในการสอนให้สามารถช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินในภาวะวิกฤตได้เหมือนในต่างประเทศ
วัตถุประสงค์: การวิจัยกึ่งทดลอง (quasi-experimental research) เพื่อเปรียบเทียบการสอนการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานระหว่างโปรแกรมการสอนอย่างละเอียดกับการสอนโดยใช้วิดีโอประกอบของนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนปลายจังหวัดน่าน
วิธีการศึกษา: การวิจัยกึ่งทดลองเปรียบเทียบการสอนการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานระหว่างโปรแกรม การสอนอย่างละเอียดกับการสอนโดยใช้วิดีโอประกอบศึกษาในนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 5-6 โรงเรียนนิธิวิทย์ จังหวัดน่าน ปีการศึกษา 2561 จำนวน 40 คน จัดเข้ากลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 20 คน โดยให้กลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่มมีความคล้ายคลึงกันโดยการจับคู่ด้านอายุ ระดับการศึกษา และประสบการณ์เกี่ยวกับการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน โดยกลุ่มควบคุมได้รับการสอนโดยใช้วีดีโอประกอบและกลุ่มทดลองได้รับการสอนโปรแกรมการสอน เรื่องการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานอย่างละเอียด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที
สรุป: โปรแกรมการสอนเรื่องการปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานอย่างละเอียดมีประสิทธิภาพในการสอนและพัฒนาทักษะในการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานของนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนปลายได้ดีกว่าการจัดให้มีการเรียนการสอนช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานในกลุ่มเด็กนักเรียนนักศึกษาจะทำให้ผู้ป่วยภาวะหัวใจหยุดเต้นได้รับการช่วยเหลืออย่างถูกต้องและ มีประสิทธิภาพอย่างทันท่วงทีทำให้มีอัตราการรอดชีวิตที่เพิ่มขึ้นผลการศึกษา: นักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 5-6 โรงเรียนนิธิวิทย์ จังหวัดน่าน จำนวน 40 คน จำนวน เพศชายร้อยละ 50.0เพศหญิงร้อยละ 50.0 อยู่ในระดับประถมศึกษาปีที่ 5-6 ร้อยละ 60.0, 40.0 ตามลำดับ นักเรียนระดับประถมศึกษาที่ได้รับโปรแกรมการสอนมีการปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานหลังการสอนดีกว่านักเรียนระดับประถมศึกษาที่ได้รับการสอนโดยใช้วีดีโอประกอบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนักเรียนระดับประถมศึกษาที่ได้รับโปรแกรมการสอนมีการปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานหลังการสอนดีกว่าก่อนการสอน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
คําสําคัญ: การสอนแนะ, ปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน, นักเรียนระดับประถมศึกษา